ชำแหละนโยบายเพื่อไทย ของใหม่ หรือ ลอกการบ้านบิ๊กตู่

ชำแหละนโยบายเพื่อไทย ของใหม่ หรือ ลอกการบ้านบิ๊กตู่

หลังจากวานนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ประกาศแคมเปญรณรงค์การเลือกตั้ง “คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน” ที่กำลังจะเกิดขึ้นปี2565 หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลในปี 2570 จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของประเทศภายใต้ 10 นโยบาย ซึ่งปรากฏว่าบางนโยบายได้ถูกสังคมและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องวิจารณ์อย่างหนัก ว่าเป็นการหาเสียงที่ไม่มีตรรกะ สร้างหายนะทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาทต่อวัน ภายในปี 2571 เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาทขึ้นไป ขณะเดียวกันก็พบว่าหลายนโยบายที่นางสาวแพทองธารประกาศออกมา เป็นสิ่งที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ดำเนินอยู่แล้ว บางโครงการก็เพิ่งเริ่ม ทำให้นางสาวแพทองธารถูกวิจารณ์ว่าเตรียมเคลมผลงานลุงตู่อีกแล้ว ยังไม่นับบางนโยบายที่เคยนำมาหาเสียง แต่รัฐบาลเพื่อไทยก็ทำไม่สำเร็จ แต่ก็ยังนำเป็นโยบายหาเสียงอีก โดยรายละเอียดมีดังนี้

-นโยบายด้านการเกษตร พรรคเพื่อไทยจะนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ หรือ Agritech เช่น เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ , ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาช่วยในการเกษตร ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น แต่เหนื่อยน้อยลง
ประเด็นนี้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ได้มีนโยบายส่งเสริมและผลักดันเกษตรกรให้นำเทคโนโลมาใช้นานแล้ว เพื่อยกระดับให้เกษตรกรไทยก้าวสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยหนึ่งในพัฒนาการที่สำคัญ คือ นำเทคโนโลยีมายกระดับการวางแผนการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ในรูปแบบของ Agri-Map ซี่งใช้ได้ทั้งในอินเทอร์เน็ตและเป็นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน โดยเครื่องมือนี้จะช่วยให้เกษตรกรรู้ข้อมูลว่า ในที่ดินของตนเองเหมาะสำหรับการปลูกพืชชนิดใด ทำอย่างไรจึงจะได้ผลผลิตสูงสุด มีแหล่งน้ำ มีสภาพอากาศเหมาะสมจริงหรือไม่ หรือจะสามารถปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชทดแทนชนิดใดได้บ้าง เพื่อให้มีรายได้มากกว่าเดิม นอกจากนี้ Agri-Map ยังช่วยแสดงแหล่งรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรในบริเวณใกล้เคียงได้อีกด้วย

ข่าวที่น่าสนใจ

-นโยบายด้านนวัตกรรม ประชาชนทุกคนมีบัญชีธนาคาร และมีกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือ Digital Wallet รวมถึงใช้เงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางแทนเงินสด ป้องกันการคอร์รัปชั่นในการเมืองแบบลิงกินกล้วย และรัฐบาลกลายเป็นรัฐบาลดิจิทัลเต็มรูปแบบ
ประเด็นกระเป๋าเงินดิจิทัลนั้น ปัจจุบันประเทศแทบจะอยู่ในยุคสังคมไร้เงินสดแล้ว เพราะประชาชนสามารถใช้จ่ายเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล ทั้งแอปพลิเคชันธนาคารบนโทรศัพท์ ,พร้อมเพย์ รวมถึงแอปพลิชั่นเป๋าตังที่พัฒนาโดยธนาคารกรุงไทย แล้วรัฐบาลได้ต่อยอดนำมาใช้ในมาตรการต่างๆของรัฐ รวมถึงพัฒนาให้สามารถชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ซื้อสลาก 80 บาท และอีกมากมาย ปัจจุบันแอปพลิเคชั่น มีจำนวนผู้ใช้งานกว่า 34 ล้านราย
ส่วนประเด็นใช้เงินสกุลดิจิทัล Central Bank Digital Currency หรือ CBDC ที่ออกโดยธนาคารกลางแทนเงินสดนั้น เรื่องนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง ศึกษามาตั้งแต่ปี 2560 แล้ว เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความเป็นไปได้ของการใช้ CBDC ในภาคสถาบันการเงิน รวมถึงภาคธุรกิจเอกชน
และประเด็นใช้เงินสกุลดิจิทัลเพื่อป้องการทุจริต ปัจจุบันมาตรการสนับสนุนประชาชนของรัฐก็ไม่ได้ถูกครหาว่ามีการหักหัวคิวเหมือนในอดีต เพราะรัฐบาลได้ช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือการเยียวยาช่วงโควิด-19 ก็มีการจ่ายเงินผ่านแอปเป๋าตัง

