โบรกฯฟันธงปี 66 ผนึกTRUE-DTAC ธุรกิจดิจิทัลไทยพร้อมแข่งโลก

โบรกฯฟันธงปี 66 ผนึกTRUE-DTAC ธุรกิจดิจิทัลไทยพร้อมแข่งโลก

ติดตามต่อเนื่องภายหลังศาลปกครอง มีคำวินิจฉัยยกคำร้องของสภาองค์กรของผู้บริโภค กับพวกรวม 5 คน ในการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาใน 4 ประเด็นหลัก ซึ่งอาจมีผลทำให้การรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ต้องชะลอไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษา

โดยชี้ว่าอำนาจของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการมีมติเพื่อรับทราบการรวมธุรกิจ TRUE-DTAC โดยเห็นชอบและกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ ไม่มีเหตุจะรับฟังได้ว่ามติดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ศาลจะมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง และเมื่อได้วินิจฉัยเช่นนี้แล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นอีก เนื่องจากไม่มีผลทำให้คำสั่งเปลี่ยนแปลงไป จึงมีคำสั่งยกคำขอ ส่งผลให้แผนการรวมธุรกิจ TRUE-DTAC ยังคงสามารถเดินหน้าต่อไปตามกรอบเวลา

ล่าสุด Mckinsey บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ได้เผยแพร่บทความเรื่อง อนาคตของการควบรวมในธุรกิจ โทรคมนาคม The future of M&A in telecom เขียนโดย จีน คริสโตเฟอร์ เลอ บราวน์ ระบุชัดเจนว่า อุตสาหกรรมจำเป็นต้องทำการควบรวม ด้วย 3 เหตุผลด้วยกัน คือ

1) การควบรวม เพื่อให้ขนาดสามารถแข่งขันได้ (Gain scale for competition) ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมบางประเทศ ผู้นำตลาด เป็นผู้นำเดี่ยว ทำให้มีความได้เปรียบจากการใช้ Scale Benefit หากนำผลการศึกษามาเปรียบเทียบกับประเทศไทย พบว่า เอไอเอส มีส่วนแบ่งตลาดเกือบครึ่งหนึ่ง ทำให้คู่แข่งขันมีแนวโน้มในการควบรวมเพื่อลดช่องว่างด้านขนาด เป็นต้น

2) การควบรวมของโอเปอร์เรเตอร์ในประเทศมีมากขึ้น เนื่องจากความต้องการในการลดต้นทุน (The amount of in-country consolidation for cost reduction) เพื่อเพิ่มโอกาสในการนำเสนอบริการที่มีราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น ดังตัวอย่างประเทศไทย ที่โอเปอเรเตอร์มีต้นทุนค่าไลเซนต์ ค่าคลื่น ค่าอุปกรณ์เน็ตเวิร์คในราคาสูงมาก ทำให้ภาวะต้นทุนยากต่อการแข่งขัน อีกทั้งมรสุมเงินเฟ้อ ในอนาคตจะกดดันดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้น การที่ผู้ประกอบการปรับตัว ก็จะทำให้ต้นทุนลดลงเป็นต้น

3) ผู้ประกอบการต้องการควบรวม เพื่อให้บริการดิจิทัลอื่น ที่มีมูลค่าสูงกว่า Operator decisions to expand aggressively in non-core areas.เพื่อไปแข่งในเวทีดิจิทัล ที่มีการให้บริการแบบบนก้อนเมฆ ( Cloud Solution) ครอบคลุม IOT, Digital Service

 

 

ทางด้าน แหล่งข่าวจากวงการนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ อธิบายเพิ่มเติม ว่าจากผลการศึกษาของ Mckinsey เรื่องอนาคตของการควบรวมในธุรกิจ โทรคมนาคม แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับบริษัทหลังการควบรวมในโทรคมนาคม มี 3 ประเด็นที่น่าสนใจต้องติดตามถึงประโยชน์ในอนาคต คือ การควบรวม เพื่อให้ขนาดสามารถแข่งขันได้ ในประเด็นนี้หลังการควบรวม จะทำให้การเข้าถึงสัญญาณเครือข่ายดีขึ้น เสาสัญญาณเพิ่มมากขึ้น สัญญาเร็ว แรง และครอบคลุมพื้นที่ใช้งานมากขึ้น โดยเมื่อรวมจำนวนเสาสัญญาณของทรูและดีแทคแล้ว คาดว่าจะมีมากกว่า 49,800 สถานีฐาน ทำให้ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่พื้นที่ไหนในประเทศไทยก็สามารถใช้บริการได้อย่างครอบคลุม ลูกค้าดีแทคก็จะได้ใช้สัญญาณ 5G ของทรู ได้อีกด้วย

 

 

นอกจากนี้ คลื่นที่ครบถ้วนในทุกย่านความถี่ ทำให้ลูกค้าสามารถใช้มือถือได้ทุกรุ่น รองรับทุกย่านความถี่เริ่มตั้งแต่คลื่น 700 MHz มีทั้ง 2 ค่าย คลื่น 850 MHz ดีแทคสามารถใช้ของทรูได้ คลื่น 900, 1800, 2100 MHz มีทั้ง 2 ค่ายและลูกค้าทรูก็สามารถใช้คลื่นที่ทรูไม่มีเช่นคลื่น 2300 MHz ในขณะที่ดีแทคสามารถมาใช้คลื่น 2600 MHz 5G ของทรูได้ ดังนั้น ลูกค้าจะได้ประโยชน์อย่างมากจากจำนวนคลื่นและแบนด์วิธที่มากขึ้น ทำให้ลูกค้าสามารถโทรโดยใช้มือถือได้ทุกรุ่น รองรับได้ทุกย่านความถี่

 

 

ประเด็นที่สอง คือ การจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การควบรวมของโอเปอร์เรเตอร์ ทำให้ได้ประโยชน์จากการลดต้นทุน (The amount of in-country consolidation for cost reduction) เพื่อเพิ่มโอกาสในการนำเสนอบริการที่มีราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น ดังตัวอย่างประเทศไทย ที่โอเปอเรเตอร์มีต้นทุนค่าไลเซนต์ ค่าคลื่น ค่าอุปกรณ์เน็ตเวิร์คในราคาสูงมาก ทำให้ภาวะต้นทุนยากต่อการแข่งขัน อีกทั้งมรสุมเงินเฟ้อ ในอนาคตจะกดดันดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้น

 

ข่าวที่น่าสนใจ

รวมถึงการที่ New Co มีการศึกษาด้านต้นทุน และ สามารถลดต้นทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ ก็จะส่งผลบวกต่อกำไร ราคาลูกค้าจะได้ความคุ้มค่ามากขึ้น เพราะ แพคเกจที่ใช้อยู่สามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง เพราะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. อย่างเข้มงวดอยู่แล้ว และประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราค่าบริการต่ำสุดในโลก ทำให้การจัดการต้นทุนที่ดี คือหัวใจสำคัญในการประกอบธุรกิจ อาทิเช่น เพิ่มความสะดวกมากขึ้น โดยมีศูนย์ให้บริษัทหลังการควบรวมเพิ่มมากขึ้น ทำให้บริการหลังการขายสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น จำนวนร้าน สาขา ของทรู และ ดีแทค ทั่วประเทศ จะให้บริการลูกค้าได้อย่างไร้รอยต่อ และ นำมาต่อยอดบริการรูปแบบใหม่ ให้ลูกค้ามีความสะดวก และมี call center รวมสองค่ายมากกว่า 5,200 คน

ประเด็นสุดท้าย คือ ผู้ประกอบการต้องการควบรวม เพื่อให้บริการดิจิทัลอื่น ที่มีมูลค่าสูงกว่า Operator decisions to expand aggressively in non-core areas. เพื่อไปแข่งในเวทีดิจิทัล ที่มีการให้บริการแบบบนก้อนเมฆ ( Cloud Solution) ครอบคลุม IOT, Digital Service, Enterprise, SME เป็นต้น ทั้งนี้หลังการควบรวม ผู้เล่นทุกรายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย พร้อมปรับตัวเข้าสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี และเพิ่มขีดความสามารถที่จะแข่งกับผู้ประกอบการระดับโลก และสนับสนุนการลงทุนของ TechStartup รุ่นใหม่

บริษัทจะมีความสามารถในการลงทุนเพิ่ม รองรับเทคโนโลยีใหม่ ทำให้ลูกค้าได้รับบริการดิจิทัลมากขึ้น เช่น บริการแพทย์ทางไกล การประชุมทางไกล การเข้าถึงคอนเทนต์ เพลง หนัง ระดับโลก ในราคาลดลง หลังการควบรวม NEW CO ปรับตัวเข้าสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี และเพิ่มขีดความสามารถที่จะแข่งกับผู้ประกอบการระดับโลก และสนับสนุนการลงทุนของ TechStartup รุ่นใหม่ บริษัทจะมีความสามารถในการลงทุนเพิ่ม รองรับเทคโนโลยีใหม่ ทำให้ลูกค้าได้รับบริการดิจิทัลมากขึ้น เช่น บริการแพทย์ทางไกล การประชุมทางไกล การเข้าถึงคอนเทนต์ เพลง หนัง ระดับโลก ในราคาลดลง

ทางด้าน บล.กรุงศรี มอง “POSITIVE” กลุ่ม ICT คลายกังวลเรื่องศาลในดีลควบรวม DTAC-TRUE หลังศาลปกครองยกคำร้องของสภาองค์กรของผู้บริโภคที่ให้ขอคุ้มครองชั่วคราวกรณีการรวมธุรกิจของ DTAC และ TRUE ซึ่งหมายความว่าไม่มีประเด็นอื่นอีกจากทางฝั่งศาลที่จะหยุดดีลนี้ แต่อุปสรรคอีกด้าน คือ เงื่อนไขของ กสทช. ซึ่งจะทำให้มูลค่า synergy ลดลงอย่างมากยังคงไม่ชัดเจน

ในส่วนของ บล.ทิสโก้ ได้มีการออกบทวิเคราะห์ตามรายงานในเดือนมีนาคม 2565 เรื่อง “การปรับสมมติฐานการควบรวมกิจการ” โดยราคาเป้าหมายของเราสันนิษฐานว่า NewCo จะมีมูลค่าโดยรวมอยู่ที่ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสันนิษฐานต่อไปว่าการลด Capex และ OPEX จะเป็นยุทธศาสตร์หลักและ แนะนำให้ “ซื้อ” DTAC และ TRUE โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 59.00 บาท และ 5.80 บาทตามลำดับ

 

ขณะที่ นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเป็นบวก ภายหลังที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเปิดรายงานการควบรวมกิจการ โดยคาดว่าจะมีกำไรราว 4,000-5,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นผลกำไรที่ยังไม่รวม Synergy ซึ่งหากพิจารณาร่วมด้วยคาดว่าบริษัทใหม่ (Merge Co) จะมีกำไรเพิ่มขึ้นราว 1 หมื่นล้านบาทต่อปี และจะส่งผลให้กำไรสุทธิของ Merge Co อยู่ที่ราว 1.5-2.5 หมื่นล้านบาทต่อปี

 

 

และ นายพิสุทธิ์ งามวิจิตวงศ์ นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KS ให้ความเห็นว่า ภายหลังศาลปกครองกลาง ยกคำร้องขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ปูทางให้การควบรวมกิจการเดินหน้าต่อไปได้ตามคาด KS คาดว่า การควบรวมกิจการจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงปลายเดือน ม.ค. 2566 หรือต้นเดือน ก.พ.2566 ผู้บริหารของบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวม (mergeco) มีแนวโน้มที่จะใช้โรดโชว์เพื่อโน้มน้าวนักลงทุนให้เห็นถึงการสร้างมูลค่าการผนึกกำลังที่อาจเกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการ KS ประเมินมูลค่าควบรวม 1.02 แสนล้านบาทหรือ 2,950 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบด้วย

1)upside ต่อรายได้

2) การประหยัดค่าใช้จ่ายดำเนินการ (opex) และ

3) การประหยัดงบลงทุน(capex)

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กรมวังฯ" ติดตามความสำเร็จ โครงการ "กำลังใจ" ตรวจเยี่ยมเรือนจำกลาง จ.ภูเก็ต เน้นการฝึกอาชีพให้กับผู้ต้องขัง ผู้ถูกคุมความประพฤติ และผู้พ้นโทษ
ถล่มโกดัง! ยึดฝ้ายชุบไอซ์ 1.65 ตัน ตะครุบนกต่อสาวไทย-รอส่งออสเตรเลีย
ตร.จับ 2 เจ้าหนี้ ปล่อยเงินกู้ดอกโหด ลูกหนี้เครียดยิงตัวตายคาหอพัก
รัฐบาลกัมพูชายืนยันไม่เกี่ยวเหตุสังหารอดีตสส.ฝ่ายค้านที่ไทย
“รองผวจ.ประจวบฯ” พร้อมปฏิบัติตามกม. ปมอัลไพน์ ชาวบ้านเชื่อวัดธรรมิการาม ไม่อยากได้ที่ดินคืน
“แสตมป์” รับแล้ว “กลัวติดคุก” ยันโดนขู่ยัดคดี 112 ผวาจนต้องถอนฟ้องคู่กรณี
“Co-op Market Fair พลังสหกรณ์ ขับเคลื่อนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น By ร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด สาขาเอกมัย”พบกับผลิตภัณฑ์สินค้าดีมีคุณภาพของสหกรณ์นำมาจำหน่ายสู่คนเมือง
เที่ยว ‘งานวัดโบราณ’ รับตรุษจีนที่เหอหนาน
บินโดรนโชว์ ‘มังกรร่อน หงส์ไฟรำ’ ในฉงชิ่งของจีน
‘เขาหวงซาน’ ของจีนติดสถานที่น่าเที่ยวปี 2025 ของนิวยอร์ก ไทม์ส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น