วันที่ 30 ธันวาคม 2565 ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธปท. ให้สัมภาษณ์สื่อแห่งหนึ่ง ถึงความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงปี 2566 ว่า เป็นความกังวลที่ต่อเนื่องจากปี 65 ซึ่งก็คือ ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องภายในประเทศ เช่น ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งต้องแก้ แต่ก็ต้องใช้เวลา , การวางพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับความท้าทายใหม่ๆในอนาคต
"ผู้ว่าฯธปท." ห่วงการเมืองออกนโยบายหาเสียงแปลกๆ บั่นทอนภูมิคุ้มกันประเทศ เตือนได้ไม่คุ้มเสีย ชี้ทั่วโลกเน้นรักษาเสถียรภาพมากกว่ากระตุ้น
ข่าวที่น่าสนใจ
นอกจากนี้ยังมีความกังวลใหม่ๆ ประด้วย 2 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ 1.เรื่องโรคโควิด-19 แม้ขณะนี้จะชะลอตัวลง 2.เรื่องตลาดเงินโลก เพราะช่วงหลังเริ่มชัดขึ้นว่า น้ำลดตอผุด ซึ่งน้ำที่ลงก็คือดอกเบี้ยของธนาคารต่างๆ ที่ขึ้นเร็วและแรง ทำให้ตอต่างๆผุดขึ้น เพราะหนี้ในระบบทั่วโลกหลายประเทศยังสูงอยู่ และที่น่าเป็นห่วงคือ ความเปราะบางที่เกิดขึ้น อีกทั้งเกิดในประเทศที่ปกติปลอดภัยมาก ตัวอย่างที่ชัดที่สุดคือ อังกฤษ และตลาดธนบัตรสหรัฐฯ ที่สภาพคล่องหายไปพอสมควร ดังนั้นหากตลาดโลกเกิดความปกติ ย่อมส่งผลกระทบต่อไทยแน่นอน แต่ถามว่าหากเทียบกับประเทศอื่น ประเทศไทยยังมีความสามารถในการรองรับปัญหาแบบนี้ดีกว่าที่อื่น
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย บอกต่อว่า อีกเรื่องที่ตนกังวลเรื่องในประเทศคือ หากเราออกนโยบายที่แปลกๆ และเป็นนโยบายที่กระทบเสถียรภาพเยอะ ก็จะไปบั่นทอนภูมิคุ้มกันต่างๆของเรา ซึ่งช่วงนี้ตนคิดว่าตลาดโลกเขาให้ความสำคัญในเรื่องเสถียรภาพ เป็นพิเศษ มากกว่าการไปกระตุ้น ช่วงนี้เป็นช่วงที่ถนนลื่น อย่าทำอะไรหวือหวา หรือที่ผิดเพี้ยน ตัวอย่างอังกฤษที่รัฐบาลออกนโยบายหวือหวา จะลดภาษีตรงนั้นตรงนี้ ขณะที่นโยบายการเงินการคลังไปคนละทาง ตอบคำถามหลายอย่างไม่ได้ ความเชื่อมั่นหาย สุดท้ายตลาดปั่นป่วน รัฐมนตรีคลังต้องลาออก นายกรัฐมนตรีก็ต้องเปลี่ยน อีกอันที่สะท้อนคือ ตลาดพร้อมที่จะลงโทษทุกคน ไม่ว่าคุณเป็นใคร ที่ทำนโยบายแปลกๆและอธิบายไม่ได้ ลองนึกภาพตลาดลงโทษอังกฤษขนาดนั้น แล้วประเทศเล็กๆอย่างไทยทำอะไรแบบนี้ มันไม่ได้ ไม่ควรและไม่เหมาะสม จะได้ไม่คุ้มเสีย ดังนั้นสิ่งที่ต้องระมัดระวังในการดำเนินนโยบายก็คือ เรื่องเสถียรภาพ ซึ่งตนเข้าใจตอนนี้เป็นช่วงหาเสียง แต่เห็นว่าต้องมีความรับผิดชอบด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-