โชว์ภาพถ่าย "เนบิวลา" ปู ฝีมือคนไทย คว้ารางวัลชมเชยภาพถ่ายดาราศาสตร์ปี 2565 ประเภทวัตถุในห้วงอวกาศลึก
ข่าวที่น่าสนใจ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โชว์ผลงานภาพถ่ายดาราศาสตร์ประจำสัปดาห์ เผยผลงานภาพถ่าย “เนบิวลา” ปู ผลงานของคุณกิจจา เจียรวัฒนกนก เจ้าของรางวัลชมเชย การประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ปี 2565 ประเภทวัตถุในห้วงอวกาศลึก (Deep Sky Objects)
เนบิว ลาปู (Crab Nebula, M1) เป็นวัตถุแรกในแคตตาล็อกของเมซีเย อยู่ห่างออกไปจากโลกประมาณ 6,300 ปีแสงในกลุ่มดาววัว (Taurus) เนบิว ลานี้เกิดจากการสิ้นอายุขัยของดาวฤกษ์ที่ระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา เกิดมวลแก๊สที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของดาวแผ่ขยายออกไป ทิ้งไว้เพียงแก่นกลางดาวที่หลงเหลือจากการระเบิด ที่เรียกกันว่า ดาวนิวตรอน
การสังเกตการณ์วัตถุนี้ จำเป็นต้องอาศัยบริเวณที่มีท้องฟ้ามืดสนิทไร้แสงไฟรบกวน จะสามารถสังเกตเห็นเป็นจุดฝ้าจาง ๆ ผ่านกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก สำหรับบริเวณกลุ่มแก๊สที่มีลวดลายและสีสันต่าง ๆ ในภาพ มีอุณหภูมิประมาณ 11,000K – 18,000K กำลังแผ่ขยายออกจากจุดศูนย์กลางด้วยความเร็วถึง 4.8 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนแสงบริเวณจุดศูนย์กลางเกิดจากสนามแม่เหล็กที่มีความรุนแรงสูงของดาวนิวตรอน
เนบิว ลาปูถูกพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1054 โดยนักดาราศาสตร์ชาวจีน ซึ่งขณะนั้นคาดว่าเป็นดาวดวงใหม่ที่กำลังถือกำเนิดขึ้น เพราะ มีความสว่างมากจนสามารถสังเกตเห็นได้ในเวลากลางวัน เป็นเวลายาวนานกว่า 23 วัน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1758 Charles Messier นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้บันทึกวัตถุนี้ว่าเป็นดาวหาง Halley เนื่องจาก มีการคำนวณว่า ดาวหาง Halley จะโคจรกลับมาในปีดังกล่าว
ในเวลาต่อมาเขาได้ค้นพบว่าวัตถุนี้ไม่ใช่ดาวหาง และได้บันทึกเนบิว ลาปูไว้ในแคตตาล็อกที่มีชื่อว่า Catalogue of Nebulae and Star Clusters ซึ่งรวบรวมวัตถุท้องฟ้าได้แก่
- เนบิวลา
- กาแล็กซี
- และกระจุกดาวต่าง ๆ เอาไว้
- และตั้งชื่อเนบิว ลาปูว่า M1 หรือ Messier 1
รายละเอียดการถ่ายภาพ
- วันที่ถ่ายภาพ : 21 พฤศจิกายน 2020 เวลา 00:24 น.
- สถานที่ถ่ายภาพ : อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : Monochrome CMOS Camera (QHY163m)
- ความไวแสง : Gain 174
- เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 6 ชั่วโมง
- ขนาดหน้ากล้อง : 120mm
- ความยาวโฟกัส : 900mm (880mm after flattener)
- อัตราส่วนความยาวโฟกัส : 7.5
- ฟิลเตอร์ : RGB, Ha, OIII
ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง