ทำความรู้จัก ภาวะ "ซึมเศร้าหลังคลอด" เสียใจ หดหู่โดยไม่มีสาเหตุ พบมากถึง 1 ใน 6 ของคุณแม่ป้ายแดง
ข่าวที่น่าสนใจ
ภาวะ “ซึมเศร้าหลังคลอด” คืออะไร?
- เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่สามารถพบได้ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ – 1 ปี หลังคลอด
- โดยช่วง 3-6 เดือนหลังคลอดเป็นระยะที่พบได้มากที่สุด
- 1 ใน 6 ของคุณแม่หลังคลอด มักต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้า
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีแนวโน้มพบคุณแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าสูงขึ้น ร้อยละ 10 และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ถึงประมาณร้อยละ 26 อาจจะเป็นเพราะสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน
สาเหตุ
มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน แต่ก็มีหลายปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขึ้นได้ เช่น
- ความเครียดที่มีตั้งแต่ระยะการตั้งครรภ์ถึงคลอด
- การไม่สามารถปรับตัวจากการเปลี่ยนผ่านบทบาทจากโสดมาสู่การเป็นแม่
- ความไม่พร้อมในการตั้งครรภ์
- แม้แต่การเจ็บปวดในระยะคลอด เช่น การผ่าตัด (กลไกของร่างกาย)
- ความไม่ประสบความสำเร็จในการให้นมบุตร ซึ่งทำให้แม่รู้สึกขาดความภาคภูมิใจในตนเองที่ไม่สามารถแสดงบทบาทการเป็นแม่ได้
- นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่งานวิจัยพบว่าส่งผลได้อีก เช่น ประสบการณ์ของการถูกทำร้ายจิตใจในวัยเด็ก หรือประสบการณ์การถูกทำร้ายจิตใจและร่างกายจากคู่สมรส เป็นต้น
ลักษณะอา การ ซึม เศร้า หลัง คลอด มีดังต่อไปนี้
- กังวลว่าจะไม่สามารถเลี้ยงดูตนเองและลูกได้
- ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล
- ไม่มีความรู้สึกผูกพันกับลูก
- รู้สึกทุกข์ใจอย่างมาก
- อารมณ์เศร้า ท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวัง
- ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเกือบทั้งวัน หรือติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- มีความรู้สึกเหนื่อยหน่าย หมดความสนใจในงานหรือกิจกรรมที่ทำ
- อาการอื่น ๆ เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ไม่ได้
การรับมือกับภาวะซึม เศร้าหลังคลอด
- การทานอาหารที่มีประโชยน์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หาเวลาพักระหว่างวัน
- ให้คุณพ่อ/คนใกล้ชิดช่วยดูแลลูก
- ระบายความรู้สึกให้คนใกล้ชิดฟัง
- มีเวลาให้กับตัวเองบ้าง
- ลดการรับข่าวสาร
- ปรึกษาแพทย์
แนวทางการรักษา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ แบ่งเป็น
- การให้ยาปรับอารมณ์
- การใช้โปรแกรมจิตบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ
- ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องให้ยาควบคู่ไปกับการใช้โปรแกรมจิตบำบัด จะทำให้การรักษาได้ผลในระยะยาวดีที่สุด
เพราะ ครอบครัว คือ กำลังใจสำคัญที่จะทำให้คุณแม่หายจากอาการซึมเศร้าได้มากที่สุด แต่หากอาการเป็นมาก แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอีกครั้ง
ข้อมูล : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ โรงพยาบาลศิครินทร์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง