วันที่ 17 ธันวาคม 2565 เมื่อเวลา 8.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวานนี้ (16 ธ.ค.65) ในที่ประชุมสภาช่วงหนึ่งในเวลา 15.00 น.ได้มีรายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติเรื่องการจัดตั้งกระทรวงการข้างของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์สภาผู้แทนราษฎร โดยช่วงนี้ ดร.มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ตั้งข้อสังเกตจากการศึกษาของคณะกรรมาธิการฯ
"มัลลิกา" หนุนตั้ง"กระทรวงการข้าว"ดูแลชาวนา 5 ล้านครัวเรือน "แบบครบวงจร" แต่ท้วงติง"กรรมาธิการการเกษตรฯ" จูนแนวคิด "สำนักงบประมาณและสภาพัฒน์"ให้ตรงกันก่อนเพื่อความสำเร็จจริง
ข่าวที่น่าสนใจ
ดร.มัลลิกา กล่าวว่า โดยหลักการเห็นด้วยกับการจัดตั้งกระทรวงการข้าวเนื่องจากจะได้ เป็นศูนย์รวมการบริหารจัดการให้กับชาวนากว่า 5,000,000 ครัวเรือนทั่วประเทศซึ่งข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจและเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญโดยปัจจุบันมีผู้เกี่ยวข้องกระจายอยู่ 3 กระทรวงคือทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม แม้จะชื่นชมความพยายามของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ในการศึกษาเรื่องนี้ แต่การจัดตั้งกระทรวงนั้นเป็นเรื่องใหญ่และปัญหาและอุปสรรคจะอยู่ที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับวิสัยทัศน์ของสำนักงบประมาณจะเอาด้วยหรือไม่ จึงขอตั้งข้อสังเกตว่ากรรมาธิการฯได้เชิญ 2 หน่วยงานนั้นมาหารือแล้วหรือไม่เพราะการจะสัมฤทธิ์ผลนั้นหลักใหญ่ใจความจะอยู่ตรง 2 องค์กรนั้นด้วย
จากนั้น ดร.มัลลิกา ระบุว่า ความเป็นไปได้ที่การตั้งกระทรวงนั้นจะรองรับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันนี้ได้หรือไม่ จะมีตัวชี้วัดจากสิ่งใดเพราะปัจจุบันนี้โลกเปลี่ยนไปเป็นยุคสมัยใหม่ ดังนั้นยุคปัจจุบันโดยเฉพาะหลังโรคระบาดโควิด-19 แต่ละกระทรวงมีการปรับตัวและจากประสบการณ์จากการเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่ผ่านมาขอเรียนว่าเห็นได้ชัดว่าความสำเร็จอยู่ที่การปรับเปลี่ยนวิธีและเครื่องมือที่รองรับรวมทั้งวิสัยทัศน์ของผู้นำในการขยับให้ทันโลกทันสถานการณ์และใช้การเจรจาออนไลน์หรือ OBM ( Online Business Matching ) เป็นเครื่องมือ จุดนี้เองจึงทำให้ประสบความสำเร็จในแง่ของการค้าขายการผลักดันการส่งออกและการเจาะตลาดและแยกตลาด แม้เกิดเหตุโรคระบาดก็ยังทำให้ตัวเลขการส่งออกสินค้าประเภทข้าวนั้นยังเป็นบวกโดยเฉพาะในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 109,207 ล้านบาท
“ทั้งนี้รูปแบบที่ทันสมัยคือการใช้ภาคเอกชนเป็นผู้นำทัพในการส่งออกสินค้าที่เป็นที่เศรษฐกิจและราชการเป็นผู้สนับสนุนโดยเป็นโครงสร้าง กรอ.พาณิชย์ หรือ คณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชนด้านการพาณิชย์ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้นำนโยบายนี้มาใช้และให้ทูตพาณิชย์หรือสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ 58 แห่งทั่วโลกของดูแลเป็นเซลล์แมนประเทศ สามารถใช้ผลชี้วัดการทำงานได้จากการหาตลาดทั้งตลาดเก่า ตลาดเดิม ตลาดใหม่ การเจาะตลาดนี่คือจุดเปลี่ยนและทำได้ดี จึงขอแนะนำว่าการประสบความสำเร็จบางครั้งไม่ได้เกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรได้หรือไม่แต่มันขึ้นอยู่กับการ กำกับนโยบายและใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างทันสมัย แก้ไขปัญหาแบบคนรุ่นใหม่ทันสถานการณ์ไม่เทอะทะ แต่บูรณาการแบบ one stop service ทำได้ไวทำได้จริง ” ดร.มัลลิกา กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-