-นโยบายด้านสาธารณสุข 30 บาทรักษาทุกโรค จะถูกอัพเกรดให้สามารถรักษาได้ทั่วประเทศ ไม่มีค่าใช้จ่าย และประชาชนสามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว
ปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับบริการ 30 บาทให้ครอบคลุมในหลายด้าน เช่น ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิเข้ารักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ จะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัวมาเหมือนในอดีต ,โรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ ,ย้ายหน่วยบริการ ได้สิทธิทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน , เพิ่มสิทธิการรักษาโรคต่างๆมากขึ้น ทั้งฟอกไตฟรี เพิ่มการเข้าถึงบัญชียา โรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลือง โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี การป้องกันและรักษาโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัส HIV ฯลฯ และช่วงที่ทั่วโลกเผชิญวิกฤตโควิด-19 ระบบสาธารณสุขของไทยก็ได้รับชื่นชมจากนานาชาติ ถึงขั้นที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ยกย่องไทยเป็นประเทศต้นแบบในการรับมือโรคโควิด-19 อันดับ 3 ของโลก

-นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง จะถูกแก้ไขทั้งระบบทั่วประเทศ
ประชาชนยังฝังใจไม่ลืมกับมหาอุทภัยปี 2554 ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์บริหารจัดการน้ำผิดพลาด เพราะมัวแต่ให้ความสนใจในเรื่องการเมือง ทำให้ประเทศเสียหายมหาศาล แม้ต่อมารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะออกพ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แส้นล้านบาท เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ แต่ก็เป็นไปอย่างเร่งรัด บางแผนโครงการยังไม่มีการศึกษาข้อดีข้อเสีย หรือ ศึกษา EHIA และยังถูกวิจารณ์ว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนเกาหลีใต้ด้วย จนถูกยกเลิกไปในทีสุดเ ดังนั้นนโยบายนี้ต้องบอกตรงๆว่าประชาชนส่วนใหญ่ย่อมไม่เชื่อมั่นกับสิ่งที่นางสาวแพทองธารประกาศออกมา

