ลากไส้พฤติกรรม “เจี๊ยบ ก้าวไกล” ก่อนติดโควิดที่เยอรมัน จุดไฟเผาบ้านตัวเอง

ลากไส้พฤติกรรม “เจี๊ยบ ก้าวไกล” ก่อนติดโควิดที่เยอรมัน จุดไฟเผาบ้านตัวเอง ฟ้องปัญหา 112 อ้างไทยละเมิดสิทธิมนุษยชน ขับไล่ผู้ลี้ภัยเมียนมา แถมจี้ต่างชาติกดดันแผ่นดินเกิด

จากกรณีที่นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.พรรคก้าวไกล เปิดเผยว่าตนเองติดโควิด-19 หลังกลับจากเยอรมนี ซึ่งงานนี้ชาวเน็ตบางส่วนถึงขั้นเป็นกำลังให้กับกับโควิด-19

ทั้งนี้เรามาย้อนตรวจสอบว่า นางอมรัตน์เดินทางไปเยอรมนีเพื่อไปทำอะไร โดยนางอมรัตน์ได้เปิดเผยผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า ได้เดินทางไปเยอรมนีในฐานะคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองการสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาฯ ร่วมกับ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกรรมาธิการ และกรรมาธิการคนอื่นๆ ตามคำเชิญของมูลนิธิฮันส์ ไซเดล ที่เชิญและสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเดินทางไปเยอรมนี ระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 4 ธันวาคม เพื่อประชุมร่วมและศึกษาดูงานระบอบสหพันธรัฐและระบบนิติบัญญัติ

จากนั้นนางอมรัตน์ ได้โพสต์อัพเดตความเคลื่อนไหวผ่านทวิตเตอร์ภารกิจของตัวเองและกรรมาธิการที่เยอรมนีทุกวัน เริ่มตั้งแต่ 29 พฤศจิกายน ช่วงเช้าประชุมกับรองประธานสภาผู้แทนฯ ที่รัฐสภาแห่งมลรัฐบาวาเลีย ช่วงบ่ายกับประธานมูลนิธิฮันส์ ไซเดลและสมาชิกรัฐสภายุโรป ร่วมศึกษาแลกเปลี่ยนปัญหาระบบเลือกตั้ง รวมทั้งแลกเปลี่ยนสถานการณ์ทางการเมืองเรื่องระดับพัฒนาการประชาธิปไตยในประเทศไทย

ข่าวที่น่าสนใจ

29 พฤศจิกายน ช่วงเช้านางอมรัตน์และกรรมาธิการ ได้เข้าเยี่ยมชมรัฐสภาของมลรัฐบาวาเลียก่อนร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการรัฐธรรมนูญกฎหมายและการปรับปรุงงานรัฐสภาแห่งมลรัฐ

ต่อมาวันที่ 1 ธันวาคม นางอมรัตน์โพสต์ภาพพร้อมระบุข้อความว่า ส.ส.จากเมืองมิวนิค ชวนสนทนาเรื่องที่เข้าใจตรงกัน ในงานเลี้ยงอาหารค่ำตามคำเชิญสถานทูตไทยกรุงเบอร์ลิน เยอรมนีทั้งนี้ก็มีผู้เข้ามาสอบถามนางอมรัตน์ว่า ได้เล่าเรื่อง 112 ให้สมาชิกรัฐสภาเยอรมันฟังด้วยหรือไม่ ซึ่งนางอมรัตน์ก็ได้ตอบว่า เล่าค่ะ ไม่พลาดอยู่แล้ว

จากนั้นวันที่ 2 ธันวาคม นางอมรัตน์และกรรมาธิการได้ประชุมร่วมกับกรรมาธิการเพื่อปฎิรูปการเลือกตั้งและความทันสมัยของกิจการสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนี โดยเปิดเผยว่า ตนเองได้บอกเล่าถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย -การสลายการชุมนุมอย่างผิดกฎหมาย -การรัฐประหาร -การผลักดันผู้ลี้ภัยเมียนมาร์ในไทยต่อผู้แทนกระทรวงต่างประเทศเยอรมนีในช่วงแลกเปลี่ยนสถานการณ์ทางการเมือง

 

นางอมรัตน์ ยังเปิดเผยว่า ตนเองได้สอบถาม ดร.Rainer Grote แห่งสถาบัน Max Planck ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชนและกฎหมายระหว่างประเทศถึงมาตรการการกดดันจากภายนอก และบทลงโทษต่อประเทศไทยที่ลงนามไว้ แต่ไม่ปฎิบัติตามพันธสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนสากลกรณีการละเมิดผู้ใช้สิทธิชุมนุม และผลักไสผู้ลี้ภัยเมียนมาร์

ก่อนที่ล่าสุดวันนี้เจ้าตัวจะโพสต์ภาพตัวเองรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เพราะติดโควิด-19

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.
"ดีอี" เตือนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอม “สัญญาณเตือนสึนามิ น้ำทะเลภูเก็ตลดฮวบ หลังแผ่นดินไหวเกาะสุมาตรา”
วินาศสันตะโร รถชนกันสนั่น 7 คันรวด น้ำมันหกเต็มถนนพหลโยธิน มีผู้บาดเจ็บ 6 ราย
"สันติสุข" แจงมองต่าง เหตุแพทยสภาเลื่อนตัดสินปมชั้น 14 เชื่อคกก.รู้สังคม จับตา ไม่ยอมทำสิ่งเสื่อมเสียเกียรติแน่นอน
อากาศวันนี้ "อุตุฯ" เผยไทยตอนบน อากาศร้อนทะลุ 40°C เตือน 21 จว. รับมือฝนถล่ม กทม.โดนด้วย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น