“BTS” จะอดทนได้นานแค่ไหน “KT” ดื้อแพ่งไม่จ่ายหนี้

"BTS" จะอดทนได้นานแค่ไหน "KT" ดื้อแพ่งไม่จ่ายหนี้

เกาะติดต่อเนื่องกับประเด็นร้อน กรณีบีทีเอส ตัดสินใจเผยแพร่คลิปสั้นความยาวกว่า 2 นาที ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้ง บนขบวนรถไฟฟ้า และ ป้ายประชาสัมพันธ์สถานีรถไฟฟ้า แสดงให้เห็นถึงปัญหาภาระหนี้ค้างจ่ายของภาครัฐยาวนานเกือบ 4 ปี มูลค่า กว่า 4 หมื่นล้านบาท โดยขาดซึ่งความรับผิดชอบต่อสัญญาว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย

โดยใจความสำคัญ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) แสดงความรู้สึก ในหัวข้อ คนเราจะอดทนกับการแบกหนี้ได้นานแค่ไหน… ทำงานแต่ไม่ได้เงิน ต้นทุนเพิ่มขึ้นทุกวัน… ผู้มีอำนาจโยนไปโยนมา ไร้การตัดสินใจ ถึงเวลาเข้ามาจัดการปัญหา อย่าหนีปัญหา…อย่าปล่อยให้เอกชนสู้เพียงลำพัง ถึงเวลาจ่ายหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว 40,000 ล้าน#ติดหนี้ต้องจ่าย”

และมีรายละเอียดบางช่วงตอนว่า ช่วงเวลาสามปีกว่า การรับจ้างเดินรถไฟฟ้า ได้ทำให้ความเสียหายต่อบีทีเอสเป็นตัวเงินถึงสี่หมื่นกว่าล้านบาท ใครก็รับไม่ได้ ภาคเอกชน ผู้ลงทุน ต้องจ่ายทุกวัน ทั้งเป็นค่าใช้จ่ายให้พนักงาน ค่าไฟก็ต้องจ่าย

ผู้มีอำนาจบริหารประเทศ ไม่ว่าเป็น กทม. หรือการเมืองของประเทศ ต้องเข้ามาดูได้แล้ว เนื่องจากภาวะดอกเบี้ยขึ้นทุกวัน ท่านใดที่อยู่ในอำนาจ ควรคิดได้แล้วว่าดอกเบี้ยที่ต้องเสียไป ยังไงก็ต้องจ่าย มันเป็นสิ่งที่ใครเสียหาย ผมเชื่อว่า ประชาชน ภาษีเราเสียหาย อย่าปล่อยให้มันลอยไปลอยมาอย่างนี้ จะเอาอย่างไร

อย่างไรก็ตาม นายคีรี ยืนยันว่า จะไม่หยุดเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่ออำนวยให้แก่ผู้โดยสาร ห่วงกระทบกับผู้โดยสาร

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกันกับท่าทีของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ยังคงโยนภาระความรับผิดชอบกันไปมา เกี่ยวกับมูลหนี้ค้างชำระ และ ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้ กทม. บริษัทกรุงเทพธนาคม ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นภายใน 180 วันนับจากมีคำพิพากษา

อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านมานานหลายสัปดาห์ ดูเหมือนปัญหาทุกอย่างยังคงหยุดนิ่งอยู่ที่เดิม ทำให้บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง ส์ จำกัด (มหาชน) ตัดสินใจเผยแพร่คลิปใหม่ สะท้อนให้เห็นปัญหาเดิมที่ยังคงถูกเพิกเฉยจากผู้รับผิดชอบ ว่าจ้างให้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย แต่ไม่มีการชำระค่าจ้างใด ๆ และปล่อยให้ภาระทั้งหมดตกอยู่กับภาคเอกชน

โดยนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวระหว่างนำคณะผู้บริหารกลุ่มบริษัทบีทีเอส และพนักงานกลุ่มบริษัทฯ ทำพิธีบวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ท่านท้าวมหาพรหม เนื่องในโอกาสครบรอบ 23 ปี เปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส และทำบุญประจำปีบริษัทฯ ณ บริเวณหน้าศาล ท่านท้าวมหาพรหม อาคารบีทีเอส สำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565

มีรายละเอียดบางช่วงบางตอน ว่า “ผมไม่เคยนึกเลยว่า บริษัทฯ เรา จะโดนเรื่องการเมืองรังแกเราได้ขนาดนี้”

