นักวิทย์สร้างเซลล์สืบพันธุ์ “แรดขาวเหนือ” ช่วย 2 ตัวสุดท้ายของโลกสำเร็จ

แรดขาวเหนือ, แรด, สูญพันธุ์, สเต็มเซลล์, เนื้อเยื่อรังไข่, สปีชีส์, ฟาตู, PGCs, เซลล์ไข่, นาจิน, ผสมพันธุ์, สเปิร์มแช่แข็ง, เซลล์ผิวหนัง

ข่าวดี นักวิทย์สร้างเซลล์สืบพันธุ์ "แรดขาวเหนือ" จากสเต็มเซลล์สำเร็จ ช่วยตัวเมีย 2 ตัวสุดท้ายของโลก

ข่าวดี! ทีมนักวิทยาศาสตร์สร้างเซลล์สืบพันธุ์ของ “แรดขาวเหนือ” สำเร็จเป็นครั้งแรก ซึ่งปัจจุบันเหลือตัวเมียเพียง 2 ตัวสุดท้ายบนโลกเท่านั้น สร้างความหวังใหม่ในการรักษาสปีชีส์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุดบนโลก ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

ปัจจุบัน “แรดขาวเหนือ” (Ceratotherium simum cottoni) เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่เหลือตัวเมียเพียง 2 ตัวสุดท้ายบนโลก นั่นก็คือ นาจิน (Najin) วัย 33 ปีและลูกสาวของเธอ ฟาตู (Fatu) อาศัยอยู่ในศูนย์อนุรักษ์สัตว์ป่า Ol Pejeta Conservancy ในประเทศเคนยา

 

 

 

เมื่อเหลือสปีชีส์ตัวเมียเพียง 2 ตัว เห็นได้ชัดว่าพวกมันไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ด้วยตัวเอง ทีมงานกำลังพยายามหาวิธีที่จะช่วยให้แรด ขาวเหนือรอดพ้นจากการสูญพันธุ์ โดยการใช้เซลล์ผิวหนังของแรดที่ตายแล้ว สร้างสเปิร์มและเซลล์ไข่ แล้วนำตัวอ่อนที่จะฝังลงในแรดขาวใต้

 

 

 

แรดขาวเหนือ, แรด, สูญพันธุ์, สเต็มเซลล์, เนื้อเยื่อรังไข่, สปีชีส์, ฟาตู, PGCs, เซลล์ไข่, นาจิน, ผสมพันธุ์, สเปิร์มแช่แข็ง, เซลล์ผิวหนัง

 

 

 

โดยแรดขาว เหนือเพศผู้ตัวสุดท้ายชื่อว่า ซูดาน เสียชีวิตไปในเดือนมีนาคม ปี 2018 ที่ผ่านมา ในปีต่อมา นักวิจัยพยายามรักษาสายพันธุ์นี้โดยใช้สเปิร์มจากแรดขาว เหนือตัวผู้ที่ตายแล้ว รวมทั้งซูดาน เพื่อปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ที่เก็บมาจากนาจินและฟาตู

 

 

 

มาซาฟูมิ ฮายาชิ (Masafumi Hayashi) หนึ่งในทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอซากะ เผยว่า นี่เป็นครั้งแรกที่สามารถเพาะเลี้ยงเซลล์สืบพันธุ์ในยุคแรกเริ่ม (PGCs) จากเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของของไข่แรดและสเปิร์มที่จำเป็นในการสร้างลูกแรดขาว เหนือตัวใหม่ที่มีชีวิต

 

 

 

แรดขาวเหนือ, แรด, สูญพันธุ์, สเต็มเซลล์, เนื้อเยื่อรังไข่, สปีชีส์, ฟาตู, PGCs, เซลล์ไข่, นาจิน, ผสมพันธุ์, สเปิร์มแช่แข็ง, เซลล์ผิวหนัง

 

 

 

และอีกวิธีหนึ่งคือการเก็บเซลล์ไข่จากฟาตู และผสมพันธุ์โดยใช้สเปิร์มแช่แข็งจากแรด ขาวเหนือที่ตายแล้ว แต่โชคร้ายที่ฟาตู ไม่สามารถอุ้มท้องได้ เนื่องจาก ปัญหาด้านเอ็นร้อยหวายจึงไม่สามารถรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ในขณะที่นาจินก็มีอายุมากเกินไปที่อุ้มท้อง และยังมีเนื้องอกในรังไข่ด้วย

 

 

 

ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปที่ท้าทายที่สุด ก็คือการทำให้ PGCs ที่สร้างขึ้นใหม่เติบโตเป็นเซลล์ไข่ที่มีชีวิต ซึ่ง ดร. Vera Zywitza เผยว่า เซลล์ต้นกำเนิดมีขนาดค่อนข้างเล็ก เมื่อเทียบกับเซลล์สืบพันธุ์ที่โตเต็มที่ และที่สำคัญที่สุดมีโครโมโซมเพียง 2 ชุดเท่านั้น ทีมวิจัยจึงต้องหาสภาวะที่เหมาะสมให้เซลล์ได้แบ่งตัวเพิ่มขึ้น เพื่อความหลากหลายทางพันธุกรรมมากยิ่งขึ้น 

 

 

 

แรดขาวเหนือ, แรด, สูญพันธุ์, สเต็มเซลล์, เนื้อเยื่อรังไข่, สปีชีส์, ฟาตู, PGCs, เซลล์ไข่, นาจิน, ผสมพันธุ์, สเปิร์มแช่แข็ง, เซลล์ผิวหนัง

 

 

 

ด้าน Thomas Hildebrant ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการสืบพันธุ์ในสัตว์ จากสถาบันวิจัยไลบ์นิทซ์ เผยว่า เนื่องจาก เราเหลือแค่ฟาตูเป็นผู้บริจาคไข่ธรรมชาติ ทำให้ความผันแปรทางพันธุกรรมของลูกหลานที่เกิดขึ้นจะน้อยเกินไปที่จะสร้างกลุ่มประชากรที่มีชีวิตได้ ทีมวิจัยจึงจำเป็นต้องสร้างเนื้อเยื่อรังไข่ขึ้นมาจากสเต็มเซลล์สัตว์ชนิดอื่น อย่างเนื้อเยื่อของม้า เพราะ ม้าเป็นหนึ่งในญาติสนิทที่สุดของแรดจากมุมมองทางวิวัฒนาการ

 

 

 

แม้จะยังมีอุปสรรคทางเทคนิคมากมายที่ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติต้องเผชิญ แต่พวกเขายังคงมีความหวังอยู่เสมอ เพื่อสปีชีส์อันยิ่งใหญ่นี้ หากพวกเขาทำสำเร็จ งานวิจัยในครั้งนี้จะกลายเป็นหนึ่งในผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยสปีชีส์ให้อยู่รอดต่อไปได้

 

 

 

ข้อมูล : newscientist และ iflscience

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สถาบันเหล็กฯ ออกแถลงการณ์ โต้ทนาย "ซินเคอหยวน" ยันเครื่องทดสอบเหล็กแม่นยำ ถูกต้องตามมาตรฐานทุกอย่าง
Watt-D แจ้งเตือน ระวัง "มิจฉาชีพ" แอบอ้างเป็นพนักงาน PEA หลอก Add LINE
ทั่วโลกร่วมไว้อาลัยโป๊ปฟรานซิส
“หมอปลาย” ทักแรง! ภาคอีสานระวัง “ภูเขาไฟ” ดับไปแล้ว กำลังจะตื่นอีก
“นาซา” เผยข้อมูลช็อก! แผ่นดินพม่าเคลื่อนตัว 6 เมตร จ่อปรับผังเมืองเนปิดอว์
ผวาชักศึกเข้าไทย! “พม่า KNU” เหิมหนัก โบกธงฉลองในแผ่นดินไทย
ปภ.จับมือ "3 ค่ายมือถือ" ทดสอบส่งข้อความเตือนภัย พ.ค.นี้
"นายกฯ" นำเปิดโครงการ "SML ส่งตรงโอกาสถึงชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน" เน้นผลสำเร็จเริ่มจากยุคไทยรักไทย
เซเว่น อีเลฟเว่น ชวนคนไทยร่วมเปลี่ยนแปลงโลก ในวัน Earth Day 2025 ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ลดการใช้พลังงาน ในธีม“พลังของเรา โลกของเรา”เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ซีพีจับมือทุกภาคส่วน ปักหมุด ‘เกาะสุกร’ จ.ตรัง ลงนาม MOU สร้างโมเดลต้นแบบจัดการขยะยั่งยืน มุ่งต่อยอดสู่เครือข่ายสิ่งแวดล้อมภาคใต้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น