ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ที่โรงเรียนปราสาทศึกษาคาร “นักรบสีน้ำเงิน” (นพค.54 สุรินทร์) ได้ขับเคลื่อนโครงการจิตอาสา”เราทำความดีด้วยหัวใจ” ด้วยการบรรยายและซึมซับ”วิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย” ให้กับต้นกล้า”เยาวชนนักเรียน”ระดับประถม”ทั้งโรงเรียนอนุบาลปราสาทศึกษาคาร จำนวน 1,700 คนภายใน 1 สัปดาห์ เริ่มบรรยาย วันที่ 2 – 7 ธ.ค.65 เพื่อเป็นการน้อมรำลึกและถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (5 ธันวามหาราช วันพ่อแห่งชาติ) โรงเรียนปราสาทศึกษาคาร ซึ่งเป็นสถานศึกษาระดับประถมต้นแบบและนำร่องแห่งแรกของจังหวัดสุรินทร์ ในการขับเคลื่อนและนำวิชาความรู้ด้านประวัติศาสตร์ชาติไทย สู่เยาวชนระดับประถมทั้งโรงเรียน( 1 ชั่วโมง) สนุก ตื่นเต้นเร้าใจ ได้ความรู้ คู่กับคติธรรม นักเรียนไม่หลับ ไม่คุย ถาม-ตอบ-มอบรางวัล ซึ่งบรรยายโดย คณะวิทยากรจิตอาสา 904 จากนักรบสีน้ำเงิน(นพค.54) อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญของงานจิตอาสา แล้วทรงจัดตั้งโครงการจิตอาสา “ทำความดีด้วยหัวใจ” ซึ่งมีพสกนิกรเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และได้ดำเนินงานจิตอาสาในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้งานจิตอาสาขยายตัวออกไปในพื้นที่น้อยใหญ่ต่าง ๆ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนไทยมีหัวใจจิตอาสามากขึ้น ซึ่งแม้แต่ในคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2562 ที่ว่า “เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ” ก็ได้มีระบุคำว่า จิตอาสาเข้าไปด้วย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วน ใส่ใจกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
จิตอาสา (Volunteer Spirit) หมายถึง จิตแห่งการให้โดยเต็มใจเพื่อผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีที่มาจากการรวมกันของคำสองคำ คือคำว่า “จิต” และคำว่า “อาสา” จิต หมายถึง จิตใจหรือความรู้สึกนึกคิด ส่วน อาสา นั้น หมายถึงการทำสิ่งใดด้วยความสมัครใจโดยไม่มีผู้ใดบังคับ คำนี้ถูกสร้างขึ้นมาหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิเมื่อ ปี 2547 ปัจจุบันมีความหมายเสมือนคำว่าอาสาสมัคร และเมื่อกล่าวถึงคำว่าจิตอาสา ก็ต้องกล่าวถึงคำว่า จิตสาธารณะด้วย จิตสาธารณะ (Public Consciousness) หมายถึง คุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่มีพร้อม ความปรารถนาที่จะช่วยแก้ปัญหา อุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รวมถึงการรู้จักหวงแหนและรักษาสิ่งของที่เป็นส่วนรวมด้วย ซึ่งทั้ง จิตอาสา และจิตสาธารณะนี้ แทบจะมีความหมายที่เหมือนกัน ต่างกันตรงที่ จิตอาสานั้น เป็นการทำตามความมุ่งหวังของตัวเอง ในขณะที่จิตสาธารณะเป็นการกระทำที่เกิดจากสำนึกที่ดีในสังคม ยกตัวอย่างเช่น การเก็บขยะรอบโรงเรียน ในความหมายของจิตอาสา คือ มุ่งหวังให้ตัวเองทำประโยชน์ ได้รับคำชมเชย ส่วนในความหมายของจิตสาธารณะคือทำเพื่อให้โรงเรียนสะอาดในฐานะนักเรียนในโรงเรียน เป็นต้น.
ภาพ/ข่าว พูนสิน ยั่งยืน ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.สุรินทร์