นักวิจัยไทย พบ 4 “สัตว์ชนิดใหม่” ของโลก ในจ.นครราชสีมา (คลิป)

สัตว์ชนิดใหม่, นครราชสีมา, มด, มดชุติมา, โคพีพอด, สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช, แตนเบียน, แมลง, ความหลากหลายทางชีวภาพ, ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่, แตนเบียนปิยะ, แตนเบียนสะแกราช, นักวิจัยไทย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวดี นักวิจัยไทย ค้นพบ 4 "สัตว์ชนิดใหม่" ของโลก ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา บ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ในพื้นที่

ข่าวดี! นักวิจัยไทยค้นพบ 4 “สัตว์ชนิดใหม่” ของโลก ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา บ่งชี้ถึงความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เผยข่าวดี! เมื่อนักวิจัยไทยค้นพบ 4 “สัตว์ชนิดใหม่” ของโลก ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา ได้แก่

  • มดชุติมา
  • แตนเบียนปิยะ
  • แตนเบียนสะแกราช
  • โคพีพอด

บ่งชี้ถึงความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ พร้อมผนึกกำลังความร่วมมือระหว่าง วว./อพวช. ร่วมศึกษา วิจัย และถ่ายทอดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยาป่าเขตร้อน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพให้ยั่งยืน

 

 

 

4 “สัตว์ชนิดใหม่” ของโลก

1. มดชุติมา

 

 

 

สัตว์ชนิดใหม่, นครราชสีมา, มด, มดชุติมา, โคพีพอด, สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช, แตนเบียน, แมลง, ความหลากหลายทางชีวภาพ, ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่, แตนเบียนปิยะ, แตนเบียนสะแกราช, นักวิจัยไทย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 

 

 

  • ค้นพบบริเวณยอดไม้สูงประมาณ 25-30 เมตร ในป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างสมบูรณ์ในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช
  • ดำเนินงานภายใต้โครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพของมดบนเรือนยอดไม้ บริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา
  • เพื่อเป็นเกียรติแก่ วว. และท่านผู้ว่าการ วว. ในฐานะเป็นหน่วยงานดูแลพื้นที่และสนับสนุนงานวิจัยทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างแข็งขัน จึงได้ตั้งชื่อมดชนิดใหม่ว่า มดชุติมา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepisiota chutimae Jaitrong, Waengsothorn et Buddhakala, 2022
  • ลักษณะเด่น

– สีเหลืองทองตลอดทั้งตัว (ท้องมีสีเข้มกว่าอกเล็กน้อย)

– ผิวตัวเรียบเป็นเงามัน

– ท้ายส่วนอกและเอวมีหนามแหลม

  • มดชนิดนี้เป็นดัชนีบ่งชี้ความสมบูรณ์ของป่าดิบแล้งสะแกราชได้อีกทางหนึ่ง
  • ในประเทศไทยมีมดในสกุล Lepisiota จำนวน 8 ชนิด อาศัยอยู่บนดิน ยกเว้นเพียง มดชุติมา เท่านั้นที่ปรับตัวขึ้นไปอาศัยอยู่บนต้นไม้
  • เหตุผลในการปรับตัวที่แปลกไปจากมดชนิดอื่นในสกุลเดียวกันนักวิจัยอยู่ระหว่างค้นหาคำตอบ

 

 

 

 

 

 

2. แตนเบียนปิยะและแตนเบียนสะแกราช

 

 

 

สัตว์ชนิดใหม่, นครราชสีมา, มด, มดชุติมา, โคพีพอด, สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช, แตนเบียน, แมลง, ความหลากหลายทางชีวภาพ, ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่, แตนเบียนปิยะ, แตนเบียนสะแกราช, นักวิจัยไทย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 

 

 

  • ค้นพบบริเวณป่าดิบแล้งของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ด้วยกับดักเต็นท์ หรือ Malaise Trap มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Physaraia sakaeratensis Chansri, Quicke & Butcher, 2022
  • ลักษณะเด่น ที่แตกต่างจากแตนเบียนสกุล Physaraia ชนิดอื่น ได้แก่

– หนามคู่ที่ส่วนท้องของลำตัวมีสีดำ ในขณะที่ชนิดอื่นหนามบริเวณนี้จะเป็นสีเดียวกับลำตัว

– โดยบริเวณปลายของส่วนท้องที่มีหนาม คาดว่าจะช่วยในการวางไข่ของแดนเบียนเพศเมีย

  • แตนเบียนเป็นแมลงในอันดับ Hymenoptera เช่นเดียวกันกับผึ้ง ต่อ และแตนชนิดอื่น ๆ
  • อวัยวะวางไข่ของแตนเบียนเพศเมียไม่ได้มีไว้สำหรับต่อย แต่มีไว้ใช้วางไข่ในแมลงให้อาศัย (host) เมื่อแตนเบียนเพศเมียวางไข่แล้ว ตัวหนอนของแตนเบียนจะกัดกินแมลงให้อาศัยเป็นอาหาร ก่อนจะเจริญเป็นดักแด้และแตนเบียนตัวเต็มวัยต่อไป
  • ด้วยความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันระหว่างแตนเบียนและแมลงให้อาศัย ทำให้แตนเบียนหลายชนิดถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมประชากรของแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี (biological control)

 

 

 

4. โคพีพอด (Copepods)

 

 

 

สัตว์ชนิดใหม่, นครราชสีมา, มด, มดชุติมา, โคพีพอด, สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช, แตนเบียน, แมลง, ความหลากหลายทางชีวภาพ, ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่, แตนเบียนปิยะ, แตนเบียนสะแกราช, นักวิจัยไทย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 

 

 

  • ค้นพบบริเวณถ้ำงูจงอาง สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช เป็นพื้นลำธารที่เป็นลานหิน มีแอ่งน้ำนิ่งสลับกับน้ำไหล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Metacyclops sakaeratensis Athibai,Wongkamhaeng & Boonyanusith, 2022
  • ลักษณะเด่น

– ปลายของขาว่ายน้ำคู่ที่ 4 มี spine 1 อัน

– ด้านข้างของ caudal ramus มีหนาม

– ปล้องสืบพันธุ์มีร่องตามขวางทางด้านหลัง

  • มีลักษณะคล้ายกับเครือญาติจากกัมพูชา แต่ชนิดจากกัมพูชาไม่มีปล้องสืบพันธุ์มีร่องตามขวางทางด้านหลัง
  • โคพีพอดเป็นหนึ่งในแพลงก์ตอนสัตว์ ที่มีความสำคัญในระบบนิเวศแหล่งน้ำ มีความหลากหลายของสายพันธุ์สูง

 

 

 

 

ข้อมูล : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น