“อัษฎางค์” เปิดเบื้องลึกเพลงสรรเสริญฯ ฟาด 3 นิ้ว สุดย้อนแย้ง ที่แท้อยากเป็นปฏิปักษ์การปฏิวัติปชต.

"อัษฎางค์" เปิดเบื้องลึกเพลงสรรเสริญฯ ฟาด 3 นิ้ว สุดย้อนแย้ง ที่แท้อยากเป็นปฏิปักษ์การปฏิวัติปชต.

จากกรณีที่มีผู้เผยแพร่คลิปผู้เข้าชมคอนเสิร์ตแบล็คพิ้งก์ #BORNPINKinBANGKOK ได้ส่งเสียงโห่ไม่พอใจ ขณะบนเวทีเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี พร้อมข้อความ ‘โปรดยืนถวายความเคารพ’ ก่อนจะทำการแสดง จนต่อมาเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากมาย ทั้งเสียงที่ไม่พอใจ และเสียงที่เห็นด้วย ว่าวงแบล็คพิ้งก์ ได้ทำสิ่งที่น่าชื่นชม คือรู้กาลเทศะ และเคารพสถาบันฯ

ล่าสุดนายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ระบุถึงประเด็นนี้ด้วยว่า “ผู้ที่ริเริ่มให้มีการเปิดเพลงสรรเสริญบารมีก่อนการแสดงมหรสพคือ อ.ปรีดี, จอมพล ป และคณะราษฏร์ ตกลงพวกน้องๆ หนูๆ เป็นปฏิปักษ์ต่อกระบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยและปฏิรูปสังคมของคณะราษฏร์”

 

อัษฎางค์ ยมนาค ย้ำชัดๆ ม.112 คือเครื่องมือปกป้องสถาบัน ไม่ใช่กำจัดศัตรู

ข่าวที่น่าสนใจ

ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีเพลงสรรเสริญพระบารมีหรือ ?
ย้อนไปสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปีพ.ศ. 2414 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง “ก็อดเซฟเดอะคิง” ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของอังกฤษ บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 5 ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงเดียวกัน

ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ปรากฏมีชาวฮอลันดาซึ่งตั้งนิคมอยู่ที่นั้นถามถึงเพลงชาติของสยามเพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทยให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง “ก็อดเซฟเดอะคิง”

ความจริง เพลงสรรเสริญพระบารมีของไทยมีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว โดยใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จลงท้องพระโรงและเสด็จขึ้น มีชื่อเรียกว่า “สายสมร”

ต่อมาพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ใช้เพลงสายสมรมาเป็นเพลงดำเนินทำนองหลัก และเรียกชื่อเพลงนี้ใหม่ว่า “ศรีอยุธยา”, “สรรเสริญพระนารายณ์” แต่ในบ้างแหล่งระบุชื่อเพลงว่า “เสด็จออกขุนนาง”

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการใช้เพลง ก็อดเซฟเดอะคิง ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของสหราชอาณาจักร บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า “จอมราชจงเจริญ”

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 คณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414
ต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) (หรือครูมีแขก) ครูดนตรีคนสำคัญ ที่ได้ประดิษฐ์ทำนองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อราว พ.ศ. 2416 ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชภิเษกครั้งที่ 2 ได้ไม่นาน

ซึ่งได้เค้าทำนองมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของเก่า และได้เรียบเรียบเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตกโดยปิออตร์ ชูรอฟสกี นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431 เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น แต่เดิมเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมีมาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ขอบคุณข้อมูลวิกิพีเดีย

นอกจากนี้ท่านทูตพี่นิคเคยเล่าไว้ว่า…
ผู้ที่ริเริ่มให้มีการเปิดเพลงสรรเสริญบารมีก่อนการแสดงมหรสพ คือคณะราษฎร์ โดยเอาอย่างมาจากอังกฤษ โดย อ.ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ลงนามเมื่อ 4 สิงหาคม 2480 และบังคับใช้เป็นกฎหมายในปี 2485 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ทำให้ผมแปลกใจที่คนรุ่นใหม่สามกีบซึ่งนิยม, ยกย่องและเชิดชู อ.ปรีดี พนมยงค์และคณะราษฏร์ กลับต่อต้านสิ่งที่คณะราษฏร์โดยมี อ.ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายให้เปิดเพลงสรรเสริญบารมีทุกครั้งก่อนการแสดงมหรสพ

ตกลงคนรุ่นใหม่สามกีบต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์หรือต่อต้านอ.ปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฏร์ ซึ่งเป็นคณะเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นอย่างในปัจจุบัน ตกลงจุดยืนของพวกคุณคืออะไร เป็นปฏิปักษ์ต่อกระบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยและปฏิรูปสังคมของคณะราษฏร์”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เศรษฐา” ป้อง “นายกฯ” ชี้ปมอ่านโพย เพื่อกันความผิดพลาด ให้เกิดน้อยที่สุด
"CIB" เตือน "มิจฉาชีพ" สร้างเพจเฟซบุ๊ก-ไลน์ปลอม แอบอ้างหน่วยงาน ลวงปชช.สูญเงินจำนวนมาก
“บก.ลายจุด” ป้องเจ้าของปางช้างดังแม่แตง ย้ำไม่ได้เลี้ยงแบบสุดโต่ง ลั่นให้กำลังใจกันดีกว่า อย่ามัวแต่ตำหนิ
นิด้าโพล เปิดผลสำรวจ แม้ปชช.รับ ‘เงินหมื่น’ แต่ยังไม่แน่ใจ สมัยหน้าจะสนับสนุนรบ.หรือไม่
พรุ่งนี้ "นายกฯ" เข้าร่วมประชุมก.ตร. เคาะ "ผบ.ตร.คนใหม่" เปิดชื่อ 3 ตัวเต็ง ชิงเก้าอี้
"นายกฯ" เคลื่อนไหว แจงปมก้มหน้าอ่านไอแพด ประชุมผู้นำ ขอสังคมลดอคติลง
"หมอมามี" เล่าอีกมุมปมช่วยช้างแม่แตง ชี้การเข้าช่วยเหลือช้างประสบภัยติดข้อจำกัด
"กัญจนา" ขอมองข้ามดราม่า ปมช่วยเหลือช้างหนีน้ำท่วม ขอบคุณจิตอาสา ทีมแพทย์ กู้ภัยทุกหน่วย ร่วมใจทำภารกิจ
ทั่วไทยเจอมรสุม อีสานอากาศเย็น ลมหนาวเริ่มแล้ว 30 จังหวัดฝนถล่ม เสี่ยงท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
ความมั่นคงที่ควรเอาใจใส่ : ปกรณ์ นิลประพันธ์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น