นักพฤกษศาสตร์ไทย พบพืช “เปราะทอง” ชนิดใหม่ของโลก

เปราะทอง, เปรา ะทอง ราคา, มหาวิทยาลัมหาสารคาม, นักพฤกษศาสตร์ไทย, พืชสกุลเปราะทอง, เปราะทองก้านใบยาว, เปราะทองศรีสุมนตร์, เปราะทองใบเงิน, เปราะทองชยันต์, เปราะทองลาร์เซน, เปราะทองลาร์เซน, รองศาสตราจารย์สุมนตร์ สีตะธนี

ข่าวดี นักพฤกษศาสตร์ไทย พบพืชสกุล "เปราะทอง" ชนิดใหม่ของโลก ในชื่อ เปราะทองศรีสุมนตร์

ข่าวดี! ทีมนักพฤกษศาสตร์ไทยมหาวิทยาลัมหาสารคาม (มมส.) ค้นพบ “เปราะทอง” เปรา ะทอง ราคา ชนิดใหม่ของโลก โดยตั้งชื่อว่า เปราะทองศรีสุมนตร์ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

ข่าวดีวงการพฤกษ์ศาสตร์ไทย เมื่อทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ค้นพบ พืชสกุล “เปราะทอง” ชนิดใหม่ของโลกระหว่างศึกษาความหลากหลายของพืชวงศ์ขิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัย และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ สนับสนุนโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)

 

 

 

โดยเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้วิจัยได้ขออนุญาตท่านรองศาสตราจารย์ศรีสุมนตร์ สีตะธนี ในการนำชื่อของท่านมาตั้งเป็นชื่อพืชชนิดใหม่ของโลก โดยตั้งชื่อภาษาไทยว่าเปราะ ทองศรีสุมนตร์ และตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cornukaempferia srisumoniae P. Saensouk, Saensouk & Boonma

 

 

 

เปราะทอง, เปรา ะทอง ราคา, มหาวิทยาลัมหาสารคาม, นักพฤกษศาสตร์ไทย, พืชสกุลเปราะทอง, เปราะทองก้านใบยาว, เปราะทองศรีสุมนตร์, เปราะทองใบเงิน, เปราะทองชยันต์, เปราะทองลาร์เซน, เปราะทองลาร์เซน, รองศาสตราจารย์สุมนตร์ สีตะธนี

 

 

 

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์สุมนตร์ สีตะธนี เป็นอดีตอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และอดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และยังเป็นอาจารย์รุ่นแรก ๆ ที่ร่วมก่อตั้งภาควิชาชีววิทยาอีกด้วย

 

 

 

ปัจจุบัน จากการศึกษาทบทวนพืชสกุล “เปราะทอง” พบว่ามีความหลากชนิดในโลกทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่

  • เปราะ ทอง (Cornukaempferia aurantiiflora Mood & K.Larsen), เปราะทองก้านใบยาว (C. longipetiolata Mood & K.Larsen)
  • เปราะ ทองลาร์เซน (C. larsenii P.Saensouk)
  • เปราะ ทองชยันต์ (C. chayanii Yupparach & Wongsuwan)
  • เปราะ ทองกมลวรรณ (C. kamolwaniae Picheans., Yupparach & Wongsuwan)
  • เปราะ ทองใบเงิน (C. argentifolia Boonma & Saensouk)
  • เปราะ ทองศรีสุมนตร์ (C. srisumoniae P. Saensouk, Saensouk & Boonma)

 

 

 

เปราะทอง, เปรา ะทอง ราคา, มหาวิทยาลัมหาสารคาม, นักพฤกษศาสตร์ไทย, พืชสกุลเปราะทอง, เปราะทองก้านใบยาว, เปราะทองศรีสุมนตร์, เปราะทองใบเงิน, เปราะทองชยันต์, เปราะทองลาร์เซน, เปราะทองลาร์เซน, รองศาสตราจารย์สุมนตร์ สีตะธนี

 

 

 

โดยทั้งหมดพบกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ในขณะที่เปราะ ทองลาร์เซนพบทั้งในไทยและลาว ทำให้เปรา ะทอง 6 ชนิดที่พบแค่ในประเทศไทยยังคงมีสถานะเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย (Endemic species) ยกเว้นเปราะ ทองลาร์เซนที่พบกระจายพันธุ์ในประเทศลาวด้วย

 

 

 

จากทั้ง 7 ชนิด พบว่า พืชสกุลเปราะ ทองมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาร่วมกัน คือ

  • มีเหง้าแบบเจริญออกทางด้านข้าง (sympodial rhizome)
  • โดยเนื้อด้านในเหง้ามี 2-3 ชั้น
  • มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ และมีรสขม
  • ระบบรากเป็นแบบรากฝอยและมีรากสะสมอาหาร (tuberous roots)
  • กาบใบเรียงสลับ มีลิ้นใบสั้นและบาง ปลายแยกเป็นสองพู แต่ละพูปลายโค้งกลมหรือปลายตัดตรง
  • ใต้ใบมีขน ช่อดอกเกิดกลางกลุ่มใบโดยถูกหุ้มด้วยกาบของใบที่อยู่ด้านในสุด เนื่องจากมีก้านช่อดอกที่สั้นมาก

 

 

 

เปราะทอง, เปรา ะทอง ราคา, มหาวิทยาลัมหาสารคาม, นักพฤกษศาสตร์ไทย, พืชสกุลเปราะทอง, เปราะทองก้านใบยาว, เปราะทองศรีสุมนตร์, เปราะทองใบเงิน, เปราะทองชยันต์, เปราะทองลาร์เซน, เปราะทองลาร์เซน, รองศาสตราจารย์สุมนตร์ สีตะธนี

 

 

 

  • ใบประดับรูปใบหอกหรือรูปไข่ ปลายแหลม แฉกหลอด
  • กลีบดอกรูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน ปลายรูปคุ่ม
  • เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันรูปไข่กลับแคบหรือรูปหอกกลับ ปลายโค้งมน สีเหลืองอมส้ม
  • กลีบปากสีเหลืองอมส้มไปจนถึงสีส้ม และมีขีดหรือจุดสีแดงที่ส่วนฐานของกลีบ
  • เกสรเพศผู้มีก้านชูอับเรณูสั้นและแบน สีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีเหลืองเข้ม
  • อับเรณูยาวปลายโค้ง สีเหลือง ยอดเกสรเพศเมียมีขนครุย รังไข่รูปทรงรีหรือรูปทรงไข่กลับ ผิวมีขน

 

 

 

พืชสกุลเปราะ ทอง 5 ชนิด ได้แก่

  • เปราะ ทอง (C. aurantiiflora)
  • เปราะ ทองลาร์เซน(C. larsenii)
  • เปราะ ทองชยันต์ (C. chayanii)
  • เปราะ ทองใบเงิน (C. argentifolia)
  • เปราะ ทองศรีสุมนตร์ (C. srisumoniae)

จะบานพร้อมผสมในเวลาเช้า ในขณะที่เปราะ ทองกมลวรรณจะบานในช่วงบ่าย และเปราะ ทองก้านใบยาวจะบานในเวลากลางคืน

 

 

 

เปราะทอง, เปรา ะทอง ราคา, มหาวิทยาลัมหาสารคาม, นักพฤกษศาสตร์ไทย, พืชสกุลเปราะทอง, เปราะทองก้านใบยาว, เปราะทองศรีสุมนตร์, เปราะทองใบเงิน, เปราะทองชยันต์, เปราะทองลาร์เซน, เปราะทองลาร์เซน, รองศาสตราจารย์สุมนตร์ สีตะธนี

 

 

 

การใช้ประโยชน์พืชสกุลนี้

  • ส่วนใหญ่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้กระถางสะสมสำหรับผู้ที่หลงใหลในความงามของพืชวงศ์ขิง
  • โดยทางผู้วิจัยได้มีการศึกษาวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในสกุลนี้ด้วย เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป

 

 

 

ข้อมูล : smujo

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น