ภาคเอกชนโคราชเรียกร้อง รบ.เยียวยา 53 จว.พื้นที่สีแดง ให้เหมือนกับพื้นที่สีแดงเข้มควบคุมสูงสุด และเข้มงวด

ภาคเอกชนโคราชเรียกร้องรัฐบาลเยียวยา 53 จังหวัดพื้นที่สีแดง ให้เหมือนกับพื้นที่สีแดงเข้มควบคุมสูงสุด และเข้มงวด เผยภาคธุรกิจได้รับความเดือดร้อนไม่ต่างกัน แต่กลับได้รับการเยียวยาไม่เหมือนกัน

วันนี้ (28 กรกฎาคม 2564) ที่หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา และชมรมธนาคารจังหวัดนครราชสีมา ได้มีมติเห็นชอบขอยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการ และลูกจ้างในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่จังหวัดสีแดงทั้ง 53 จังหวัด ให้ได้รับการเยียวยาให้เหมือนกับจังหวัดในพื้นที่สีแดงเข้มควบคุมสูงสุด และเข้มงวด เนื่องจากขณะนี้จังหวัดนครราชสีมาได้ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่สีแดง 1 ใน 53 จังหวัด ซึ่งมีมาตรการควบคุมแตกต่างจากพื้นที่สีแดงเข้มเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตของประชาชนแทบไม่แตกต่างกับพื้นที่สีแดงเข้ม และยังเป็นจังหวัดที่มีอัตราผู้ติดเชื้อเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ แต่กลับได้รับมาตรการเยียวยาช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

นายศักดิ์ชาย ผลพานิชย์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ภาคธุรกิจในจังหวัดนครราชสีมาได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เป็นอย่างมากตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ที่เริ่มมีการแพร่ระบาดเกิดขึ้นครั้งแรก และมีการล็อกดาวน์ประเทศในทั่วโลก ทำให้สถานการณ์การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวในจังหวัดหดตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2563 ที่ผ่านมา ภาพรวมเศรษฐกิจจากข้อมูลสถิติของภาครัฐของจังหวัดนครราชสีมา ธุรกิจลำดับต้นๆ ที่ได้รับผลกระทบ คือ ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ ประมาณ 40,000 ล้านบาท ภาคการค้าส่งค้าปลีก ได้รับผลกระทบ ประมาณ 25,000 ล้านบาท และภาคการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบ ประมาณ 20,000 ล้านบาท รวมแล้วในปี 2563 ธุรกิจในจังหวัดนครราชสีมาได้รับผลกระทบมากกว่า 80,000-90,000 ล้านบาท

ทั้งนี้จากการรวบรวมสถิติตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน พบว่า มีการปิดกิจการของธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ต ที่พัก บริษัททัวร์ ร้านของฝาก ร้านนวดเพื่อสุขภาพ โรงงานอุตสาหกรรม และร้านค้าปลีกทั่วไป ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมามีการปิดกิจการไปแล้วมากกว่า 3,000 ราย

ทั้งนี้การที่รัฐบาลประกาศการเยียวยาจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มควบคุมสูงสุด และเข้มงวด เป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และลูกจ้างได้ในเบื้องต้น ทำให้ช่วยพยุงเศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตของประชาชนให้สามารถดำเนินต่อไปได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน

ดังนั้นคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันจังหวัดนครราชสีมา จึงขอให้รัฐบาลพิจารณาช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่จังหวัดสีแดงทั้ง 53 จังหวัด ให้ได้รับการเยียวยาให้เหมือนกับจังหวัดในพื้นที่สีแดงเข้มควบคุมสูงสุด และเข้มงวดด้วย โดยขณะนี้ได้ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องผ่านไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา สภาหอการค้าไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไปเรียบร้อยแล้ว

ภาพ/ข่าว ณัฐพงศ์ อรชร ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.นครราชสีมา

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"หนุ่มไฮโซเก๊" เครียดหนักโดนแฉ หลอก "คะน้า" ดาราดัง ปีนระเบียงชั้น 3 หนีตำรวจ นำตัวส่งรพ.แล้ว
"ทูตแรงงานเมียนมา" เยี่ยมศูนย์พักผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม เร่งตรวจสอบเยียวยา
ฟ้าพิโรธ! พายุถล่มแพรกษาอ่วม ชาวบ้านขวัญเสีย อยู่ 7 ปีไม่เคยเจอแบบนี้
ครอบครัวแรงงานชาวเมียนมา วอนขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หวังได้พบ "สามี-ลูกชาย" ติดใต้ซากตึกสตง.ถล่ม
"คลัง" จ่อชงออกกฎ ลดชั้นรับเหมาไร้คุณภาพ-วางมาตรการแบล็กลิสต์
ปภ.ชงเพิ่ม เตรียมจ่ายเงินเยียวยาค่าทำศพ-ผู้พิการ ตึกสตง.ถล่ม เป็นรายละ 1 แสนบาท เทงบฯ ฟื้นฟู กทม. อีก 200 ล้าน
“คะน้า ริญญารัตน์” เปิดหน้าแฉแฟนเก่า ไฮโซเก๊โลก 2 ใบ อ้างสนิทกับเบื้องสูง-มีรถนำขบวน ปลอมแชทคุยนายกฯ
“หมอวรงค์” ยก 5 ข้อบังคับกม.วิชาชีพ เตือนแพทยสภา ระวังโดน ม.157 ย้ำสังคมจับตาผลสอบชั้น 14
กระทรวงอุตสาหกรรม นัดแถลงข้อเท็จจริง มาตรฐานเหล็กเส้น "ตึกสตง." ถล่ม 10 เม.ย.นี้
"พลภูมิ" ห่วงปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย เสนอมาตรการ 4 ด้านให้ทุกหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนอย่างเร่งด่วน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น