จีนคุมเข้ม “โรงเรียนกวดวิชา” ประถม-มัธยม ห้ามครูในระบบสอน

จีนออกกฎคุมเข้ม "โรงเรียนกวดวิชา" ประถม-มัธยม ห้ามครูในโรงเรียนสอนในสถาบันเหล่านี้เด็ดขาด ตั้งเป้าให้เป็นเพียงส่วนเสริมต่อการศึกษาในโรงเรียนภายในปี 2024

จีนออกแนวปฏิบัติคุ้มเข้ม “โรงเรียนกวดวิชา” สถาบันการศึกษานอกระบบ ห้ามครูในโรงเรียนสอนในสถาบันเหล่านี้เด็ดขาด พร้อมแนวทางอื่น ๆ เพิ่มเติม ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

สำนักข่าวซินหัว รายงาน “โรงเรียนกวดวิชา” จีนออกแนวปฏิบัติ เพื่อเพิ่มการจัดระเบียบบรรดาโครงการกวดวิชานอกโรงเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมและมัธยมศึกษาเอกสารแนวปฏิบัติข้างต้นซึ่งเผยแพร่โดยกระทรวงศึกษาธิการจีนร่วมกับหน่วยงานอีก 12 แห่ง ระบุข้อกำหนดหลายรายการ เช่น

  • โปรแกรมกวดวิชานอกระบบไม่ควรมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับระเบียบของโรงเรียน
  • ขณะที่ชั้นเรียนกวดวิชา ม่ควรทับซ้อนกับเวลาเรียนของโรงเรียน
  • การกวดวิชาแบบออนไซต์ควรจบไม่เกินเวลา 20:30 น. ขณะที่หลักสูตรออนไลน์ไม่ควรจบเกิน 21:00 น.

 

 

 

จีน, โรงเรียนกวดวิชา, สถาบันการศึกษานอกระบบ, ค่าเรียน,​ การเรียน, ครู, วุฒิการศึกษา, การศึกษา, กวดวิชานอกระบบ

 

 

 

แนวปฏิบัติกำหนดว่า สถาบันการศึกษานอกระบบ ห้ามเรียกเก็บค่าเรียนสำหรับช่วงเวลาเรียนนานเกินกว่า 3 เดือน หรือสำหรับการเรียนนานเกิน 60 ชั่วโมง หรือเป็นจำนวนเงินมากกว่า 5,000 หยวน (ราว 24,800 บาท)

 

 

นอกจากนี้ พนักงานของสถาบันเหล่านี้จำเป็นต้องมีวุฒิการศึกษาระดับวิชาชีพหรือมีประกาศนียบัตรรับรองคุณสมบัติทางวิชาชีพ อีกทั้งครูที่ทำงานในโรงเรียนในระบบจะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในสถาบันนอกระบบเหล่านี้

 

 

จีน, โรงเรียนกวดวิชา, สถาบันการศึกษานอกระบบ, ค่าเรียน,​ การเรียน, ครู, วุฒิการศึกษา, การศึกษา, กวดวิชานอกระบบ

 

 

 

เน้นย้ำความสำคัญของการส่งเสริมบทบาทของการศึกษาในโรงเรียนในฐานะสถาบันหลัก รวมถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการศึกษาที่มุ่งเน้นการสอบ

 

 

 

พร้อมชี้แจงอย่างชัดเจนว่าผลสำเร็จจากโครงการกวดวิชานอกโรงเรียน จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำมาใช้กับเกณฑ์การรับเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษา ตลอดจนสถาบันอุดมศึกษา

 

 

จีน, โรงเรียนกวดวิชา, สถาบันการศึกษานอกระบบ, ค่าเรียน,​ การเรียน, ครู, วุฒิการศึกษา, การศึกษา, กวดวิชานอกระบบ

 

 

ตั้งเป้ากำหนดกรอบนโยบายพื้นฐานสำหรับโปรแกรมกวดวิชานอกระบบทั่วประเทศภายในกลางปี 2023 พร้อมปรับปรุงกลไกการกำกับดูแลตามปกติ รวมถึงตั้งเป้าให้ภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การเรียนสถาบันนอกระบบเป็นเพียงส่วนเสริมที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาในโรงเรียนภายในปี 2024

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น