หลังจากการเคลื่อนไหว คาร์ม็อบป่วนเมือง 1 สิงหาคม ที่นำโดย นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด นัดหมายมวลชนขับขี่รถบีบแตร ติดป้ายข้อความ แสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ ขับไล่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
การชุมนุมเราได้เห็นกลุ่มมวลชนทั้งหน้าเก่า หน้าใหม่ อาทิ 1. กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นำโดย นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน และนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน 2. กลุ่ม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ คนเสื้อแดง ,3. กลุ่มคาร์ม็อบ นำโดย นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ,4. กลุ่มแท็กซี่ไม่ทน นำโดย นายวรพล แกมขุนทด และ5. กลุ่มคาร์ม็อบเครือข่ายนนทบุรี นำโดย นายเจษฎา ศรีปลั่ง
ตลอดทั้งวันที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไรเหตุการณ์ความรุนแรงใดๆเกิดขึ้น แกนนำหลายกลุ่มได้ประกาศยุติการชุมนุมกลับบ้านกันไปแล้ว คงเหลือมวลชนบางกลุ่มที่จอดรถอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต ด้านหน้า กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (ร.1 ทม.รอ.) ซึ่งบ้านพักของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีอยู่ภายใน ส่งผลให้การจราจรติดขัดอย่างมาก
ต่อมาเวลา 17.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศขอให้ยุติการชุมนุมและขอคืนพื้นที่การจราจร จนมีผู้ชุมนุมบางส่วนไม่พอใจ ได้ขว้างปาสิ่งของ ประทัด โยนเข้าใส่เจ้าหน้าที่ ซึ่งตร.อคฝ.ก็ได้ยิงแก๊สน้ำตา กระสุนยาง ใส่ผู้ชุมนุมเป็นระยะ จนผู้ชุมนุมถอยร่นไป พอช่วงค่ำจุด 3 แยกดินแดง กลุ่มผู้ชุมนุมได้ปะทะกับเจ้าหน้าที่อีกครั้งซึ่งก็ใช้เวลานับชั่วโมงจนผู้ชุมนุมยอมล่าถอยและยุติการชุมนุมไป
ทันทีที่มีการใช้แก๊สน้ำตา และยิงกระสุนยางนั้น ในเพจเยาวชนปลดแอก - Free YOUTH ที่จัดการเคลื่อนไหวปั่นสถานการณ์และปลุกเร้าอย่างหนัก พร้อมระบุข้อความบางช่วงว่า 7 สิงหานี้ เอากระสุนมึงกลับไป พร้อมลุยกว่าเดิม ถ้าประยุทธ์ยังไม่ออก ก็ให้มันรู้ไปเพราะการดำรงอยู่ของรัฐบาลชุดนี้ทำให้คนตาสว่างมากขึ้นทุกวัน ไล่จนเหนื่อยแล้วไม่ไปก็รอวันพังพินาศไปด้วยกัน โปรดติดตาม 7 สิงหา เอาห่ากระสุนมึงกลับไป
นอกจากก็มีอีกหลายโพสต์ ที่ระบุถึงการชำระแค้น เอากระสุนกลับคืนไป ระบุถึงวันที่ 7 สิงหาคม ติดแฮชแท็กกันทุกโพสต์ เมื่อเราไปตรวจสอบเชิงลึกพบว่า กลุ่มม็อบนี้เลือกเอาวันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันเสียงปืนแตก 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 เป็นวันที่กองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ปะทะด้วยกำลังอาวุธปืนเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นครั้งแรกที่บ้านนาบัว อ.เรณูนคร จังหวัดนครพนม ซึ่งการปะทะในครั้งนั้นส่งผลให้ ส.ต.อ. ชัยรัตน์ สิงห์ด้วง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ถูกกระสุนปืนเสียชีวิต ส.ต.ต. มนต์ชัย โพธิดอกไม้ บาดเจ็บถูกยิงขาทะลุ พ.ต.อ. สงัด โรจนภิรมย์ ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม ได้รับบาดเจ็บสาหัส ด้วยกระสุน 3 นัด ที่ขาขวาท่อนล่าง เหนือราวนมขวา 1 นัด หลังเท้าขวา 1 นัด นำตัวขึ้น ฮ.เข้ารักษาที่กรุงเทพฯ
การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธระหว่างพคท.กับรัฐบาลยืดเยื้อ และเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นหลัง 6 ตุลาฯ 2519 เมื่อ นักศึกษาประชาชนที่ถูกปราบปรามจากในเมืองเข้าร่วมกับพรรค
จนที่สุดแล้วรัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ออกนโยบาย 66/23 ทำให้เกิดการทยอยเข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย และยุติการเคลื่อนไหวในที่สุด ตัวกับทางการเป็นระยะ ๆ
คำสั่งนี้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากท่าทีทหารสายแข็งที่ดำเนินมาแต่รัฐบาลฝ่ายขวาสมัยที่นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี มาสู่สายกลางมากขึ้นซึ่งให้ความสำคัญมาตรการทางการเมืองเหนือการปฏิบัติทางทหารอย่างเป็นทางการ คำสั่งนี้กำหนดให้มีการจัดการความ อยุติธรรมทางสังคม และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองและกระบวนการประชาธิปไตย มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมสอดคล้องกับคำสั่งอนุญาตให้ผู้แปรพักตร์ผละขบวนการก่อการกำเริบ ซึ่งเมื่อประกอบกับการเสื่อมลงของการสนับสนุนจากต่างชาติ นำไปสู่การเสื่อมลงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
แต่ที่สุดแล้วการใช้กองกำลังติดอาวุธก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปการปกครองได้ในอดีตที่มีตัวอย่างมาแล้ว แต่หากกลุ่มม็อบราษฎร จะนำโมเดลนี้มาใช้กับเจ้าหน้าที่รัฐในสถานการณ์แบบนี้ก็ต้องจับตาดูข้อเรียกร้องที่จะคิดไปไกลกว่าข้อเสนอ ปฏิรูปสถาบันฯ เป็นปฏิวัติ นั้นได้หรือไม่