ตามต่อเนื่องกับประเด็นที่สังคมไทยคาใจมานาน กับการเติบโตของธุรกิจขายสลากออนไลน์ชนิดก้าวกระโดด สำหรับ “บริษัทกองสลากพลัส” จนกลายเป็นคู่แข่งโดยตรงของ “สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยไม่มีโควตาใด ๆ ได้รับจากสำนักงานสลากฯ รวมถึงยังอ้างว่ากระทำโดยถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่มีการขายบวกกำไร 23 บาท เนื่องจากเป็นค่าอุดหนุนบริการ ในขณะที่ผู้ค้าสลากรายย่อย ถ้าขายเกินราคา 80 บาท เข้าข่ายผิดกฎหมายทันที
โดยล่าสุด วันนี้(12 ธ.ค.65) “นอท กองสลากพลัส” หรือ พันธ์ธวัช นาควิสุทธิ์ ซีอีโอ กองสลากพลัส ออกมาชี้แจงกรณีที่ สำนักข่าวท็อปนิวส์ ได้มีการเสนอข่าว ปม กองสลากจริง กองสลากพลัส คู่แข่ง คู่ค้า หรือคู่แฝดมหัศจรรย์ กรณีที่กองสลากพลัสมีการเติบโต อย่างรวดเร็ว โดยมีการนำหวยหรือสลากกินแบ่งรัฐบาลนำมาขายผ่านแพลตฟอร์ม กองสลากพลัส งวดหนึ่งหลายล้านใบ ในราคา ใบละ 103 บาทซึ่งรวมค่าบริการ ขณะที่ในแอปเป๋าตังมีการขายสลากดิจิทัล ใบละ 80 บาท โดยมีค่าบริการ
ทั้งนี้ เกิดความสงสัย สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มีการจัดสรรสลากกินแบ่งฯ อย่างไร ถึงเกิดความเหลือมล้ำ ซึ่งทำให้มีคนไปซื้อสลากกินแบ่งฯ ผ่านแฟลตฟอร์มต่างๆ โดยเฉพาะกองสลากพลัสที่เป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุด
โดยมองว่า สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เอื้อประโยชน์กับเอกชนหรือไม่ เนื่องจากมีการปล่อยให้มีการรวบรวมสลากฯ กับผู้ซื่อโดยตรงกับกองสลากฯ แล้วนำมาขายต่อให้กับกองสลากพลัส แต่กองสลากพลัส นำมาขายต่อในราคาที่เกิน 80 บาท จนทำให้ กองสลากพลัสมีความเติบโต กลายเป็นคูแฝดยักษ์ใหญ่ เป็นคู่แข่งกับสลากดิจิทัล โดยที่ไม่มีโควตาซื้อตรงกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ต่อมา นอท กองสลากพลัส ได้ออกมาไลฟ์สดชี้แจง ถึงเรื่องนี้ว่า โดยได้อธิบาย ถึงคำว่า กองสลากจริง กับ กองสลากพลัส ว่า ไม่มีกองสลากจริง มีกองสลากเดียวคือ กองสลาก .com และกองสลากพลัส
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ก็คือ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ไม่มีคำว่า กองสลากอยู่ในสาระบบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน และ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ไม่ใช่ กองสลาก / กองสลาก คือ บริษัทของตน บริษัทเดียว ถ้ากองสลากจริง คือบริษัทของตน
โดยนอท อธิบายว่า สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มีหน้าที่ผลิตสลากกินแบ่งรัฐบาล
