“ดร.สามารถ” ฟันธงประมูลรถไฟฟ้าถ้าไม่มีใบสั่ง “BTSC” โอกาสสูงชนะทุกโครงการ

"ดร.สามารถ" ฟันธงประมูลรถไฟฟ้าถ้าไม่มีใบสั่ง "BTSC" โอกาสสูงชนะทุกโครงการ

สืบเนื่องจากดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคมนาคมขนส่งทางราง ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในประเทศไทย ในหัวข้อ อย่าให้มี “รอยด่าง” ใน “ระบบราง”

 

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน

 

 

 

โดยระบุใจความสำคัญตอนหนึ่ระบุว่า การก่อสร้างทางรถไฟ และรถไฟฟ้าหลากหลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟลอยฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) รถไฟฟ้าล้อยางวิ่งบนพื้นคอนกรีตที่เรียกว่า APM (Automated People Mover) และรถไฟความเร็วสูง เกิดขึ้นมากในสมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ระบบรางของไทยก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่น่าเสียดายที่มี “รอยด่าง” เกิดขึ้นช่วงที่ท่านเป็นนายกฯ ในสมัยรัฐบาลปัจจุบัน

พร้อมยกตัวอย่างประกอบ กรณี รฟม. ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนให้ร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) และเดินรถตลอดสายทั้งช่วงตะวันตกและตะวันออก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) แต่ในระหว่างการประมูล รฟม. ได้เปลี่ยนเกณฑ์ประมูล และในที่สุดได้ล้มการประมูล ต่อมาในปี 2565 รฟม. ได้เปิดประมูลใหม่ซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีการกีดกันและเอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายใดรายหนึ่งหรือไม่ ? เพราะผลพวงจากการประมูลถึง 2 ครั้ง อาจทำให้ รฟม. ต้องเสียเงินค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นถึง 68,612.53 ล้านบาท !

ขณะที่การแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ในช่วงปลายของรัฐบาล คสช. ต่อเนื่องถึงรัฐบาลปัจจุบันมีปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-คูคต กล่าวคือหากผู้เดินรถไม่ใช่ BTSC ซึ่งเป็นผู้เดินรถสายสีเขียวส่วนหลักและส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ผู้โดยสารจะต้องเปลี่ยนขบวนรถ ไม่สามารถเดินทางแบบต่อเนื่องได้ และจะต้องเสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน กทม.จึงแก้ปัญหาโดยว่าจ้างให้ BTSC เดินรถส่วนต่อขยายที่ 2 แต่การเดินรถส่วนต่อขยายประสบภาวะขาดทุน ทำให้ กทม. เป็นหนี้ BTSC จนถึงวันนี้ประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท

 

 

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "เทียบชัดๆ เทียบ ระบบราง รัฐบาล คสช. vS รัฐบาลปัจจุบัน รายการ รัฐบาล คสช. 1.ประมูลรถไฟทางคู่ สายใต้ :ประหยัดได้ 5.66% รัฐบาลปัจจุบัน ประมูลรถไฟฟ้า สายเหนือ ประหยัดได้ 0.08% สายอีสาน :ประหยัดได้ 0.08% สายสีส้ม ต้องเสียค่า ก่อสร้างเพิ่มขึ้น 68,612.53 ล้านบาท สายสีชมพู :ประหยัดได้ 124,658.15 124, ล้านบาท สายสีเหลือง ประหยัดได้ 135,634.75 ล้านบาท แก้ปัญหารถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ขยายสัมdทาน ให้ BEM สายสีเขียว ยังไม่ชำระ หนี้ หรือขยายสัมปทาน ให้ BTSC ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์"

ข่าวที่น่าสนใจ

กทม. (โดยคณะกรรมการตามคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562) จึงเสนอให้ขยายสัมปทานสายสีเขียวส่วนหลักให้ BTSC เป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2572-2602 เพื่อนำรายได้จากส่วนหลักมาชดเชยการให้บริการเดินรถส่วนต่อขยาย โดยมีเงื่อนไขให้ BTSC รับผิดชอบหนี้ทั้งหมดแทน กทม. แต่จนถึงวันนี้ ยังไม่มีการขยายเวลาสัมปทานให้ BTSC แทนการชำระหนี้ที่พอกพูนขึ้นทุกวัน

