“ดร.นิว” ลุยเต็มสูบทวงคืน “ดาวเทียมไทยคม 9” จี้หนักรัฐต้องยึดผลประโยชน์ชาติไม่ใช่นายทุน

"ดร.นิว" ลุยเต็มสูบทวงคืน "ดาวเทียมไทยคม 9" จี้หนักรัฐต้องยึดผลประโยชน์ชาติไม่ใช่นายทุน

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว Suphanat Aphinyan มีเนื้อหาระบุเรื่องดาวเทียมไทยคม 9 ระบุว่า

 

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

 

“ดาวเทียมไทยคม 9 ที่ปวงชนชาวไทยต้องรู้จัก แม้ว่าดาวเทียมจะดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในความเป็นจริง การใช้งานเทคโนโลยีดาวเทียมอยู่ใกล้ตัวของเราทุกคนเป็นอย่างมาก จนอาจเรียกได้ว่า การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดเกี่ยวข้องกับดาวเทียมแทบทั้งสิ้น

กิจการดาวเทียมจึงมีความสำคัญอย่างมาก ในฐานะต้นน้ำธุรกิจการสื่อสารยุคปัจจุบัน ถ้ากิจการดาวเทียมกลับมาเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากค่าครองชีพด้านการสื่อสารจะถูกลง รัฐยังมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลอีกด้วย

ข่าวที่น่าสนใจ

แต่ทว่ากิจการดาวเทียมไทยพร้อมกับผลประโยชน์มหาศาล ตกอยู่ในกำมือของคนส่วนน้อยมาโดยตลอด แถมประชาชนก็ถูกปิดหูปิดตาจนรู้ข้อมูลข่าวสารน้อยมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่บริษัทเอกชนได้เตรียมดาวเทียมไทยคม 9 ไว้แล้ว
จากเว็บไซต์ nextspaceflight.com/launches/details/1984

พบการเผยแพร่ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการยิงดาวเทียมไทยคม 9 ขึ้นสู่วงโคจรภายใต้ชื่อ TCSTAR-1 โดยได้ระบุไว้คร่าวๆ ว่าจะมีการยิงขึ้นสู่วงโคจรในเดือนธันวาคม 2566
ทั้งนี้ เว็บไซต์ space.skyrocket.de/doc_sdat/tcstar-1.htm

ได้ยืนยันข้อมูลอีกทางหนึ่งด้วยว่าดาวเทียมไทยคม 9 (TCSTAR-1) เป็นดาวเทียมบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่จะมาแทนที่ดาวเทียมไทยคม 4 (IPSTAR-1) นั่นเอง

นี่หรือเปล่า? ที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนระบบสัมปทานดาวเทียมมาสู่ระบบใบอนุญาตสิทธิการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ตลอดจนเป็นที่มาของความต้องการในการเร่งรัดให้การประมูลเกิดขึ้นโดยเร็ว ในวันที่ 15 มกราคม 2566 นี้

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "ดาวเทียมไทยคม ดาว เทียม ยคม 9 (TCSTAR-1) ปวงชนชาวไทยต้องรู้จัก ≡ NEXT SPACEFLIGHT TCStar Status Thaicom 9, Synertone 2) TCSTAR-1 high-powered geostationary satellite applications ordered by Co. Ltd. a successor Launch Time NET December, 2023 TCStar-1 (Thaicom be broadband Thaicom subsidiary| Internationa IPStar Thaicom satellite. the satellite built CAST's DFH-4 platform will carry yload with throughput 53 gigabits large area East and South East Asia, Japan. per second cover including South be launched early 2018 the Chinese CZ-3B/G2 rocket."

 

ระบบใบอนุญาตจะเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชนยิ่งไปกว่าเดิม เพราะทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งดาวเทียม รวมถึงสิทธิในวงโคจรทั้งหมด จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทเอกชนโดยเด็ดขาด

อีกทั้งยังเปิดโอกาสทางธุรกิจให้บริษัทเอกชนกินรวบผลประโยชน์มหาศาล ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนร่วมกันหรือเปิดโอกาสให้ต่างชาติเช่าใช้วงโคจรดาวเทียม การใช้คลื่นความถี่ย่านที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง และอื่น ๆ อีกมากมาย

หากผู้ถืออำนาจรัฐนิ่งเฉย สื่อถูกกว้านซื้อเสียจนหมด เสียงประชาชนในโซเชียลมีเดียถูกปิดกั้น คนส่วนใหญ่ยังถูกปิดหูปิดตาจนขาดความตื่นรู้ในการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ก็ไม่รู้ว่าสุดท้ายปวงชนชาวไทยจะสามารถพึ่งใครได้?

เห็นได้ชัดแล้วว่า กสทช. รักษาผลประโยชน์ของปวงชนชาวไทยหรือบริษัทเอกชนกันแน่?
มันถึงเวลาแล้วที่ประชาชนต้องช่วยกันสร้างประชาธิปไตย ทำอำนาจอธิปไตยตลอดจนทรัพย์สมบัติชาติให้เป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง

#ยุทธการดับแผนโจรกรรมเหนือเมฆ”

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น