"ไอเอฟ IF" หมอธีระวัฒน์ แนะ ตั้งแต่เช้า ดีกว่าเริ่มตอนบ่าย เย็น มีรายงานพิสูจน์แล้วว่า ช่วยลดความรุนแรงต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตจากการติด โควิด-19
ข่าวที่น่าสนใจ
หมอธีระวัฒน์ โพสต์ ระบุ “ไอเอฟ IF” หรือ intermittent fasting โดย กิน 6 อด 18 ชั่วโมง หรือกิน 8 อด 16 ชั่วโมง พิสูจน์แล้วว่า ทำให้สุขภาพแข็งแรง ปลอดจากโรคคาร์ดิโอเมตาบอลิก (cardio metabolic) รวมทั้งมีรายงานพิสูจน์แล้วว่า ช่วยลดความรุนแรงต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตจากการติด โควิด-19
“ช่วงเวลาที่ให้กิน (time window) ตื่นขึ้นมาปุ๊บแล้วกินเลย จะดีกว่า IF ที่กินหลังเที่ยงไปจนบ่ายหรือเย็นไปถึงกลางคืนที่จะทำให้มีความรู้สึกหิวมากกว่า คล้องจองไปกับการที่มีฮอร์โมนที่เพิ่มการหิวข้าว และมีระยะตื่น (wake time) มากกว่า มีระบบการเผาผลาญใช้พลังงานลดลง”
หมอธีระวัฒน์ บอกต่อว่า มื้อเช้าอาจจะไม่จำเป็นที่ต้องเป็นมื้อใหญ่เสมอไป ผักผลไม้มากมายมหาศาลตามฤดูกาลอยู่แล้ว ส้มตำ เคียงผักนานาชนิด อย่าให้เค็ม ลดข้าวเหนียว ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ทั้งหลาย พยายามหลีกเลี่ยง แต่ได้โปรตีนจากถั่ว จากพืช และปลา ปู กุ้ง หอย
“ประเพณี ประพฤติ ปฏิบัติของการกินมื้อเย็น ดินเนอร์ ตอน 5 โมงเย็น หรือล่าช้าไปถึงทุ่มหรือสามทุ่ม หรือการกินตอนเที่ยง จนไปถึงบ่าย เย็น กลับจะเพิ่มความตะกละ อยากกิน จนอาจจะต้องลุกขึ้นมาหาอะไรกินตอนกลางคืน หรือตอนดึกไปอีก”
การวิเคราะห์ยีน พบว่า ยีนที่ควบคุมความเสถียรของเซลล์ และการคุมการคงมีชีวิตและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ ในระบบ autophagy เป็นในทิศทางที่แย่ลง รวมทั้งมีการเผาผลาญไขมันลดลงและมีการเพิ่มการสร้างเนื้อเยื่อไขมันมากขึ้น ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้บ่งบอกถึงการมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน และโรคที่ตามติดมาจากผลพวงดังกล่าว
เวลาและระยะเวลาของการกิน ชนิดของอาหาร จะมีผลต่อเนื่องไปจนถึงสุขภาพของร่างกายโดยรวม และคุณภาพของการนอน และส่งผลไปถึงสมองทำให้เสื่อมช้าลง (resistance) หรือแม้แต่เสื่อมแล้วก็ยังไม่แสดงอาการออกมาได้ (resilience)
“ชีวิตของเราเองเลือกได้ ที่จะไม่เป็นภาระต่อครอบครัว สังคม และทำให้ประเทศไทยของเรามั่งคั่งครับ” หมอธีระวัฒน์ ระบุทิ้งท้าย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง