ไทยเจ๋ง พบพืชสกุลขมิ้น “พืชชนิดใหม่” ของโลก กระเจียวบุณฑริก

พืชชนิดใหม่, พืช สาย พันธุ์ใหม่ 2023, พืชสกุลขมิ้นชนิดใหม่ของโลก, ความหลากหลายทางชีวภาพ, กระเจียวบุณฑริก, พืชชนิดใหม่ของโลก, พืชหายากชนิดใหม่ของโลก, พืชถิ่นเดียว, พืชสกุลขมิ้น

ทีมวิจัยพฤกศาสตร์ไทย สุดเจ๋ง ค้นพบ "พืชชนิดใหม่" อีกครั้ง กระเจียวบุณฑริก พืชสกุลขมิ้นชนิดใหม่ของโลก สะท้อนความหลากหลายทางชีวภาพ

ข่าวดี ทีมวิจัยพฤกศาสตร์ และนักวิทย์ฯ จากมมส. ค้นพบ “พืชชนิดใหม่” พืช สาย พันธุ์ใหม่ 2023 พืชสกุลขมิ้นชนิดใหม่ของโลก พบในอุบลราชธานี สะท้อนความหลากหลายทางชีวภาพ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

คนไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก! นักวิจัยสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช ร่วมมือกับทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) ค้นพบพืชสกุลขมิ้นชนิดใหม่ของโลก กระเจียวบุณฑริก สะท้อนความหลากหลายทางชีวภาพได้เป็นอย่างดี

 

 

 

  • รศ.ดร.ปิยะพร แสนสุข นักวิจัยจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นายธวัชพงศ์ บุญมา นิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรความหลากหลายทางชีวภาพ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ สนับสนุนโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช).

 

 

 

พืชชนิดใหม่, พืช สาย พันธุ์ใหม่ 2023, พืชสกุลขมิ้นชนิดใหม่ของโลก, ความหลากหลายทางชีวภาพ, กระเจียวบุณฑริก, พืชชนิดใหม่ของโลก, พืชหายากชนิดใหม่ของโลก, พืชถิ่นเดียว, พืชสกุลขมิ้น

 

 

 

พบว่าเป็น “พืชชนิดใหม่” ของโลก และยังไม่เคยมีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์มาก่อน ทีมผู้วิจัยจึงได้ร่วมกันตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้กับพืช ชนิดใหม่นี้ว่า Curcuma pulcherrima Boonma, Saensouk & P. Saensouk โดยได้รับการตอบรับตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ Biodiversitas ปีที่ 23 ฉบับที่ 12 หน้า 6635–6644.

 

 

 

ซึ่งชื่อชนิด pulcherrima เป็นภาษาละตินแปลเป็นภาษาไทยว่า สวยงามที่สุด ตามลักษณะของดอกและช่อดอกที่มีความสวยงามมาก ในขณะที่ชื่อ กระเจียวบุณฑริก ถูกตั้งขึ้นตามชื่อแหล่งที่พบในเขตพื้นที่อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี เขตพรรณพฤกษชาติภาคตะวันออกของไทย (อ้างอิงตาม The Flora of Thailand) โดยทั้งคำว่า บุณฑริก และ อุบล มีความหมายเดียวกันว่า ดอกบัว ซึ่งช่อดอกของพืชชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับดอกบัวด้วยเช่นกัน

 

 

 

กระเจียวบุณฑริก เป็นพืชหายากชนิดใหม่ของโลก จัดอยู่ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae); เผ่า ขิง (Zingibereae); สกุลขมิ้น (Curcuma); และในสกุลย่อย Ecomata. เป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าใต้ดินแบบ rhizome มีลักษณะสีดอกคล้ายกับมหาอุดมแดง (Curcuma pierreana Gagnep.) นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของอับเรณูและเดือยอับเรณูคล้ายกับขมิ้นสยาม (Curcuma siamensis Saensouk & Boonma).

 

 

 

พืชชนิดใหม่, พืช สาย พันธุ์ใหม่ 2023, พืชสกุลขมิ้นชนิดใหม่ของโลก, ความหลากหลายทางชีวภาพ, กระเจียวบุณฑริก, พืชชนิดใหม่ของโลก, พืชหายากชนิดใหม่ของโลก, พืชถิ่นเดียว, พืชสกุลขมิ้น

 

 

 

อย่างไรก็ตาม พบว่า มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาแตกต่างกันหลายประการกับทั้ง 2 ชนิดข้างต้น โดยมีลักษณะเด่น คือ

  • มีโคนใบรูปลิ่มถึงรูปกลม มีร่องกลางใบสีแดง หลังใบแดงเข้ม
  • ช่อดอกเกิดอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนของลำต้นไม่สูงจากพื้นดินมากนัก
  • ก้านช่อดอกสั้น
  • ใบประดับมีขน
  • กลีบดอกสีขาวปลายอมชมพู
  • กลีบปากรูปไข่กลับ ปลายแฉก สีขาว มีแถบสีเหลืองตรงกลางจากปลายกลีบจนถึงฐานของกลีบ
  • เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันรูปรีแคบแบบไม่สมมาตร ปลายแหลม สีขาวปนชมพู มีเส้นสีเหลืองอ่อนอยู่ตรงกลางกลีบด้านในจากฐานยาวประมาณ 1/3 ของความยาวกลีบ ส่วนด้านนอกเป็นสีขาวปนชมพู ขอบขาว
  • ก้านชูอับเรณูสีขาว มีขน
  • อับเรณูสีขาวมีสีชมพูอ่อนปนเล็กน้อย
  • เดือยอับเรณูชี้ออกด้านข้าง

 

 

 

ออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ดอกบานพร้อมผสมในเวลาเช้า และเริ่มพักตัวในช่วงปลายเดือนตุลาคม และจะเริ่มเกิดเป็นต้นใหม่ในช่วงเดือนเมษายน อาจจะช้าหรือเร็วกว่าระยะเวลาดังกล่าวเล็กน้อยขึ้นอยู่กับฝนแรกและสภาพภูมิอากาศในแต่ละปี

 

 

 

พืชชนิดใหม่, พืช สาย พันธุ์ใหม่ 2023, พืชสกุลขมิ้นชนิดใหม่ของโลก, ความหลากหลายทางชีวภาพ, กระเจียวบุณฑริก, พืชชนิดใหม่ของโลก, พืชหายากชนิดใหม่ของโลก, พืชถิ่นเดียว, พืชสกุลขมิ้น

 

 

 

เนื่องจาก พบการกระจายพันธุ์แค่ในพื้นที่ป่าเขตจังหวัดอุบลราชธานี และยังไม่เคยมีรายงานการค้นพบในพื้นที่อื่น ๆ หรือประเทศอื่นมาก่อน ทำให้มีสถานะเป็นพืชถิ่นเดียว (Endemic species) และหายากของไทย (Rare species) จึงไม่นำมารับประทานเหมือนกับชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกัน เช่น

  • กระเจียวขาว (Curcuma singularis Gagnep.),
  • กระเจียวแดง (Curcuma angustifolia Roxb.)

ที่นิยมนำช่อดอกอ่อนมารับประทานสด หรือลวกทานกับน้ำพริก

 

 

 

ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีความหลากชนิดของพืชสกุลขมิ้นมากกว่า 70 ชนิด และมีการค้นพบ “พืชชนิดใหม่” อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง

 

 

 

พืชชนิดใหม่, พืช สาย พันธุ์ใหม่ 2023, พืชสกุลขมิ้นชนิดใหม่ของโลก, ความหลากหลายทางชีวภาพ, กระเจียวบุณฑริก, พืชชนิดใหม่ของโลก, พืชหายากชนิดใหม่ของโลก, พืชถิ่นเดียว, พืชสกุลขมิ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น