ก่อนตั้งข้อสังเกตุว่า การประมูลรถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้าในสมัยรัฐบาล คสช. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี สามารถประหยัดค่าก่อสร้างได้เป็นกอบเป็นกำ อีกทั้ง ยังสามารถแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินได้อีกด้วย แต่การประมูลรถไฟทางคู่และรถไฟฟ้าในสมัยรัฐบาลนี้ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีเช่นเดียวกันกลับต้องเสียค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็นเงินก้อนมหึมา อีกทั้ง ยังปล่อยให้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวคาราคาซังมาจนถึงวันนี้ ทำให้เกิด “รอยด่าง” ใน “ระบบราง” ซึ่งท่านนายกฯ ประยุทธ์ ได้เคยสร้างผลงานดี ๆ ไว้มากมาย น่าเสียดายจริง ๆ

 

 

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ถามว่ารัฐบาล คสช. ที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถทำให้การประมูลรถไฟทางคู่และรถไฟฟ้าประหยัดค่าก่อสร้างได้มาก และสามารถแก้ปัญหาการเดินรถไฟฟ้าได้ด้วย แล้วทำไมรัฐบาลนี้ที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เหมือนกัน จึงทำไม่ได้ ?

ผมไม่สามารถบอกได้ว่า ท่านนายกฯ ประยุทธ์ เปลี่ยนไปหรือไม่ ? แต่บอกได้ว่า “เรื่องการประมูลถ้ามีอะไรที่ไม่ถูกต้อง มันจะย้อนกลับมาเมื่อหมดอำนาจ”

ต่อมา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ได้ออกเอกสารชี้แจง ใจความตอนหนึ่งระบุว่า ตามที่มีการวิจารณ์ เรื่องการคัดเลือกเอกชนในโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม. ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยกล่าวอ้างว่าในการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ และเหลืองฯ ทำให้รัฐประหยัดเงินสนับสนุนกว่าโครงการละ 1 แสนล้านบาท แต่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ รัฐอาจต้องเสียเงินค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 6.8 หมื่นล้านบาท นั้น

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เห็นว่า ข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลซึ่งได้มาจากการใช้ดุลพินิจที่บิดเบือน ไม่เป็นกลาง และไม่พิจารณาข้อชี้แจงใดๆ ของ รฟม. สร้างความเสียหายต่อ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เนื่องจากการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 ได้อนุมัติการดำเนินงานโครงการ โดยกำหนดกรอบวงเงินสนับสนุนค่างานโยธาไม่เกิน 91,983 ล้านบาท ซึ่งผู้ชนะการคัดเลือกได้ยื่นข้อเสนอโดยขอเงินสนับสนุนสุทธิ 85,432 ล้านบาท ดังนั้นการเทียบข้อเสนอของเอกชนผู้ร่วมประมูล โดยนำมาหักลบกันตรงๆ ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นผลการประหยัดเงินของรัฐตามที่มีการวิจารณ์แต่อย่างใด

 

ล่าสุด ดร.สามารถ ได้โพสต์ขยายความต่อเนื่องเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ในหัวข้อ ประมูลโครงการยักษ์ด้านขนส่ง ทำไม BTSC จึงยืนหนึ่ง ? พร้อมแสดงรายละเอียดว่า การประมูลหาเอกชนมาร่วมลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ด้านขนส่งที่ผ่านมา ถ้าปล่อยให้ BTSC ผ่านเข้ามาถึงการพิจารณาข้อเสนอด้านผลตอบแทน จะพบว่า BTSC ชนะเกือบทุกโครงการ เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ถ้าไม่เปลี่ยนเกณฑ์ประมูล และไม่ล้มประมูล ก็มีความเป็นไปได้ที่ BTSC จะชนะ !

1. การประมูลรถไฟฟ้า

ในปี 2559 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดประมูลหาเอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างและให้บริการเดินรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) 2 โครงการ ประกอบด้วยรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องเป็นผู้ขอรับเงินสนับสนุนสุทธิ (เงินขอรับสนับสนุนจาก รฟม. หักด้วย เงินตอบแทนให้ รฟม.) จาก รฟม. ต่ำที่สุด

1.1 สายสีชมพู

ผลการประมูลปรากฏว่า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC และพันธมิตรเป็นผู้ชนะการประมูล เนื่องจากขอรับเงินสนับสนุนสุทธิจาก รฟม. ต่ำกว่าบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ถึง 124,658.15 ล้านบาท โดย BTSC ขอรับเงินสนับสนุนสุทธิ 19,823.23 ล้านบาท ในขณะที่ BEM ขอรับเงินสนับสนุนสุทธิ 144,481.38 ล้านบาท

1.2 สายสีเหลือง

ผลการประมูลปรากฏว่า BTSC และพันธมิตรเป็นผู้ชนะการประมูล เนื่องจากขอรับเงินสนับสนุนสุทธิจาก รฟม. ต่ำกว่า BEM ถึง 135,634.75 ล้านบาท โดย BTSC ขอรับเงินสนับสนุนสุทธิ 22,087.06 ล้านบาท ในขณะที่ BEM ขอรับเงินสนับสนุนสุทธิ 157,721.81 ล้านบาท

2. การประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ในปี 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดประมูลหาเอกชนร่วมลงทุนและให้บริการเดินรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ผู้ชนะการประมูลจะต้องเป็นผู้ขอรับเงินสนับสนุนสุทธิ (เงินขอรับสนับสนุนจาก รฟท. หักด้วย เงินตอบแทนให้ รฟท.) จาก รฟท. ต่ำที่สุด

ผลการประมูลปรากฏว่า บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ CP และพันธมิตรเป็นผู้ชนะการประมูล เนื่องจากขอรับเงินสนับสนุนสุทธิจาก รฟท. ต่ำกว่า BTSC ถึง 69,466.61 ล้านบาท โดย CP ขอรับเงินสนับสนุนสุทธิ 117,226.87 ล้านบาท ในขณะที่ BTSC ขอรับเงินสนับสนุนสุทธิ 186,693.48 ล้านบาท

3. การประมูลสนามบินอู่ตะเภา

ในปี 2561 กองทัพเรือเปิดประมูลหาเอกชนร่วมลงทุนและบริหารจัดการโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ผู้ชนะการประมูลจะต้องเป็นผู้เสนอผลตอบแทนสุทธิ (ผลตอบแทนให้กองทัพเรือ หักด้วย เงินลงทุนของกองทัพเรือ) สูงที่สุด

ผลการประมูลปรากฏว่า BTSC และพันธมิตรเป็นผู้ชนะการประมูล เนื่องจากเสนอผลตอบแทนสุทธิให้กองทัพเรือมากกว่า CP และพันธมิตรถึง 203,338 ล้านบาท และมากกว่ากลุ่ม Grand Consortium (GC) ถึง 204,652 ล้านบาท โดย BTSC เสนอผลตอบแทนสุทธิ 305,555 ล้านบาท ในขณะที่ CP เสนอ 102,217 ล้านบาท และ GC เสนอ 100,903 ล้านบาท

4. การประมูลมอเตอร์เวย์

ในปี 2562 กรมทางหลวง (ทล.) เปิดประมูลหาเอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษามอเตอร์เวย์ 2 สาย ประกอบด้วยสายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี โดยเอกชนเป็นผู้ร่วมลงทุนก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง ติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทาง ระบบบริหารงานจราจร และซ่อมบำรุงรักษา โดยจะได้รับค่าจ้างเป็นผลตอบแทน ผู้ชนะการประมูลจะต้องเป็นผู้ขอรับค่าตอบแทนจาก ทล. ต่ำที่สุด ทั้งนี้ รายได้จากค่าผ่านทางจะเป็นของ ทล.

4.1 สายบางปะอิน-นครราชสีมา

ผลการประมูลปรากฏว่า BTSC และพันธมิตรเป็นผู้ชนะการประมูล เนื่องจากเสนอขอรับค่าตอบแทนจาก ทล. ต่ำกว่า บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UN และพันธมิตร 4,960 ล้านบาท และต่ำกว่า BEM 8,520 ล้านบาท โดย BTSC ขอรับค่าตอบแทน 21,329 ล้านบาท ในขณะที่ UN ขอ 26,289 ล้านบาท และ BEM ขอ 29,849 ล้านบาท

4.2 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี

ผลการประมูลปรากฏว่า BTSC และพันธมิตรเป็นผู้ชนะการประมูล เนื่องจากเสนอขอรับค่าตอบแทนจาก ทล. ต่ำกว่า UN และพันธมิตร 5,340 ล้านบาท และต่ำกว่า BEM 7,387 ล้านบาท โดย BTSC ขอรับค่าตอบแทน 17,809 ล้านบาท ในขณะที่ UN ขอ 23,149 ล้านบาท และ BEM ขอ 25,196 ล้านบาท

5. สรุป

จากผลการประมูลโครงการขนาดใหญ่ด้านการขนส่งหลายโครงการดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่า BTSC ชนะเกือบทุกโครงการ จึงสามารถสรุปได้ดังนี้

