มี่รายงานว่าเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา (18 ม.ค.66) นายวิจิตต์ แก้วไทรเทียม ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ พร้อม ผู้บริหารท่าอากาศยานเชียงใหม่ ททท.สำนักงานเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมให้การต้อนรับผู้โดยสารจำนวน 195 คน ที่เดินทางมากับเที่ยวบินของสายการบินจุนเหยา เที่ยวบินที่ HO1325 จากเซี่ยงไฮ้ พร้อมมอบของที่ระลึกให้กับผู้โดยสารในเที่ยวบินดังกล่าว
ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ พร้อมคณะ ต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนแผ่นดินใหญ่ชุดแรก ที่เดินทางมาจากเซี่ยงไฮ้ อย่างอบอุ่น
ข่าวที่น่าสนใจ
ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ กล่าวว่า ขณะนี้มีสายการบินจากจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ได้รับอนุญาตและยืนยันทำการบินแล้ว 5 สายการบินใน 5 เส้นทางได้แก่
1. สายการบินจุนเหยาแอร์ไลน์ เส้นทาง เซี่ยงไฮ้-เชียงใหม่-เซี่ยงไฮ้ ทำการบินทุกวัน เริ่มบินวันที่ 18 ม.ค.66
2. สายการบินสปริงแอร์ไลน์ เส้นทาง กวางโจว-เชียงใหม่-กวางโจว ทำการบินวันอังคาร ศุกร์ และอาทิตย์ เริ่มบินวันที่ 20 ม.ค.66
3. สายการบินเสฉวนแอร์ไลน์ เส้นทาง เฉินตู-เชียงใหม่-เฉินตู ทำการบินวันพุธ เริ่มบินวันที่ 25 ม.ค.66
4. สายการบินแอร์ไชน่า เส้นทาง ปักกิ่ง-เชียงใหม่-ปักกิ่ง ทำการบินวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ เริ่มบินวันที่ 8 ก.พ.66
5. สายการบินไชน่าอีสเทอร์น เส้นทาง เซี่ยงไฮ้-เชียงใหม่-เซี่ยงไฮ้ ทำการบินวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ เริ่มบินวันที่ 21 ม.ค.66
นอกจากนี้ยังมีสายการบินที่อยู่ระหว่างขอใบอนุญาตทำการบินอีกหนึ่งเส้นทาง คือ สายการบินสปริงแอร์ไลน์ เส้นทางเซี่ยงไฮ้-เชียงใหม่-เซี่ยงไฮ้ มีกำหนดจะทำการบินทุกวัน อย่างไรก็ตาม ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ยังมีเส้นทางบินตรงระหว่างประเทศอื่นๆ อีก 11 เส้นทาง ได้แก่ อินชอน สิงคโปร์ ไทเป หลวงพระบาง ดานัง ฮานอย ฮ่องกง กัวลาลัมเปอร์ ปูซาน โฮจิมินห์ และย่างกุ้ง ให้บริการโดย 12 สายการบิน
โดยในปี 2562 ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีเส้นทางบินตรงไปยังต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 29 เส้นทาง ให้บริการโดยสารการบินต่างๆ 27 สายการบิน ในจำนวนดังกล่าวมีเส้นทางบินตรงไปยังเมืองสำคัญๆ ของจีน รวมทั้งสิ้น 19 เส้นทาง มีผู้โดยสารชาวจีนเฉลี่ยวันละ 4,000-5,000 คน และมีจำนวนผู้โดยสารชาวจีนผ่านเข้าออกช่องทางท่าอากาศยานเชียงใหม่ ในปี 2562 กว่า 1.78 ล้านคน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง