เปิด 6 เคล็ดลับ สำหรับผู้ป่วย "เบาหวาน" กินอย่างไร ช่วยคุมน้ำตาลในหลอดเลือด
ข่าวที่น่าสนใจ
ผู้ป่วยโรค “เบาหวาน” ห้ามพลาด! รู้ก่อนสบายใจได้ อธิบดีกรมอนามัย เผยเคล็ดลับใกล้ตัว แนะ 6 เคล็ดลับ ทานอาหารอย่างไรให้ปลอดภัย คุมน้ำตาลในเลือดได้เหมาะสม พร้อมย้ำ ถึงแม้โรคเบา ห วาน ไม่มีทางรักษาหายขาด แต่สามารถป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ถ้าคุมระดับน้ำตาลและน้ำหนักตัวได้อย่างเหมาะสม
ตามปกติแล้วผู้ป่วยเบา หวานส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัว จนกว่าจะแสดงอาการ เช่น
- น้ำหนักลด
- ปัสสาวะบ่อย
- หิวน้ำบ่อย
- แผลหายช้า
- อ่อนเพลีย
- ชาปลายมือปลายเท้า
- สายตาผิดปกติ
ซึ่งเกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน อาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ อาทิ
1. หลอดเลือดหัวใจอุดตัน
- ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
2. เบา หวานขึ้นจอประสาทตาจน
- ทำให้ตาบอด
3. โปรตีนรั่วในปัสสาวะ
- นำไปสู่โรคไตเสื่อม
4. หลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก
- ทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
- หากตั้งครรภ์อยู่จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ อาจเกิดการแท้งบุตรได้
6 เคล็ดลับทานอาหารอย่างไร ให้ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดได้
1. เลือกเปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท หรือธัญพืชไม่ขัดสี
- ช่วยให้ได้รับใยอาหารเพิ่มขึ้น
- ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลช้าลง
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
2. ควบคุมปริมาณข้าวที่กิน
- ไม่ควรกินธัญพืชเพิ่มจากข้าว เช่น ข้าวกับผัดฟักทอง หรือ ข้าวกับผัดวุ้นเส้น เป็นต้น
3. งดกินน้ำตาลเกินจำเป็น
- เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ผลไม้หวานจัด น้ำหวาน น้ำอัดลม
4. เลือกผลไม้ชนิดที่ไม่หวานจัดในปริมาณที่เหมาะสม
5. ไม่ควรดื่มนมจืดเกิน 1 แก้วต่อวัน
- เนื่องจาก นมวัวมีน้ำตาลตามธรรมชาติเช่นเดียวกับนมไขมันต่ำพร่องมันเนย หรือนมไม่มีไขมัน
- ซึ่งลดเฉพาะปริมาณไขมันแต่มีน้ำตาลเหมือนเดิม
6. นมเปรี้ยวส่วนใหญ่จัดเป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณสูง
- จึงไม่ควรกินทุกวัน
นอกจากนี้ การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สามารถลดปริมาณการใช้ยาหรือการฉีดอินซูลินได้
- ควรออกกำลังกายที่ไม่ใช้แรงกระแทก หรือมีแรงกระแทกต่ำ เช่น เดิน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ หรือเลือกความหนักของการออกกำลังกายที่เหมาะสม
- หากมีอาการเหนื่อย ให้ลดความเร็วลงหรือหยุดพักแล้วค่อยเดินต่อ
- ไม่ควรเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว ไม่ควรเดินเท้าเปล่า
- เลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับการออกกำลังกาย
- หมั่นตรวจดูแลสุขภาพเท้าเป็นประจำ ไม่ให้เกิดแผล
- ไม่ควรออกกำลังกายในที่ร้อนจัดหรือชื้น
- ให้จิบน้ำเป็นระยะ ทุก 10 – 15 นาที
ย้ำ! ควรระวังระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วย “เบาหวาน“ ที่ใช้ยาฉีดอินซูลิน ควรมีระดับน้ำตาลในช่วง 100-250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หากมีบุคคลในครอบครัวเป็น
- โรคเบา หวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- หรือไขมันในเลือดสูง
- หรือผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
ให้ตระหนักตนเองว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบา หวาน จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ถือเป็นการเฝ้าระวังสุขภาพตนเองอีกทางหนึ่งด้วย
ข้อมูล : กรมอนามัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง