ห้ามพลาด ชม “ดาวหาง” C/2022 E3 เข้าใกล้โลกในรอบ 50,000 ปี

ดาวหาง, ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF), ดาวพฤหัส, นักดาราศาสตร์, นาซา, กลุ่มดาวมังกร, จันทร์ดับ

ย้ำ วันนี้ห้ามพลาดชม "ดาวหาง" C/2022 E3 เข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 50,000 ปี อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ประเดิม “ดาวหาง” ดวงแรกของปี 2023 กับ C/2022 E3 ดาว หาง ที่ไม่เคยโคจรใกล้โลกมานานกว่า 50,000 ปี แต่ในวันที่ 1 ก.พ. นี้ ดาว หาง จะเข้าใกล้โลกมากที่สุด แนวโน้มมีความสว่างมากขึ้นจนอาจมองเห็นด้วยตาเปล่า ติตตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวดี! สายดูดาวมีเฮ หลังนักดาราศาสตร์ เผย “ดาวหาง” C/2022 E3 จะเคลื่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 50,000 ปี และมีแนวโน้มจะสว่างมากจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

โดยนักดาราศาสตร์เผยว่า C/2022 E3 (ZTF) กำลังจะเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 12 มกราคม และเข้าใกล้โลกมาที่สุดในวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ คาดว่าช่วงดังกล่าวดาว หางจะมีส่วนหางฟุ้งกระจายและส่องสว่างมากที่สุด ซึ่งหากสถานการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง อาจจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจาง ๆ ในท้องฟ้าที่มืด

ดาวหาง, ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF), ดาวพฤหัส, นักดาราศาสตร์, นาซา, กลุ่มดาวมังกร, จันทร์ดับ

ซึ่งรายงานของนาซาระบุว่า ผู้ที่อาศัยบริเวณซีกโลกเหนือ (รวมทั้งไทย) สามารถสังเกตได้ตั้งแต่ช่วงเช้า โดยดาว หางจะเคลื่อนจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จากนั้นดาว หางจะปรากฏให้ผู้สังเกตในซีกโลกใต้สังเกตได้ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสังเกตดาว หาง C/2022 E3 (ZTF) คือ วันที่ดวงจันทร์ไม่สว่างมาก ซึ่งในเดือนมกราคมนี้ วันที่จันทร์ดับจะตรงกับวันที่ 22 มกราคม ดังนั้น หากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ฟ้าเปิดและไม่มีเมฆบัง จะสามารถสังเกตเห็นดาว หางในช่วงเวลาดังกล่าวบริเวณกลุ่มดาวมังกร (Draco)

ดาวหาง, ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF), ดาวพฤหัส, นักดาราศาสตร์, นาซา, กลุ่มดาวมังกร, จันทร์ดับ

ดาว หางดวงนี้ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ แฟรงค์ มาสซิ (Frank Masci) แล ไบรซ์ โบลิน (Bryce Bolin) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมา ในหอดูดาว Palomar ใน Zwicky Transient Facility (ZTF)

ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการเครื่องยนต์ขับเคลื่อนไอพ่น (JPL) ขององค์การนาซา พบว่า ดาว หางดวงนี้มีคาบการโคจรประมาณ 50,000 ปี ในรูปแบบพาลาโบลา ซึ่งมายความว่า ครั้งสุดท้ายที่ดาว หาง ดวงนี้โคจรเข้ามายังระบบสุริยะชั้นในอยู่ในช่วงท้าย ๆ ของยุคหินเก่า (ช่วงที่มนุษย์ยุคแรกเริ่ม) อยู่อาศัยบนโลกในช่วงยุคน้ำแข็ง นั่นหมายความว่า การโคจรเข้าใกล้โลกในครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่มนุษย์ปัจจุบันจะได้เห็น

ดาวหาง, ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF), ดาวพฤหัส, นักดาราศาสตร์, นาซา, กลุ่มดาวมังกร, จันทร์ดับ

อย่างไรก็ตาม ความสว่างของดาว หางเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ยาก เพราะ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และหลายครั้งที่ดาว หางมีความสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่สุดท้ายก็ยังไม่เพียงพอที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ อย่างไรก็ตาม นับว่ายังมีจังหวะนานหลายวันที่จะสังเกตเห็นผ่านกล้องโทรทรรศน์ในช่วงปลายเดือนมกราคม-ต้นกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023

ทั้งนี้ สำหรับใครที่พลาดไปจริง ๆ ไม่ต้องเสียใจไป สามารถชมได้อีกครั้งในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เนื่องจาก ดาว หางจะเข้าใกล้ดาวอังคาร แต่อาจมองได้ค่อนข้างลำบาก แนะนำให้ชมวันที่ 1 กุมภาพันธุ์นี้ดีที่สุด!

ข้อมูล : space และ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สพฐ. จับมือผู้บริหารเขตพื้นที่ชายแดนใต้ ขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุก ร่วมใจสร้างคุณภาพทุกห้องเรียน
"สรวงศ์" ลุยแก้ปัญหา "เกาะกูด" ดึงนทท.ต่างชาติ ระดับไฮเอนด์ กระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่
ส่องเงินรางวัล "โอปอล สุชาตา" หลังคว้ารองอันดับ 3 เวที Miss Universe 2024
เปิดจำนวนเงินรางวัล "Miss Universe 2024" หลังสาวงามเดนมาร์ก คว้ามงกุฎไปครอง
“บิ๊กโจ๊ก-เสรีพิศุทธ์” ให้การป.ป.ช. ลือสนั่น คดีช้้น 14 มีมูล จ่อเอาผิดกราวรูด
"กิตติรัตน์" เคลื่อนไหวแล้ว โพสต์ทุกเสียงค้านคือเครื่องเตือนใจ ให้ปฏิบัติดี
“รับน้องขึ้นดอย” นศ.โชว์สปิริตฝ่า “โค้งขุนกัณฑ์” พร้อมเพรียงสุดขนลุก!
เล่นผิดคนแล้ว “กัน จอมพลัง” ดับซ่าส์ “โล้นปีนเสา” แจ้งความจับคาผ้าเหลือง
"พิชัย" นำทีมเจรจา Google ขยายลงทุน คุย Walmart เปิดโอกาสสินค้าไทยวางขายเพิ่ม
สุดห่วง "สามี" วอนช่วยตามหา "ภรรยา" หายตัวปริศนา หลังเครียดสูญเงินลงทุน “ดิไอคอน” นับแสนบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น