(1) การประมูลโครงการใดก็ตาม หากปล่อยให้ BTSC ผ่านเข้ามาถึงการพิจารณาข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน มีโอกาสสูงที่ BTSC จะชนะการประมูล เนื่องจาก BTSC กล้าเสนอผลตอบแทนสุทธิให้รัฐสูงมาก หรือขอรับเงินสนับสนุนสุทธิจากรัฐต่ำมาก

(2) กรณีการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม หากไม่มีการเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลและไม่ล้มประมูล มีความเป็นไปได้ที่ BTSC จะชนะการประมูล เพราะขอรับเงินสนับสนุนสุทธิจากรัฐต่ำมาก

(3) การประมูลโครงการใดก็ตาม ผู้เกี่ยวข้องย่อมรู้ดีว่าตน “ทำตามความถูกต้อง หรือทำตามคำสั่ง” ถ้าทำตามความถูกต้องก็สามารถชี้แจงข้อสงสัยได้ง่าย แต่ถ้าทำตามคำสั่งก็ชี้แจงได้ยาก คลุมเครือ และไม่ตรงประเด็น

หมายเหตุ : ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง

 

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "โครงการ ผลประมูลโครงการยักษ์ด้านขนสั่ง ผู้ชนะ vS ผู้แพ้ ผู้ประมูลขอเงินรัฐ หรือให้เงินรัฐ (ล้านบาท) ผู้ชนะ ผู้แพ้ ผลต่าง 1.รถไฟฟ้า 1.1 สายสีชมพู 1.2 สายสีเหลือง BTSC ขอ 19,823.23 BTSC ขอ 22,087.06 รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิ้น BEM ขอ 144,481.38 124,658.15 BEM ขอ 157,721.81 135,634.75 CP ขอ 117,226.87 BTSC ขอ 186,693.48 69,466.61 สนามบินอู่ตะเภา BTSC ให้ 305,555 มอเตอร์เวย์ 4.1 บางปะอิน- -โคราช CPให้ 102,217 GCให้ 100,903 203,338 204,652 BTSC ขอ 21 4.2 บางใหญ่ กาญจนบุรี BTSC ขอ 17,809 UN ขอ 26,289 BEM ขอ 29,845 UN ขอ BEM ขอ 25,196 4,960 8,520 5,340 7,387 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์"

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ตร.สอบสวนกลาง" เตรียมปิดรับแจ้งความคดี "ดิ ไอคอนกรุ๊ป" ล็อตแรก
“วันนอร์” พร้อมตรวจสอบทางลึกพวกแอบอ้าง ชี้หากกมธ.ไม่จัดการ ประธานอาจถึงขั้นถูกศาลฎีกาให้พ้นตำแหน่ง
"สพป.ขอนแก่น เขต 2" สั่งพักราชการ ผอ.โรงเรียนดัง ปมไม่จ่ายเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐาน 500 บาทให้เด็ก นร.ยากจน
สคบ.คาด 2-3 วัน รู้ผล ปมถอนใบอนุญาต "ดิ ไอคอน กรุ๊ป"
“ภูมิธรรม” ขออย่าโยงคดีตากใบ เป็นเรื่องการเมือง ต้องยึดข้อเท็จจริง พร้อมชี้แจงกมธ.ชายแดนใต้ฯ
สีสัน เทวดานางฟ้า ภูตผีและเปรต ลงมารับส่วนบุญส่วนกุศล ที่ชาวบ้านร่วมกันตักบาตรเทโว กับพระสงฆ์ 12 รูป บรรยากาศแสนจะอบอุ่น อิ่มบุญ
ครูบาอริยชาติเชิญชวนช่วงท่องเที่ยวภาคเหนือกระตุ้นเศรษฐกิจและเที่ยววัดวาอารามทำบุญหลังเจอมรสุมอุทกภัยอย่างหนักหน่วง
“คลัง” ย้ำเดินหน้าแจกเงินหมื่นเฟส 2 คาดเปิดลงทะเบียน “กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน” พ.ย.นี้
“กัน จอมพลัง” เผย สส.พรรคดัง รวมตัวกันไล่สัมภเวสีรีดไถชาวบ้านออก ไม่ยอมแน่ หากไม่จัดการ
"นิพิฏฐ์" เปิดอีกมุม ปม "ว.วชิรเมธี" โยง "ดิ ไอคอน" ขอเห็นต่าง อย่าเอาศาสนามาเล่นกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น