“ดร.นิว” ยื่นร้องสตง. ระงับผลประมูลดาวเทียมโดยด่วน

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ ยื่นร้องเรียนกสทช. ต่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ให้ระงับผลการประมูลสิทธิการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม เมื่อวันที่ 15 ม.ค.66 โดยเร่งด่วน ชี้เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นต่อรัฐและรักษาประโยชน์สูงสุดของประชาชน

วันที่ 17 ม.ค. 66 ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก suphanat Aphinyan ว่า ขณะนี้ผมได้ดำเนินการร้องเรียน กสทช. ต่อสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อเป็นหลักฐานและเปิดโอกาสให้ปวงชนชาวไทยทั้งประเทศได้ทำการติดตามร่วมกันไปจนถึงที่สุดครับ

โดยข้อความที่ยื่นร้องเรียน ระบุว่า ข้าพเจ้านายศุภณัฐ อภิญญาณ ขอร้องเรียนสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เนื่องด้วย กสทช. กระทำการขัดต่อมาตรา 60 ตามที่ได้ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดย กสทช. ได้ทำการประมูลสิทธิการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในวันที่ 15 มกราคม 2566 ที่เอื้อประโยชน์แก่บริษัทเอกชนอย่างชัดเจน ซึ่งไม่ได้เป็นการรักษาสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง

1. การกระทำของ กสทช. ไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน

1.1 การเปลี่ยนแปลงจากระบบสัมปทานดาวเทียมมาสู่ระบบใบอนุญาตสิทธิการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม มีแต่จะเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชนเพิ่มมากขึ้น เพราะทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในกิจการดาวเทียมจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทเอกชนทั้งหมด รวมถึงยังส่งผลให้บริษัทเอกชนผูกขาดการเป็นเจ้าของในสิทธิการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมที่เป็นสมบัติของชาติ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างอิสระเสรี โดยที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนแต่อย่างใด

1.2 เมื่อประเมินรายได้ขั้นต่ำของดาวเทียมดวงใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะมาแทนที่ดาวเทียมไทยคม 4 (IPSTAR-1) ในวงโคจร 119.5E จากข้อมูลรายได้ของดาวเทียมไทยคม 4 ซึ่งเคยปรากฏในสื่อต่างชาติจำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ผนวกกับอายุการใช้งานของดาวเทียมดวงใหม่ 15 ปี จะเป็นรายได้ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 33 บาท) ก็จะเป็นเงินไทยราว 4.95 หมื่นล้านบาท จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าดาวเทียมเพียงแค่ดวงเดียวในวงโคจรที่สำคัญอย่าง 119.5E ยังสามารถสร้างรายได้ในขั้นต่ำๆ ถึงหลายหมื่นล้านบาท โดยที่ยังไม่ได้ประเมินวงโคจร 120E ร่วมด้วย แต่วงโคจรสำคัญสองวงนี้ กลับถูกจับมาประมูลเป็นชุดเดียวกัน ในราคาประมูลเพียงแค่ 417 ล้านบาทเท่านั้น

1.3 หาก กสทช. มีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนอย่างแท้จริง กสทช. ต้องปฏิบัติตามแนวทางใดแนวทางหนึ่ง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

– แนวทางแรก ให้รัฐดำเนินการกิจการดาวเทียมเองทั้งหมด แต่ทว่า กสทช. ไม่ได้มีความจริงใจในการให้บริษัทเอกชนทำการถ่ายโอนเทคโนโลยีตลอดจนองค์ความรู้ที่สำคัญทั้งหมด เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติสามารถดำเนินการได้เอง เช่นนี้ รายได้สูงสุดก็จะเป็นของประชาชน

– แนวทางที่สอง ให้รัฐรักษาสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมและลงทุนดาวเทียมเอง โดยที่รัฐยังทำการว่าจ้างบริษัทเอกชนในการดำเนินการควบคุมดาวเทียมต่อไป เช่นนี้ รายได้จำนวนมหาศาลเกือบทั้งหมดก็ยังคงเป็นของประชาชน

– แนวทางที่สาม จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจให้รัฐดำเนินการร่วมกับบริษัทเอกชน โดยที่รัฐถือครองสัดส่วนความเป็นเจ้าของไว้เกินกึ่งหนึ่ง เช่นนี้ รายได้จำนวนมหาศาลมากกว่ากึ่งหนึ่งก็ยังคงเป็นของประชาชน

