IUCN เผยข่าวร้าย ชี้ กิจกรรม "มนุษย์" ในปัจจุบัน คุกคามสิ่งมีชีวิตในทะเลหวั่นหลายชนิดจ่อคิวสูญพันธุ์
ข่าวที่น่าสนใจ
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) อัปเดทสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตในบัญชีแดง เน้นย้ำถึงภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ทั้ง
- การทำประมงที่ผิดกฎหมายและไม่ยั่งยืน
- มลพิษ
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- และโรคภัยไข้เจ็บ
ปัจจุบัน IUCN Red List มีทั้งหมด 150,388 ชนิด โดย 42,108 ชนิดกำลังเสี่ยงสูญพันธุ์ สัตว์และพืชทะเลกว่า 1,550 ชนิดจากทั้งหมด 17,903 ชนิด มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ปะการัง และอื่น ๆ อย่างน้อย 41% จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Dr Bruno Oberle ผู้อำนวย IUCN เผยว่า “ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมของ“มนุษย์” กำลังทำลายสิ่งมีชีวิตทางทะเลทั่วโลก พร้อมเรียกร้องให้หันมาจัดการวิกฤตสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยต้องปฏิรูประบบเศรษฐกิจ มิฉะนั้นเราอาจเสี่ยงที่จะสูญเสียผลประโยชน์สำคัญที่ท้องทะเลมอบให้เรา”
ตัวอย่างสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่เห็นได้ชัด อย่างเช่น หอยเป๋าฮื้อ
- อาหารทะเลที่แพงที่สุดในโลก
- ถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคภัยไข้เจ็บ และมลพิษ
- ปัจจุบัน หอยเป๋าฮื้อ 20 สายพันธุ์จาก 54 สายพันธุ์ของโลกกำลังเสี่ยงสูญพันธุ์
และประชากรพะยูนในแอฟริกาตะวันออกและนิวแคลิโดเนีย อยู่ในลิสต์บัญชีแดงสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤติและใกล้สูญพันธุ์ตามลำดับ โดยภัยคุกคามหลักมาจาก
- เครื่องมือประมง
- การสำรวจ เพื่อผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
- มลพิษทางทะเล
- การพัฒนาชายฝั่งโดยไม่ได้รับอนุญาต
กำลังสร้างความเสียหายและทำลายหญ้าทะเล โดยความเสื่อมโทรมและการสูญเสียหญ้าทะเลในนิวแคลิโดเนียเป็นผลมาจากการไหลบ่าของเกษตรกรรม มลพิษจากการทำเหมืองนิกเกิลและการพัฒนาชายฝั่ง
ปัจจุบัน โลกเผชิญปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของ “มนุษย์” ไม่ว่าจะเป็น
- การทำลายพื้นที่ธรรมชาติ
- การใช้ทรัพยากรเกินขนาด
- การตัดไม้ทำลายป่า
- สายพันธุ์รุกรานต่างถิ่น
- วิกฤตสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและโลก จึงจำเป็นต้องปกป้อง อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอย่างเร่งด่วน
ทั้งนี้ ในที่ประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (CBD COP15) เห็นชอบเป้าหมายของกรอบความร่วมมือนี้ ด้วยการคุ้มครองและปกป้องพื้นที่ 30% ของโลก ทั้งบนผืนดินและในมหาสมุทรภายในปี 2030 สนับสนุนเงินทุนเพื่อการอนุรักษ์ และการแก้ไขปัญหาสายพันธุ์รุกรานต่างถิ่น
นอกจากนี้ IUCN ยังได้เรียกร้องให้กรอบความตกลงดังกล่าว เร่งมาตรการในการปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
ข้อมูล : iucn
ข่าวที่เกี่ยวข้อง