โซเชียลลือสนั่น "มะเร็งเต้านม" มาแน่ หากใช้โรลออนเป็นประจำ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ยันข่าวปลอม ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยัน
ข่าวที่น่าสนใจ
เช็คให้ชัวร์ก่อนแชร์! หลังมีการแชร์ข่าวลือบนช่องทางโซเชียล โดยระบุว่า ใช้โรลออนเป็นประจำ ทำให้เป็น “มะเร็งเต้านม” ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ทั้งนี้ ในโพสต์ดังกล่าว เผยว่า โรลออนที่ใช้กันอยู่นั้น มีสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท ที่เป็นสารก่อมะเร็ง เต้านมผสมอยู่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากการตรวจสอบข้อมูลวิชาการพบว่ายังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าการใช้โรลออนระงับกลิ่นกาย (Deodorant) และระงับเหงื่อ (Antiperspirant) ส่งผลให้เกิดมะเร็ง เต้านม
โดยผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายใช้ลดการเกิดกลิ่นตัวซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย มีส่วนประกอบ เช่น
- สารลดเหงื่อ
- กรดเบนโซอิค
- สารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
- และน้ำหอม เป็นต้น
ส่วนผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อเป็นสารที่ใช้ลดการหลั่งเหงื่อทำให้ผิวหนัง และรูขุมขนบริเวณที่ทาอุดตัน สารนี้มักจะมีส่วนประกอบของโลหะ เช่น
- อลูมิเนียมคลอไฮเดรท ซึ่งมีความกังวลว่าสารนี้อาจตกค้างที่ผิวหนังบริเวณใต้วงแขนส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็ง เต้านม
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าการใช้สารระงับเหงื่อ/สารระงับกลิ่นกายมีความเชื่อมโยงต่อการเกิดมะเร็ง เต้านม อีกทั้งการใช้สารระงับการหลั่งเหงื่อเป็นการใช้ในช่วงเวลาสั้น ๆ และใช้เฉพาะจุดซึ่งเหงื่อยังคงถูกขับออกบริเวณอื่นของร่างกายได้จึงไม่ก่อให้เกิดอันตราย
ทั้งนี้ แนะนำให้ควรดูสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์โรลออน เช่น น้ำหอม สารกันบูด เพื่อสังเกตอาการแพ้หรืออาการระคายเคืองต่าง ๆ บริเวณผิวหนัง นอกจากนี้ในผู้ที่มีกลิ่นตัวมากควรรักษาสุขอนามัยให้สะอาด และอาบน้ำด้วยสบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุกลิ่นตัวเป็นประจำ
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันแน่ชัดว่าการใช้โรลออนระงับกลิ่นกาย และระงับเหงื่อส่งผลให้เกิดมะเร็ง เต้านม
ข้อมูล : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง