จบไว กสทช.ประมูลวงโคจรดาวเทียม เอกชนเคาะซื้อ 3 ชุดรวด เงินเข้ารัฐ 800 ล้าน

จบไว กสทช.ประมูลวงโคจรดาวเทียม เอกชนเคาะซื้อ 3 ชุดรวด เงินเข้ารัฐ 800 ล้าน

กสทช.จัดประมูลดาวเทียมให้ใช้สิทธิเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมครั้งแรกของไทยจบเร็ว เอกชนเคาะซื้อ 3 ชุดรวดเดียว เงินเข้ารัฐกว่า 800 ล้านบาท

 

 

15 ม.ค.2566 ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ( สำนักงาน กสทช.) จัดประมูลการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ในลักษณะจัดชุด (Package) โดยมีคณะกรรมการ กสทช. 5 ราย คือ ศาสตราจารย์คลินิก สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ประธาน กสทช.) พลอากาศโท ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ ศาสตราจารย์ พิรงรอง รามสูต รองศาสตราจารย์ ศุภัช ศุภชลาศัย และ พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะสุนทร

ขณะที่ตัวเเทนผู้บริหารจาก 3 บริษัทที่เข้าประมูล ได้เริ่มทยอยมาถึงสำนักงาน กสทช. ตั้งแต่เวลา 7.30 น.โดยผู้บริหารบริษัทแรกที่มาถึง คือ สเปซเทคอินโนเวชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยคม โดยมีนายปฐมภพ สุวรรณศิริ นำทีม ตามด้วยผู้บริหาร บริษัท พร้อมเทคนิคอล และบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT ) นำโดยนายสรรพชัยย์ หุวะนันท์ กรรมการผูัจัดการใหญ่ NT ทำให้บรรยากาศที่สำนักงานกสทช.เป็นไปอย่างคึกคัก

ข่าวที่น่าสนใจ

จากนั้นในเวลา 14.00 น. ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พร้อมด้วย คณะกรรมการ กสทช. ร่วมแถลงข่าวการประมูลสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) ว่า ผลการประมูลสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะการจัดชุดหรือ package ตามประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด โดยมีลำดับการประมูลจากข่ายงานดาวเทียมชุดที่ 4 ชุดที่ 3 ชุดที่ 5 ชุดที่ 2 และชุดที่ 1 ตามที่ได้มีการจับฉลาก โดยการประมูลเริ่มต้นเมื่อเวลา 10:00 น. และได้สิ้นสุดลงเมื่อเวลา 11:36 น. ซึ่งใช้เวลาในการประมูลรวมทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 36 นาที ไม่รวมเวลาหยุดพักการประมูลและมีราคาประมูลรวมของชุดข่ายงานดาวเทียมจำนวน 3 ชุดขายงานดาวเทียมเป็นเงิน 806,502,650 บาท

 

ทั้งนี้มีผู้ชนะการประมูลในแต่ละชุดข่ายงานดาวเทียมประกอบด้วย ชุดที่ 4 วงโคจรที่ 126E ราคาขั้นต่ำที่ 8,644,000 บาท และขั้นราคา (ประมูล) 432,200 บาท เริ่มประมูลเวลา 10:00 น. จบการประมูล เวลา 10:02 น. โดยผลการประมูลจบใน 2 นาที มีผู้ประสงค์ 1 ราย ปิดราคาที่ 9,076,200 บาท ผู้ชนะการประมูล คือ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ส่วนชุดที่ 3 วงโคจรที่ 119.5E และ 120E ราคาขั้นต่ำที่ 397,532,000 บาท และขั้นราคา (ประมูล) 19,876,600 บาท เริ่มประมูลเวลา 10:15 น. จบการประมูลเวลา 10:21 น. โดยผลการประมูลจบใน 6 นาที มีผู้ประสง 1 ราย ปิดราคาที่ 417,408,600 บาท ผู้ชนะคือ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด ในเครือ THCOM

 

ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวต่อว่า ชุดที่ 5 วงโคจรที่ 142E ราคาขั้นต่ำที่ 189,385,000 บาท และขั้นราคา (ประมูล) 9,469,250 บาท เริ่มประมูลเวลา 10:40 น. ผลการประมูลพบว่าไม่มีผู้ประสงค์เสนอราคาการประมูล

 

ชุดที่ 2 วงโคจรที่ 785E ราคาขั้นต่ำาที่ 360,017,000 บาท และขั้นราคา (ประมูล) 18,000,850 บาท โดยครอบคลุมพื้นที่ประเทศพม่า และอินเดีย เริ่มประมูลเวลา 11:00 น. จบการประมูลเวลา 11:16 น. มีผู้ประสง 2 ราย ประมูลจำนวน 2 รอบ ปิดราคาที่ 380,017,850 บาท ผู้ชนะคือ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด ในเครือ THCOM

 

ชุดที่ 1 โคจรที่ 50.5E และ 51E ราคาขั้นต่ำที่ 374,156,000 บาท และขั้นราคา (ประมูล) 18,700,800 บาท โดยมี เงื่อนไขว่าจะต้องขึ้นใช้งานดาวเทียมภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 โดยวงโคจรนี้ครอบคุลมพื้นที่ประเทศอาหรับ เริ่มประมูลเวลา 11:30 น. ผลการประมูลพบว่าไม่มีผู้ประสงค์เสนอราคาการประมูล

ทั้งนี้คณะกรรมการ กสทช ขอประกาศผลการประมูลสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุดและขอประกาศให้การประมูลสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุดสิ้นสุดลง

ด้านพลอากาศโท ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ ระบุว่า ในส่วนของชุดวงโคจรที่ไม่มีผู้ประมูล คือ ชุดที่ 1 และ5 คณะกรรมการ กสทช. จะมีการหารือร่วมกันอีกครั้งว่าจะมีแนวทางการดำเนินการอย่างไรต่อไป ขณะที่ภาพรวมการประมูลวันนี้นั้น เป็นไปด้วยความราบรื่น และจากวัตถุประสงค์หลักในการปรับมูล คือการรักษาไว้ซึ่งสิทธิของวงโคจรดาวเทียม ดังนั้นภาพรวมวงโคจรที่มีอยู่ 5 ชุดแต่ กสทช.สามารถเปิดประมูลได้ถึงชุด คิดเป็น 60% และยังเหลือ40% ที่ทางสำนักงานจะต้องนำไปปรึกษาหารือว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

 

ผู้สื่อข่าวได้ถามถึงกรณีที่ประชาชนกังวลในเรื่องของความมั่นคงของประเทศ หากให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ พลอากาศโท ธนพันธุ์ ยืนยันว่า ในเรื่องของความมั่นคงนั้นคณะกรรมการกสทช.ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จะเห็นได้จากในร่างประกาศหลักเกณฑ์ กสทช.ได้ให้หน่วยงานรัฐใช้งานฟรีอย่างน้อย 1 พันสปอนเดอร์ หรือบอร์ดแบนด์ 400 เมกกะบิทเพอเซกกัน เมื่อเทียบกับระบบสัมปทานให้เพียง 1 พันสปอนเดอร์ต่อ 1 สัมปทาน จะเห็นได้ว่า ในการประมูลครั้งนี้ มีถึง 3 วงโคจร

 

 

ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐจะได้ช่องทางที่เพิ่มขึ้น ต่อมาคือคณะกรรมการอวกาศแห่งชาติได้ให้ความสำคัญกับวงโคจร 119.5 องศาตะวันออก ซึ่งหากหน่วยงานภาครัฐต้องการที่จะใช้วงโคจรดังกล่าวสามารถที่จะเข้าใช้งานได้ รวมไปถึงการจัดตั้งเกตเวย์เพื่อควบคุมดูแลการใช้งานของรัฐและเอกชนที่ต้องแยกออกจากกัน แต่จะต้องมีค่าใช้จ่ายให้เอกชนที่ได้ใบอนุญาตด้วย

 

 

 

 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม มองว่าการประมูลครั้งนี้เป็นการประมูลดาวเทียมครั้งแรก และถือเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานมาเป็นระบบใบอนุญาต ซึ่งการประมูลครั้งนี้ทำให้เกิดผู้เล่นใหม่ในตลาดเกิดขึ้นจากเดิมที่มีแค่บริษัทไทยคมเพียงเจ้าเดียว เป็นผู้เล่น 2 เจ้า และเชื่อว่า การเปลี่ยนผ่านทำให้ตลาดเกิดผู้เล่นรายใหม่ ในการสร้างและส่งดาวเทียมรวมถึงมาให้บริการแก่ประชาชนและประเทศได้ ส่วนเรื่องการแข่งขันต้องขึ้นอยู่กับภาคอุตสาหกรรมในการดำเนินการ ยืนยันว่า การประมูลครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนระบบสัมปทานแบบผูกขาดเจ้าเดียว ทำให้มีผู้เล่นมากขึ้น ประชาชนจะได้ประโยชน์ได้รับบริการที่หลากหลายและมีคุณภาพมากขึ้น

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบดำเนินคดี “กลุ่มน้ำไม่อาบ” ทุกมิติ พร้อมเอาผิดตามหลักฐานคลิปที่ปรากฏ
ขุนเขา ‘ฮว่าซาน’ ่ของจีนสวยสะกดยามห่มหิมะขาว
ทหารพรานจัดกำลังตรวจค้นเก็บกู้บ่วงดักสัตว์ป่า
ผลักดัน ! แรงงานต่างด้าวมากกว่า 100 ราย ออกนอกประเทศ หวั่นเกรงมาสร้างความวุ่นวายในพื้นที่
เมืองคอนน้ำท่วมหนักหลายพื้นที่ หากผลไม่หยุดตกคืนนี้ตัวเมืองอ่วมอรทัยแน่นอน-ในเบื้องต้นนายอำเภอ,นายกเล็กฯจับมือศูนย์ข่าวนคร 24 ชั่วโมงสมาคมสื่อมวลชนและชมรมรถจิ๊ปลุยช่วยชาวบ้านแล้ว-เรียกร้องเจ้าพนักงานที่ดินเด้งตรวจสอบนายทุนถมลำคลองปิดกั้นทางน้ำว่าออกโฉนดที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โซเชียลถามกลับ “พรรคส้ม” รู้ยังมีทหารไว้ทำไม? หลังเกิดเหตุการณ์ "กลุ่มว้าแดงและทหารไทย"
ผบ.สอ.รฝ.ประดับเครื่องหมายเลื่อนยศ นักรบต่อสู้อากาศยาน 46 นาย
‘สามารถ’ คอตกศาลไม่ให้ประกัน เตรียมส่งเข้าเรือนจำ ส่วน ‘แม่’ วางเงิน 5 แสนบาท ได้รับปล่อยตัว
"กองทัพภาคที่ 3" แถลงข่าวแจงพื้นที่ "กองกำลังว้าแดง" ตั้งฐานปฏิบัติการลุกล้ำไทย ยังไม่มีการสำรวจ หรือปักปันเขตแดน
ตึงเครียด! “ว้าแดง” บุกประชิดชายแดนไทย “บิ๊กอ้วน” พูดแล้ว รบ-ไม่รบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น