2. การกระทำของ กสทช. จงใจเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทเอกชน
ทั้งการเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบบใบอนุญาต ตลอดจนการเร่งรัดให้เกิดการประมูลที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญขึ้นโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน ล้วนแต่บ่งชี้ถึงการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน เป็นไปเพื่อรองรับดาวเทียมไทยคม 9 ที่บริษัทเอกชนได้ตระเตรียมไว้แล้ว ซึ่งพบการเผยแพร่ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการยิงดาวเทียมไทยคม 9 ขึ้นสู่วงโคจรภายใต้ชื่อ TCSTAR-1 โดยได้ระบุไว้คร่าวๆ ว่าจะมีการยิงขึ้นสู่วงโคจรในเดือนธันวาคม 2566 ทั้งนี้ ข้อมูลอีกทางหนึ่งยังยืนยันด้วยว่าดาวเทียมไทยคม 9 เป็นดาวเทียมบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่จะมาแทนที่ดาวเทียมไทยคม 4 สุดท้าย ดูเหมือนว่า กสทช. ก็แค่แอบอ้างการประมูลเพียงเพื่อประเคนวงโคจรสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุดที่ 3 (119.5E กับ 120E) ที่รองรับดาวเทียมไทยคม 9 ให้กับบริษัทเอกชนในราคาถูกเท่านั้น ซึ่งถือเป็นการแสวงหาประโยชน์จากประชาชนผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม

 

ข้าพเจ้านายศุภณัฐ อภิญญาณ จึงเรียนมาเพื่อให้ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินระงับผลการประมูลของ กสทช. ที่เกิดขึ้นในวันที่ 15 มกราคม 2566 โดยเร่งด่วนที่สุด เพื่อมิให้เกิดความเสียหายขึ้นต่อรัฐและรักษาประโยชน์สูงสุดของประชาชนตามมาตรา 60 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตลอดจนทำการยกเลิกระบบใบอนุญาตที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน เพื่อนำไปสู่ทางออกแนวทางใดแนวทางหนึ่งตามที่ได้นำเสนอในข้างต้น ซึ่งจะเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนอย่างแท้จริง

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ยูเครนลั่นไม่ทำลายทุ่นระเบิดอ้างถูกรัสเซียรุกราน
ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบดำเนินคดี “กลุ่มน้ำไม่อาบ” ทุกมิติ พร้อมเอาผิดตามหลักฐานคลิปที่ปรากฏ
ขุนเขา ‘ฮว่าซาน’ ่ของจีนสวยสะกดยามห่มหิมะขาว
ทหารพรานจัดกำลังตรวจค้นเก็บกู้บ่วงดักสัตว์ป่า
ผลักดัน ! แรงงานต่างด้าวมากกว่า 100 ราย ออกนอกประเทศ หวั่นเกรงมาสร้างความวุ่นวายในพื้นที่
เมืองคอนน้ำท่วมหนักหลายพื้นที่ หากผลไม่หยุดตกคืนนี้ตัวเมืองอ่วมอรทัยแน่นอน-ในเบื้องต้นนายอำเภอ,นายกเล็กฯจับมือศูนย์ข่าวนคร 24 ชั่วโมงสมาคมสื่อมวลชนและชมรมรถจิ๊ปลุยช่วยชาวบ้านแล้ว-เรียกร้องเจ้าพนักงานที่ดินเด้งตรวจสอบนายทุนถมลำคลองปิดกั้นทางน้ำว่าออกโฉนดที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โซเชียลถามกลับ “พรรคส้ม” รู้ยังมีทหารไว้ทำไม? หลังเกิดเหตุการณ์ "กลุ่มว้าแดงและทหารไทย"
ผบ.สอ.รฝ.ประดับเครื่องหมายเลื่อนยศ นักรบต่อสู้อากาศยาน 46 นาย
‘สามารถ’ คอตกศาลไม่ให้ประกัน เตรียมส่งเข้าเรือนจำ ส่วน ‘แม่’ วางเงิน 5 แสนบาท ได้รับปล่อยตัว
"กองทัพภาคที่ 3" แถลงข่าวแจงพื้นที่ "กองกำลังว้าแดง" ตั้งฐานปฏิบัติการลุกล้ำไทย ยังไม่มีการสำรวจ หรือปักปันเขตแดน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น