เปิดข้อกม.สวน KT ผ่านกว่า 3 ปี เพิ่งร้องจ้าง BTS มิชอบ

เปิดข้อกม.สวน KT ผ่านกว่า 3 ปี เพิ่งร้องจ้าง BTS มิชอบ

สืบเนื่องจากการที่ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ออกเอกสารแจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ โดยศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ มีมติอนุมัติให้ทนายความตัวแทนของบริษัทฯ เข้ายื่นคำให้การต่อศาลปกครองในคดีที่ 2 ซึ่งบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เพื่อให้ชำระหนี้ค่าเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย เป็นจำนวนเงิน 10,600 ล้านบาท โดยอ้างว่าคำให้การ แสดงให้เห็นข้อเท็จจริง เรื่องการจัดทำสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยเฉพาะประเด็นสำคัญ ๆ โดยการอ้างว่าสัญญาว่าจ้างเกิดขึ้นโดยไม่ถูกต้อง ประกอบด้วย

 

1. สัญญาระหว่างบริษัทฯ กับบีทีเอสนั้น นำมาสู่ข้อพิพาทระหว่างบริษัทเอกชนด้วยกัน ไม่ได้มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

2. สัญญาจ้างที่บริษัทฯ กระทำกับบีทีเอสเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ เพราะจงใจจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์แห่งสัญญาที่ฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี ขัดต่อกฎหมายหลายฉบับ ทำให้บริษัทฯ ไม่มีอำนาจนำเอางานที่รับจ้างกรุงเทพมหานครไปทำสัญญาจ้างกับบุคคลอื่นตามอำเภอใจได้

3. การที่บริษัทฯ ไปทำสัญญาว่าจ้างบีทีเอสให้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวโดยตรง โดยไม่ได้เปิดโอกาสให้เอกชนรายอื่น ย่อมส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะและขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอีกด้วย สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ

ข่าวที่น่าสนใจ

ไม่เท่านั้น นายประแสง มงคลศิริ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ยังระบุว่า คำให้การในคดีที่ 2 นี้ มีความสมบูรณ์กว่าในคดีแรก ซึ่งศาลได้ปิดสำนวนไปในช่วงที่ผู้บริหาร “ดังนั้น เราจึงเชื่อมั่นว่าศาลท่านจะมีข้อเท็จจริงครบถ้วนมากขึ้น ในการพิจารณาคดี ที่ 2 นี้ ส่วนผลคดีจะเป็นอย่างไรนั้น อยู่ที่อำนาจของศาล”

อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนกลับไปพบว่า นอกจากประเด็นปัญหาภาระหนี้สิน ระหว่าง BTSC จะค้างชำระมานานกว่า 3 ปี แล้ว กรณีการว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ยังเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลักว่าด้วยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 3/2562 ออก ณ วันที่ 11 เมษายน 2562 เรื่องการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ระบุชัดเจน “ระบบจัดการบริการขนส่งสาธารณะโดยรถไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-แบริ่ง ช่วงบางหว้า-สนามกีฬาแห่งชาติ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ยังมีปัญหาในการบูรณาการ ทั้งเรื่องการบริหารจัดการโครงการ และการบริหารจัดการสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถไฟฟ้าที่ยังไม่มีความเป็นเอกภาพ จำเป็นต้องมีมาตรการแก้ไขปัญหาเพื่อให้การเดินรถเป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation) อำนวยความสะดวกสบายในการเดินทางของประชาชนผู้โดยสาร และมีการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรม และไม่เป็นภาระแก่ประชาชน เพื่อให้การเข้าถึงการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนเป็นไปอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง อันจะเป็นประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพต่อระบบคมนาคมขนส่งและระบบเศรษฐกิจของประเทศ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ประกอบด้วยประเด็นสำคัญ คือ

1. ให้กรุงเทพมหานครดำเนินการจ้างผู้ประกอบการเอกชนเพื่อติดตั้งระบบรถไฟฟ้าจัดการเดินรถไฟฟ้า และบริหารการเดินรถไฟฟ้าโครงการส่วนต่อขยายที่ 2 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อแก้ปัญหาการจราจรและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยคำนึงถึงการให้ประชาชนได้ใช้บริการรถไฟฟ้าโดยเร็ว สะดวก และประหยัดค่าโดยสาร รวมทั้งเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเดินรถเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้ากับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวและโครงการส่วนต่อขยายที่ 1

2. เพื่อให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โครงการส่วนต่อขยายที่ 1 และโครงการส่วนต่อขยายที่ 2 สำมารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation) รวมทั้งอัตราค่าโดยสารเป็นไปอย่างเหมาะสม ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้อำนวยกาสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและด้านระบบรถไฟฟ้า ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งด้านละหนึ่งคนเป็นกรรมการ และปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการ

3. ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสาร รวมถึงหลักเกณฑ์อื่นเพื่อประโยชน์ในการรวมโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โครงการส่วนต่อขยายที่ 1 และโครงการส่วนต่อขยายที่ 2 และดำเนินการเจรจาร่วมกับผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการจนได้ข้อยุติตามวรรคสองแล้ว ให้ดำเนินการแก้ไขสัญญาสัมปทานกับผู้รับสัมปทานดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันในการดำเนินการตามวรรคสองและวรรคสาม ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประโยชน์สูงสุด ต่อประชำชนหรือผู้ใช้บริการ ความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้บริการ การประหยัดค่าโดยสาร และการแบ่งปันผลประโยชน์ต่อภาครัฐอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

4. ในกรณีที่คณะกรรมการไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ 3 ให้กระทรวงมหาดไทยรายงานสาเหตุและผลการดำเนินการไปยังนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรี อาจพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาออกไปตามที่เห็นสมควรก็ได้

5. ในกรณีที่มีการดำเนินการตามแล้วแต่กรณี จนได้ผลการเจรจาเป็นที่ยุติ และร่างสัญญาร่วมลงทุนฉบับแก้ไขแล้ว ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการ่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ในส่วนของการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนแล้ว ให้กรุงเทพมหานครเสนอร่างสัญญาร่วมลงทุนฉบับแก้ไขต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนส่งสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับร่างสัญญาดังกล่าว และเมื่อสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนำเสนอ คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

ในกรณีที่คณะรัฐมนตรี ไม่เห็นชอบกับร่างสัญญาร่วมลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องคืนไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาทบทวนและเสนอความเห็นประกอบเรื่องทั้งหมดต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ หากต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างสัญญาร่วมลงทุน ให้ส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีด้วย โดยให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลมเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามวรรคสองหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี ให้กรุงเทพมหานครลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฉบับแก้ไขต่อไป

และเมื่อได้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนแล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอนตามบทบัญญัติในส่วนที่ 3 การกำกับดูแลโครงการร่วมลงทุน หมวด 4 การจัดทำและดำเนินโครงการแห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อไป และสำคัญที่สุดกรณีนี้บริษัทเอกชน อย่าง BTSC เป็นผู้เสียหายฝ่ายเดียว เพราะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทุกอย่าง โดยบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งถือเป็นคู่สัญญากับ BTSC มาตั้งแต่ต้นเลือกใช้วิธีการหลีกเลี่ยงจ่ายหนี้ให้กับ BTSC โดยอ้างว่าเป็นสัญญาไม่ชอบธรรม เมื่อการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ผ่านพ้นมานานกว่า 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค. 2563

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น