“เคที” ดิ้นไม่จ่ายหนี้ BTS ยื่นศาลปกครองโยนผิดสัญญาจ้าง

"เคที" ดิ้นไม่จ่ายหนี้ BTS ยื่นศาลปกครองโยนผิดสัญญาจ้าง

ตามต่อเนื่องกับประเด็นใหญ่ เรื่องขั้นตอนการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลปกครอง ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC กับกรุงเทพมหานคร(กทม.) และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ “เคที”

ขณะที่ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ได้ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว TOPNEWS ถึงปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า ภาระหนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ขณะนี้มีตัวเลขกว่า 40,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนของสัญญาจ้างเดินรถที่มีด้วยกัน 2 สัญญา คือ ส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 รวมเป็นเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท และ ในส่วนของค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลอีก 20,000 ล้านบาท

โดยในส่วนของสัญญาจ้างเดินรถนั้น ทาง BTSC ได้มีการยื่นฟ้องศาลปกครองกลางไปเมื่อประมาณปี 2564 และศาลปกครองกลางได้มีการตัดสินให้กรุงเทพมหานครและกรุงเทพธนาคม ร่วมกันชำระหนี้ก้อนดังกล่าว ภายในเวลา 180 วัน หลังจากมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งภาระหนี้ก้อนแรกอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยไม่นับรวมในส่วนของอัตราดอกเบี้ย ที่ยังคงเคลื่อนไหวเพิ่มเติมทุกวัน

และไม่นานมานี้ ยังมีการฟ้องเพิ่มเติม ในส่วนของค่าจ้างเดินรถ และ ค่าติดตั้งระบบไฟฟ้า และเครื่องกล วงเงินกว่า 11,000 ล้านบาท โดยเป็นการยื่นฟ้องเพิ่ม ตามหน้าที่ของบริษัท เพราะเมื่อมียอดหนี้เพิ่มขึ้นมา ในช่วงเดือนมิ.ย. 2564 – ต.ค. 2565 บริษัทมีหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้น ในการติดตามทวงถามหนี้ค้างจ่าย และเมื่อทวงถามไม่ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง

ส่วนความคืบหน้าการทวงถามมูลหนี้กว่า 20,000 ล้านบาท ตามคำพิพากษาศาลปกครอง นายสุรพงษ์ ระบุว่า สำหรับหนี้ก้อนแรกที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้กทม.และบริษัทกรุงเทพธนาคม ดำเนินการชำระให้กับ BTSC ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารเอกสารทั้งหมด ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก และที่ผ่านมาได้มีการทวงถามทางด้านบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ KT ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับคำตอบใดๆ ซึ่งสุดท้าทางบริษัทอาจจะต้องแยกประเด็นยื่นฟ้องศาลเพื่อบังคับให้ชำระหนี้หรือไม่ ยังไม่แน่ใจ เพราะอยู่ในส่วนของขั้นตอนการพิจารณาและเตรียมเอกสารทั้งหมด

อย่างไรก็ตามมีจุดน่าสังเกตุว่า ทางกรุงเทพธนาคม หรือ เคที ได้แสดงจุดยืนคัดค้าน ปัญหาภาระหนี้สินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาโดยตลอด ทั้งที่้ BTSC เป็นฝ่ายรับภาวะต้นทุนการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ไว้ทั้งหมด ตั้งแต่เงินทุนดำเนินการ ซ่อมบำรุง รวมอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น มูลค่ารวม 4 หมื่นล้านบาท มานานถึง 4 ปี อาทิ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

วันที่ 14 ธ.ค.65 นายประแสง มงคลศิริ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด วิพากษ์วิจารณ์การที่ผู้บริหาร BTS ประกาศทวงหนี้ตามสัญญาค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า เป็นเรื่องไม่ควรปฏิบัติ เพราะศาลชั้นต้นมีคำแนะนำให้คู่ความ 2 ฝ่ายเจรจาไกล่เกลี่ยกัน

พร้อมอ้างวิงวอนให้ BTSC 1.ยุติการนำคดีพิพาทที่ศาลสูงสุดกำลังพิจารณา ไปดำเนินการเรียกร้องให้ชำหนี้ในทันที 2. หยุดสร้างประเด็นผ่านสื่อด้วยข้อมูลที่ยังไม่มีข้อยุติจากศาล และ 3.ควรรักษาบรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันในฐานะคู่ค้าทางธุรกิจ

ไม่เท่านั้น ล่าสุด วันนี้(16 ม.ค.66) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ยังออกเอกสารแจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด โดยศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ มีมติอนุมัติให้ทนายความตัวแทนของบริษัทฯ เข้ายื่นคำให้การต่อศาลปกครองในคดีที่ 2 ซึ่งบริษัท BTSC ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร (กทม.) และกรุงเทพธนาคม เพื่อให้ชำระหนี้ค่าเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย เป็นจำนวนเงิน 10,600 ล้านบาท โดยอ้างว่าคำให้การ แสดงให้เห็นข้อเท็จจริง เรื่อง การจัดทำสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

1. สัญญาระหว่างบริษัทฯ กับบีทีเอสนั้น นำมาสู่ข้อพิพาทระหว่างบริษัทเอกชนด้วยกัน ไม่ได้มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

2. บริษัทฯ ไม่มีอำนาจเข้าทำสัญญาว่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง เพราะตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ลงวันที่ 25 ม.ค.2515 ในข้อ 4 ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการรถราง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รมว.มท.) เท่านั้น เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้บุคคลใดประกอบกิจการได้ ทั้งนี้บริษัทฯ ก็ไม่เคยได้รับการอนุญาตจาก รมว.มท.

 

3. สัญญาจ้างที่บริษัทฯ กระทำกับบีทีเอสเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ เพราะจงใจจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์แห่งสัญญาที่ฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี ขัดต่อกฎหมายหลายฉบับ ทำให้บริษัทฯ ไม่มีอำนาจนำเอางานที่รับจ้างกรุงเทพมหานครไปทำสัญญาจ้างกับบุคคลอื่นตามอำเภอใจได้

4. การที่บริษัทฯ ไปทำสัญญาว่าจ้างบีทีเอสให้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวโดยตรง โดยไม่ได้เปิดโอกาสให้เอกชนรายอื่น ย่อมส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะและขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอีกด้วย สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ

5. การฟ้องคดีของบีทีเอสในคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เพราะบีทีเอสทราบดีอยู่แล้ว ว่าบริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 ได้ด้วยตนเอง

ไม่เท่านั้น นายประแสง มงคลศิริ กรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ยังระบุว่า คำให้การในคดีที่ 2 นี้ มีความสมบูรณ์กว่าในคดีแรก ซึ่งศาลได้ปิดสำนวนไปในช่วงที่ผู้บริหาร “ดังนั้น เราจึงเชื่อมั่นว่าศาลท่านจะมีข้อเท็จจริงครบถ้วนมากขึ้น ในการพิจารณาคดี ที่ 2 นี้ ส่วนผลคดีจะเป็นอย่างไรนั้น อยู่ที่อำนาจของศาล”

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อิสราเอลประกาศล่าน้องชายผู้นำฮามาส
"ปปง." ขุดรากถอนโคน อายัดทรัพย์สินบอส “ดิ ไอคอน กรุ๊ป” เพิ่ม 1.5 ล้านบาท
โซเชียลขุดอีก ‘ดิไอคอน’ ไม่ใช่ที่แรกของ ‘บอสมิน’ เผยเคยทำธุรกิจขายตรงบริษัทอื่นมาก่อน
"วราวุธ" ส่งทีม ศรส.แก้ปัญหา จัดระเบียบ "คนไร้บ้าน-ขอทาน"
"พิพัฒน์"เดินหน้าส่งเสริมแรงงานอิสระ ปลื้มชาวอ่างทอง รายได้เฉลี่ยเพิ่มกว่า 5 พันบาท
“ทนายเดชา” มอบ “ทนายกุ้ง” แจ้งเอาผิด พระว.วชิรเมธี ฐานสนับสนุน ฉ้อโกงปชช.
Skypark Lecean Jomtien Pattaya คอนโดหรูวิวทะเลใกล้หาดจอมเทียน Branded Residences หนึ่งเดียวในพัทยา เครือ Banyan Group จัดงาน Mega Deal ที่ เมกาบางนา ชั้น 1 โซนหน้า HomePro วันที่ 25-31 ต.ค.นี้
สคช. วอนอย่ามองขายตรง เป็นแชร์ลูกโซ่! เตือนผู้บริโภคให้รู้เท่าทันใช้มาตรฐานอาชีพในการคัดกรอง
“พิพัฒน์” ลุยอ่างทอง หนุนแรงงานอิสระอบรม 5 หลังสูตร ต่อยอดอาชีพสร้างรายได้
ปคบ.ยื่นหนังสือถึงอสส.ขออัยการ เข้าร่วมปรึกษาคดี "ดิไอคอน"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น