ร่วมสร้าง “ระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิต” สลายปัญหาการศึกษาไทย

“ปกรณ์ นิลประพันธ์” ชูธงร่วมสร้าง "ระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิต" สลายปัญหาเด็กหลุดนอกระบบ ชี้ช่องดูแล “เยาวชนแรงงาน” ผนึกเครือข่ายแรงงานและวิสาหกิจเพื่อสังคมให้ความรู้ทางธุรกิจผุดแพลตฟอร์มบริการชุมชน ปั้น “ช่างชุมชน” - “นักธุรกิจชุมชน” มีงานมีรายได้และทักษะใหม่ ก้าวทันการจ้างงานในอนาคตฝ่าข้ามเศรษฐกิจเปราะบาง พร้อมหนุน “กสศ.” ขยายผล "ครูรักษ์ถิ่น" สนับสนุน "ครูช้างเผือก" มีจิตวิญญาณความเป็นครู กล้าคิดนอกกรอบ เก่งเชื่อมโยงความรู้ในและนอกห้องเรียนมาร่วมสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาแก่เด็กไทย

นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาและอดีตกรรมการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา(กอปศ.) เปิดเผยว่าแนวทางการสลายปัญหาเด็กและเยาวชนหลุดนอกระบบการศึกษา หลักการสำคัญ คือ ต้องร่วมสร้าง “ระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิต” หรือ Lifelong Learning Ecosystem ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาแบบ “ไร้รอยต่อ” สู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการ “พัฒนาคน” ให้มีทักษะที่หลากหลาย หรือ Multi-skill เพื่อฝ่าข้ามเศรษฐกิจเปราะบางและก้าวทันการจ้างงานในอนาคต เนื่องจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์อาจเข้ามาทดแทนแรงงานคน , สถานการณ์ โควิด-19 ยังคงยืดเยื้อ และ โรงงานอุตสาหกรรมเริ่มจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาทดแทนแรงงานไทยเนื่องจากอัตราค่าจ้างต่ำกว่า

ตัวอย่างเช่น “เยาวชนแรงงาน” ในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ต้องส่งเสริมการสร้าง “เครือข่ายวิสาหกิจเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise ให้เข้ามาร่วมสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายสำคัญ 3 เรื่อง ดังนี้ 1.ส่งเสริมความรู้ทางธุรกิจ Service Mind ถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริการ และ Service provider ที่ผู้ให้บริการ (เยาวชนแรงงาน) ต้องรู้จักดูแลเอาใจใส่ลูกค้า ตัวอย่างเช่น การให้บริการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ น้อง ๆ จะได้รับค่าจ่ายเพียงครั้งเดียวแต่ถ้าน้อง ๆ รู้จัก “ทำบัญชีลูกค้า” ว่า แอร์แต่ละเครื่องที่ติดตั้งให้ลูกค้าแต่ละคนถึงรอบการรับบริการล้างแอร์เมื่อไร จากนั้นสื่อสารไปสอบถามลูกค้าว่ายินดีรับบริการล้างแอร์หรือไม่ หรือ จัดโปรโมชั่น เช่น ล้างแอร์ครั้งแรก คิดราคา 500 บาท ครั้งที่ 2 คิดราคา 400 บาท และถ้าเป็นลูกค้าประจำอาจลดราคาถูกลงกว่านี้ก็ได้ หรือ หากมีความร่วมมือร่วมกันระหว่างสหภาพแรงงาน กับโรงงาน ด้วยการการขอซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ หรือ ปั้มน้ำ ในราคาหน้าโรงงานจาก “ไฮเออร์” หรือ “ฮิตาชิ” ที่เยาวชนแรงงานทำงานอยู่มารับจ้างติดตั้งประกอบแอร์บ้าน หรือ ติดตั้งปั๊มน้ำ ถือเป็นการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ Corporate Social Responsibility (CSR)อีกด้วย

2.ส่งเสริมแพลตฟอร์มการบริการชุมชน โดยมีฐานข้อมูลเยาวชนแรงงานแต่ละคนมีความถนัดทักษะอาชีพที่แตกต่างและหลากหลายโดยนำข้อมูลเหล่านั้นมาแบ่งปันร่วมกัน ทั้งในชุมชนหรือระหว่างชุมชน อาทิ ข้อมูล “ช่างชุมชน” เช่น ช่างแอร์ ช่างประปา ช่างไฟฟ้า หรือ “นักธุรกิจชุมชน” เช่น อาหารเครื่องดื่มเบเกอรี่ เป็นต้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และ 3.พัฒนาทักษะอาชีพ Upskill และ Reskill เนื่องจากในเขตนิคมอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี เป็นแหล่งที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสินค้าที่หลากหลาย เช่น ไฮเออร์ และ ฮิตาชิ ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องปรับอากาศ , ปั้มน้ำ , เครื่องซักผ้า , ตู้เย็น เป็นต้น จึงควรส่งเสริมให้เยาวชนแรงงานได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพเสริมระหว่างทำงานประจำในโรงงาน เป็น “ช่างชุมชน” เช่น ช่างแอร์ ช่างประปา หรือ ช่างไฟฟ้า เป็นต้น

ทั้งนี้ที่ผ่านมาการทำงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท เป็นที่น่าพอใจ และ ควรขยายผลความสำเร็จโครงการ “ครูรักษ์ถิ่น” อย่างต่อเนื่อง และ ควรส่งเสริม “ครูช้างเผือกที่มีคุณสมบัติเป็นครูในระบบโรงเรียนที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความรอบรู้และเข้าใจความงดงามในตัวเด็กว่าแต่ละคนมีความเก่งและทักษะความถนัดแตกต่างกัน โดยที่ครูคนนั้นสามารถส่งเสริมและพัฒนาเด็กไปในทิศทางที่เหมาะสมได้ และ เป็นครูที่มีความกล้าคิดนอกกรอบสามารถเชื่อมโยงพื้นที่แหล่งการเรียนและการศึกษา ทั้งในและนอกโรงเรียนได้อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น วิชาดาราศาสตร์ ถ้าคิดแบบเดิมครูผู้สอนจะเรียกร้องของบประมาณจัดซื้อกล้องดูดาวก่อนถึงจะสอนวิชาดังกล่าวได้ แต่หากกล้าคิดนอกกรอบ เช่น จัดทัศนศึกษาพานักเรียนไปหอดูดาว หรือ พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการ “สร้างครู” ทาง กสศ. ย่อมมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ของ บอร์ด กสศ. ในการหาทางออก เช่น อาจไปขอความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ เพราะการ “สร้างครู” นับเป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา นอกเหนือจากการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนผ่านทุนสร้างโอกาสต่าง ๆ ที่ทาง กสศ.ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ทาง กสศ. จึงควรสนับสนุนครูที่ดีมีจิตใจรักความเป็นครูที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ด้วยระบบดั้งเดิมและอุปสรรคบางอย่างทำให้ครูที่ดีถูกดึงออกนอกห้องเรียนมากกว่าอยู่ในห้องเรียน จนไม่สามารถแสดงศักยภาพความเป็นครูได้อย่างเต็มที่

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดตัว "TKR Connect" แพลตฟอร์มจัดหางานครบวงจร สร้างมิติใหม่รองรับแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกม.
ออกหมายจับ "หมอบุญ" พร้อมพวกรวม 9 คน “ฉ้อโกง-ฟอกเงิน” ปลอมลายเซ็นอดีตลูกสะใภ้กู้เงิน 8 พันล้าน
ระทึกกลางดึก ไฟไหม้ "ร้านกาแฟ" เผาวอดทั้งหลัง เสียหายกว่า 7 แสนบาท
"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น