ผู้นำ EU และอาเซียน จัดประชุมสุดยอดร่วมกัน

EU ประกาศลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในอาเซียน ขณะที่บรรดาผู้นำในการประชุมสุดยอด ต่างพยายามกระชับความสัมพันธ์กัน ท่ามกลางสงครามยูเครนและการท้าทายจากจีน

สหภาพยุโรปจัดการประชุมสุดยอดเต็มรูปแบบครั้งแรก กับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เพื่อผลักดันความสัมพันธ์ทางการค้า กับประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ และได้มีการร่วมลงนามในข้อตกลงการค้า เพื่อเกื้อหนุนความสัมพันธ์กันและกัน เมื่อเผชิญกับสงครามยูเครน และการท้าทายจากจีน   ซึ่งทางนางเออร์ซูล่า ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้กล่าวไว้ว่า อาจมีเส้นทางที่มาแบ่งแยกระหว่างเรา แต่จะมีค่ามากมาย หากมีการรวมเราเข้าด้วยกัน

ทั้งนี้ สหภาพยุโรปพยายามที่จะผลักดันเส้นทางทางการทูต เพื่อกระตุ้นแนวรบระดับสากล ในการต่อต้านรัสเซีย หลังจากที่การรุกราน ได้สร้างความตื่นตระหนกทางเศรษฐกิจและการเมืองไปทั่วโลก โดย 9 ชาติอาเซียน (ยกเว้นเมียนมาร์ ที่ไม่ได้รับเชิญ) ที่เข้าร่วมประชุมนั้น ต่างมีความเห็นที่แตกต่างกัน ในสงครามรัสเซียและยูเครน

สำหรับสิงคโปร์นั้น ได้ดำเนินการตามมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของตะวันตก ขณะที่เวียดนามและลาว ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางทหารใกล้ชิดกับรัสเซีย ต่างพยายามรักษาสถานะความเป็นกลางให้ได้มากที่สุด ส่วนประเทศไทย ก็มีการสงวนท่าทีกับการงดออกเสียงประณามรัสเซีย ในสหประชาชาติ ซึ่งมุมมองที่แตกต่างกันเหล่านี้ ได้นำไปสู่ความขัดแย้งเกี่ยวกับการประกาศของการประชุมสุดยอด ที่สหภาพยุโรปต้องการใช้ถ้อยคำรุนแรงประณามรัสเซีย แต่ในที่สุด สมาชิกส่วนใหญ่ ได้ระบุให้ประณามรัสเซีย ภายใต้มุมมองและการประเมินที่แตกต่างกันออกไป

นอกจากนี้ ในการประชุมสุดยอด ยังมีเรื่องของจีน ที่เป็นความหวาดหวั่นของยุโรป โดยจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอาเซียน และหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ก็ยังระมัดระวังกับการถอยห่างออกจากจีน ความท้าทายนี้ ทำให้สหภาพยุโรปกระตือรือร้นที่จะเสนอตัวเป็นหุ้นส่วนที่เชื่อถือได้ สำหรับเศรษฐกิจที่มีพลวัตของอาเซียน ท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนและสหรัฐด้วย

ทั้งนี้ อาเซียนและสหภาพยุโรประงับการผลักดันข้อตกลงการค้าร่วมกันเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว แต่ขณะนี้ ได้เริ่มมีความหวังว่า จะเริ่มความพยายามอีกครั้งสำหรับข้อตกลงแบบกว้างๆ เนื่องจากประเทศในสหภาพยุโรป กำลังผลักดันให้มีการกระจายห่วงโซ่อุปทานหลัก ออกจากจีน โดยทางฟอน เดอร์ เลเยน ได้มีการเสนอแพ็คเกจการลงทุนในอีก 5 ปีข้างหน้า มูลค่า 1 หมื่นล้านยูโร ภายใต้กลยุทธ์โกลบอล เกตเวย์ (Global Gateway) ของสหภาพยุโรป ที่ออกแบบมาเพื่อถ่วงดุลกับจีน และจนถึงตอนนี้ สหภาพยุโรปได้มีข้อตกลงกับเวียดนามและสิงคโปร์แล้ว และกำลังเดินหน้ากับอินโดนีเซีย ประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน รวมถึงกลับมาเจรจากับมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สายการบิน KLM ของดัทช์ไถลตกรันเวย์หลังลงจอดฉุกเฉิน
เครื่องบินแคนาดาไถลออกนอกรันเวย์หลังล้อไม่กาง
ผู้บริหาร‘เชจู แอร์’ ขอโทษเหตุเครื่องไถลนอกรันเวย์ สายการบินแถลงการณ์แสดงความเสียใจ ต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต
ระทึกอีก สายการบิน PAL Airlines ไถลออกจากรันเวย์ สนามบินแคนาดา ตัวเครื่องเสียหาย เร่งอพยพผู้โดยสาร-ลูกเรือ
"อธิบดีราชทัณฑ์" แจงเกณฑ์ใหม่ คุมขังนอกเรือนจำ "ยิ่งลักษณ์" ยังไม่เข้าเงื่อนไข
อัยการคดีพิเศษ สั่งฟ้อง "สารวัตรซัว" คดีเว็บพนัน-ฟอกเงิน จี้ตร. เร่งตามตัวมารับโทษ
ปูตินขอโทษเหตุเครื่องบินอาเซอร์ไบจานตก
เปิดสาเหตุ "เชจูแอร์" ไถลออกนอกรันเวย์ หลังล้อไม่ กาง-ปีกหุบ พบลูกเรือรอดชีวิตเพียง 2 ราย เร่งตรวจสอบกล่องดำเครื่องบิน
เครื่องบินเกาหลีใต้ประสบอุบัติเหตุมีคนไทยรวมอยู่ด้วย
สาวพม่าปรี๊ดแตก! หมอแนะยุติตั้งครรภ์ เด็กไม่สมบูรณ์ ไม่พอใจโวยลั่นรพ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น