นอกจากนี้ นอท ยังได้อธิบายถึงแพลตฟอร์หรือรูปแบบสลากออนไลน์ ว่า กองสลาก .com หรือ กองสลากพลัส เป็นแฟลตฟอร์มแรกที่คิดขึ้นมา หรือเป็นคนคิดแฟลตฟอร์มขึ้นมาก่อนที่จะมีสลากดิจิทัล ในแอปเป๋าตัง โดยมีแฟลตฟอร์มอื่นๆ ได้นำแนวทางไปใช้ หรือแม้แต่แฟลตฟอร์มของสลากดิจิทัล
นอกจากนี้ นอท ยังได้พูดถึงกรณีที่ผู้ประกาศพูดถึงกรณีที่ ในแอปเป๋าตังเปิดขายสลากฯ ไม่มีกี่วัน ก็ขายหมด โดยใช้เพียงไม่มีกี่วัน โดยนอท บอกว่า สลากดิจิทัล ในแอปเป๋าตัง ขายหมดในวันสุดท้าย ซึ่งขายตีคู่มากับกองสลากพลัส พร้อมยืนยันว่า ตนเองขายได้มาเป็น 10 ล้านใบ ก่อนที่สำนักงานสลากฯ จะเปิดขายสลากดิจิทัล
ส่วนกรณีที่มีการพูดถึง ที่มาของสลากฯ ว่ากองสลากพลัส นำสลากฯ มาจากไหนนั้น นอท บอกว่า นำสลากฯ มาจากสนามบินน้ำ , วังสะพุง , ตลาดคอกวัว
ส่วนกรณีที่ว่า คนจะแห่มาซื้อสลากฯ ในกองสลากพลัสนั้น ก็ต่อเมื่อสลากฯในแอปเป๋าตังขายหมดแล้ว ซึ่งนอท ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง
ส่วนกรณีที่กองสลากพลัส มีการเรียกเก็บค่าบริการใบละ 20 บาท และ VAT นั้น นอท บอกว่า ตนได้อธิบายไว้ตั้งแต่ครั้งก่อนแล้ว ถึงข้อแตกต่าง ระหว่างคนเดินขายริมทาง กับขายผ่านแฟลตฟอร์ม นอท บอกว่า ประชาชนทุกคนสามารถขายได้ ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าห้ามขาย โดยพ่อค้าแม่ค้าที่ขายริมถนนก็มีสิทธิ์เท่ากับตน เพียงแต่การไปซื้อของตนอาจจะไม่เหมือนกัน หรือดีกว่ากัน ทำให้การส่งสินค้า คือ สลากฯ ถึงมือลูกค้าง่ายขึ้นสะดวกขึ้น ทั้งนี้นอท ได้ยกตัวอย่าง เช่นเดียวกับการสั่งอาหารแกร็ป ซึ่งราคาที่สูงกว่า หน้าร้าน นั่งก็เพราะมีค่าบริการ เช่นเดียวกับการขายลอตเตอรี่ออนไลน์ของตน ก็มีค่าบริการเหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องของเทคโนโลยี
ส่วนกรณีที่มีการตั้งคำถามว่า สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เอื้อประโยชน์กับเอกชนหรือไม่ ในการปล่อยให้มีการรวบรวมสลากฯ จนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ เป็นคู่แข่งกับสลากดิจิทัลโดยที่ไม่มีโควตาซื้อตรงกับสำหนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
นอท บอกว่า คนที่เดินขายริมถนน หรือแม้แต่บูธที่ตั้งขายในปั๊ม เป็นเจ้าของโควตาไม่ ซึ่งทุกคนก็ไปซื้อมาขาย ไม่มีใครเป็นเจ้าของโควตาแล้วจ้างไปนั่งขาย ซึ่งไม่ได้แตกต่างจากตน เพียงแต่ตนใช้วิธีการที่สะดวกกว่า ทั้งนี้ตนได้เข้าไปอยู่ในระบบที่มีอยู่แล้ว ตนก็เป็นคนหนึ่งที่เข้าไปเอามาขาย ซึ่งตนก็มีแผงลอตเตอรี่เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย เมื่อตนเองนำเทคโนโลยีมาแลก ลูกค้าก็ต้องนำค่าบริการมาแลกเช่นกัน มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