“แม้พวกข้าพเจ้า จะพยายามทำดีอย่างที่สุด ไม่ให้ประชาชนต้องได้รับความเดือดร้อน แต่กลับไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐฯ พวกข้าพเจ้า ได้พยายามพึ่งพาผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงภาครัฐฯ แต่ยังกลับไม่ได้รับการดูแลแก้ไข จึงมาอธิษฐาน ขอความเมตตา กับท่านท้าวมหาพรหม โปรดดลบันดาลให้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะภาระหนี้สินที่ภาครัฐฯ ติดค้างอยู่ ได้รับการแก้ไขเยียวยา หรือชำระโดยเร็ว “

“สถานการณ์ของบริษัทฯ ในวันนี้ ที่โดนกลั่นแกล้ง เราได้ทำดีที่สุดแล้ว ขอให้ท่านท้าวมหาพรหม โปรดกรุณาเมตตา”

 

 

 

ล่าสุด ผู้รับผิดชอบหลักในการจ่ายหนี้คืนให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC อย่าง กทม. ยังยืนกรานจะยังไม่ชำระหนี้ใด ๆ ให้กับภาคเอกชน โดย ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ประแสง มงคลศิริ ในฐานะ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ระบุถึงกรณี ผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ประกาศทวงหนี้ตามสัญญาค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ผ่านสื่อต่างๆ หลายครั้งและหลายรูปแบบ ว่าผู้รับจ้างเดินรถได้ใช้สิทธิฟ้องกทม.และบริษัท ต่อศาลปกครองมาตั้งแต่ปี 2564

พร้อมใจความสำคัญ บางช่วงตอนว่า เมื่อผู้บริหารชุดปัจจุบันเข้ามาทำหน้าที่ ได้รีบยื่นคำร้องต่อศาลขอขยายระยะเวลาส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อต่อสู้คดีในหลายประเด็นอย่างเต็มที่ แต่ศาลยืนยันว่าสิ้นสุดระยะเวลาส่งเอกสารหลักฐานแล้ว จึงปฏิเสธไม่รับเอกสารหลักฐานเข้าสู่สำนวนเพิ่มเติม ทั้งนี้ศาลชั้นต้นก็กรุณามีคำแนะนำให้คู่ความ 2 ฝ่ายเจรจาไกล่เกลี่ยกัน แต่ผู้รับจ้างเดินรถยืนยันต่อศาลว่าจะไม่เจรจาไกล่เกลี่ย ซึ่งก็เป็นสิทธิโดยชอบ

ต่อมาศาลได้นัดฟังคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 ก.ย 2565 โดยมีคำตัดสินให้บริษัทแพ้คดีในศาลชั้นต้น บริษัทจึงต้องรีบยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วันพร้อมกับส่งเอกสารหลักฐานใหม่ในวันที่ 5 ต.ค.2565 และชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบอุทธรณ์คดี คดีพิพาทนี้จึงอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ในศาลสูงสุด และการที่บริษัทอุทธรณ์ต่อสู้คดีไปสู่ชั้นศาลสูงสุดนั้น ถือว่าได้ใช้สิทธิโดยชอบเสมอกัน มีผลให้ทั้ง 2 ฝ่ายต้องรอฟังคำสั่งของศาลสูงสุดที่จะให้ความยุติธรรม

ดังนั้น บริษัทจึงขอวิงวอนให้ผู้รับจ้างเดินรถ 1) ยุติการนำคดีพิพาทที่ศาลสูงสุดกำลังพิจารณา ไปป่าวประกาศและตัดสินเสียเองให้คู่ความต้องชำระหนี้ในทันที อาจจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ 2) หยุดสร้างประเด็นผ่านสื่อด้วยข้อมูลที่ยังไม่มีข้อยุติจากศาล ทั้งยังหมิ่นเหม่จะมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย และ 3) ควรรักษาบรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันในฐานะคู่ค้าทางธุรกิจ

รวมถึงบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความสมบูรณ์ของอีกสัญญาหนึ่งคือ กรณีการซื้อขายระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รถไฟฟ้าสายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย 2) เพื่อตรวจสอบที่มาและความถูกต้องทางกฎหมายของสัญญานี้ โดยได้รับเกียรติจากท่านอดีตประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 5 และอดีตผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ท่านศรีอัมพร ศาลิคุปต์ มาทำหน้าที่ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการตรวจสอบฯ ซึ่งประกอบไปด้วยนักกฎหมาย ผู้ชำนาญการคดีการทำนิติกรรมสัญญา โดยคาดว่าจะมีข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยเร็ว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น