“สถาบันพระมหากษัตริย์” หนึ่งในสามเสาหลักสำคัญของประเทศไทย มีบทบาทมีคุณูปการนำพาคนไทยสร้างชาติ รักษาเอกราช วัฒนธรรม ความเป็นไทยให้คงอยู่รอด ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรักษาเอกลักษณ์ความเป็นชาติไว้ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ
คุณเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) หนึ่งในพสกนิกรไทย ที่มีความจงรักภักดีในบูรพกษัตริย์ทุกพระองค์ โดยเฉพาะ ระยะเวลา 70 ปีแห่งครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงเป็น “กษัตริย์นักพัฒนา” ที่ได้รับการยกย่องจากทั่วโลก … คุณเธียรรัตน์ ย้อนเล่าเรื่องราวความทรงจำที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 และการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ถวายงานแด่ พระบรมวงศานุวงศ์ ให้เราฟังไว้อย่างน่าประทับใจ
“ดิฉันเป็นคนต่างจังหวัดตั้งแต่เด็ก เห็นในหลวงในทีวีจอขาวดำ นั่งดูมาตลอด และสนใจข่าวพระราชกรณียกิจ เป็นพิเศษ จะดูว่าแต่ละวัน พระองค์ลงพื้นที่ไปทำอะไรที่ไหนมาบ้าง ได้ไปช่วยชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาร จังหวัดไหน รู้สึกมาเสมอว่าพระองค์คือฮีโร่ของเรา เวลาดูข่าวพระราชสำนักเคยถามครอบครัวว่าทำไมในหลวงไม่มาแถวบ้านเราบ้าง เพราะเราก็อยากเห็นในหลวงแบบใกล้ๆ แม่บอกว่าบ้านเราเจริญแล้วในหลวงจะไปบ้านเมืองที่ไม่เจริญไปที่กันดารต้องไปช่วยคนก็เลยทำให้พอโตแล้วเห็นภาพที่อาม่าพูด” คุณเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ เล่าให้เราฟัง
โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เล่าย้อนด้วยว่า ตอนเด็กๆ เรารักพระองค์มาก รักก็คือรัก ศรัทธา เทิดทูน แต่ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่านั้น แต่ซึมซับมาตลอด ว่าบ้านเรามีความจงรักภักดีและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 พอโตขึ้นมาทำงานรับราชการ ครั้งแรกที่มีโอกาสถวายงานรับใช้พระบรมวงศานุวงศ์ คือตอน มาเป็น ผอ.ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานอยู่กรุงเทพฯ ตอนนั้นสมเด็จพระกนิษฐาธิราช ท่านยังเป็นประธานของกิจการฝ่ายวิชาชีพทันเปิดกิจการฝ่ายวิชาชีพที่เสือป่า
“พระองค์ต้องการให้เด็กมีอาชีพเสริม ทำทุกวันพฤหัสบดีนี่คือครั้งแรกที่ได้เข้าไปทำงานรับใช้พระองค์ท่าน พระองค์ท่านเป็นคนใส่ใจ และทำงานละเอียดมาก กระทั่งเมื่อปี 2550 ได้มีโอกาสทำ “โครงการเพื่อนพึ่งพายามยาก” ดิฉันเป็นคนทำร้านส่วนพระองค์ นำคนจากกรมพัฒนีมือเข้าไปตกแต่งทำร้านปูพรม เปลี่ยนพระตำหนัก เป็นร้านขายเสื้อขายหมวก รวมถึงได้ไปออกบูธจัดกิจกรรมด้วย และต่อมาได้เลื่อนเป็น ผอ.ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน , เป็นผู้ตรวจ, เป็นรองปลัด ซึ่งได้ถวายงานมาตลอดอายุราชการ และล่าสุดที่ตรงภาคภูมิใจมากที่สุดคือ โครงการ “แรงงานพันธุ์ดี” มีที่มาที่ไปคือ เคยได้ยินโครงการ “ตำรวจพันธุ์ดี” – “ทหารพันธุ์ดี” ได้ทำโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2560 มีคนสมัครมา 90 แห่ง เราคัดเลือกให้เหลือ 9 แห่ง เพื่อเป็นต้นแบบ ส่วนปีที่ 2 สมัครเข้ามา 300 กว่าแห่ง ตัดเลือกเหลือ 10 แห่ง สถานประกอบการชอบมาก