-นโยบายด้านการคมนาคมและขนส่งมวลชน ในปี 2570 ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค มีการลงทุนในระบบรางครั้งใหญ่ สร้างรถไฟรางคู่ในทุกเส้นทาง ทำให้รถไฟวิ่งได้ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางรถไฟสายใหม่ถูกสร้างขึ้นไปถึงจุดหมายสำคัญ เช่น เชียงราย เชียงของ มุกดาหาร นครพนม ภูเก็ต ส่วนรถไฟความเร็วสูงสร้างจากจีนลงมาถึงไทยแล้วต่อยาวไปถึงสิงคโปร์ เกิดขึ้นแน่นอน รถไฟฟ้าสายต่างๆในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้ระบบตั๋วร่วม 20 บาทตลอดสายได้ก่อนปี 2570
ประเด็นนี้ต้องบอกว่าพรรคเพื่อไทย เหมือนไม่ได้ทำการบ้าน เพราะในยุครัฐบาลพลเอกประยุทธ์ 1 ต่อเนื่องถึงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ 2 หนึ่งในผลงานเด่นก็คือ ระบบคมนาคมทางราง ได้รับการพัฒนามากที่สุด โดยในส่วนของรถไฟทางคู่ รัฐบาลได้แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 เฟส ครอบคลุมเหนือ-ใต้-อีสาน-ตะวันออก-ตะวันตก เฟสแรก 7 เส้นทาง เส้นทาง ระยะทาง 993 กิโลเมตร เฟสสอง 7 เส้นทาง ระยะทางรวมกันประมาณ 1,483 กิโลเมตร โดยเฟสแรก ก่อสร้างเสร็จแล้ว 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา-ชุมทางคลองสิบเก้า – ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2562 และ รถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2563
ส่วนเส้นทางช่วง แด่นชัย-เชียงรายเชียงของ อยู่ในแผนเฟสสอง รัฐบาลพลเอกประยุทธ์อนุมัติตั้งแต่ปี 61 ระยะทาง 323 กิโลเมตร หลังรอคอยมากกว่า 60 ปี ปัจจุบันเริ่มปรับพื้นที่และการเวนคืนที่ดิน มีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการในปี 2571 ขณะที่เส้นทางมุกดาหาร นครพนมนั้น ก็อยู่ในแผนการช่วงสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินงานในขั้นตอนการเวนคืน โดยจะเปิดบริการปี 2569
อีกประเด็นคือ รถไฟฟ้าในกทม.และริมณฑลใช้ระบบตั๋วร่วม 20 บาทตลอดสายได้ก่อนปี 2570 เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าที่พรรคเพื่อไทยใช้หาเสียงมานานตั้งแต่ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ การหาเสียยงเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขตหลักสี่ หรือกระทั่งการหาเสียงของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ชู 25-30 บาทตลอดสาย แต่ทั้งหมดทั้งมวลพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถทำตามที่หาเสียงได้ แต่ก็ยังมาใช้หาเสียงสู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้าอีก

-นโยบายด้านพลังงาน โครงสร้างราคาพลังงาน ถูกปรับรื้อตั้งแต่ปี 2566 ค่าน้ำมัน ค่าแก๊ส ค่าไฟ ลดลงทันที
ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งปี 2554 พรรคเพื่อไทยหาเสียงว่าหากได้เป็นรัฐบาลจะลดราคาน้ำมันทันที และยกเลิกกองทุนน้ำมัน แต่แล้วเมื่อพรรคเพื่อไทยได้เข้ามาเป็นรัฐบาล ก็ไม่ได้ยกเลิกกองทุนน้ำมัน และถึงแม้จะลดราคาน้ำมันทันที โดยใช้วิธีชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน แต่ก็ทำให้กองทุนน้ำมันติดลบ 2 หมื่นล้าน ท้ายที่สุดราคาน้ำมันก็ดีดตัวกลับมาเหมือนเดิม มากไปกว่านั้นในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ราคาน้ำมันก็พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์เช่นกัน เกือบลิตรละ 50 บาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชาวเวียดนามในโฮจิมินห์ดีใจมีรถไฟใต้ดินใช้แล้ว
ผู้นำสูงสุดปัดอิหร่านไม่มีกองกำลังตัวแทน
ฮูตีเคลมผลงาน F/A-18 โดนสอยร่วงทะเลแดง
สื่อทำเนียบฯ จัดเต็มฉายาครม.ปี 67 "รัฐบาล (พ่อ) เลี้ยง" นายกฯท่องโพย วาทะแห่งปี "สามีคนใต้"
“ว้าแดง”เหิมหนัก! สั่งคนไทยห้ามเก็บของป่า ชาวบ้านผวา-ซ้อมอพยพถี่ยิบ
เมีย-แม่ยาย หอบเงินล้าน บุกติดสินบนตำรวจ ช่วยผัวค้าเฮโรอีน สุดท้ายถูกซ้อนแผนโดนรวบตัว
ไทยตอนบนอากาศยังหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 12 องศา ใต้เจอฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กทม. มีหมอกบางตอนเช้า ร้อนสุด 31 องศา
ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา
"สธ." ยันพบชาวเมียนมา ป่วยอหิวาฯ รักษาฝั่งไทย 2 ราย อาการไม่รุนแรง
สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น