“ดร.นิว” เดือด เปิดผลตอบแทนดาวเทียมไทยคม 4.95 หมื่นล้าน แต่กสทช.กลับประมูลแค่หลักร้อยล้าน

"ดร.นิว" เดือด เปิดผลตอบแทนดาวเทียมไทยคม 4.95 หมื่นล้าน แต่กสทช.กลับประมูลแค่หลักร้อยล้าน

หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้จัดให้มีการประมูลใบอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) ครั้งแรกของประเทศไทย โดยประมูลทั้งสิ้น 5 ชุด ไปเมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และบรรดานักวิชาการ คนดังที่เรียกร้องเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ว่าต้องหยุดประมูลดาวเทียม และได้ยื่นฟ้องกสทช.เป็นที่เรียบร้อย

ล่าสุดนายศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Suphanat Aphinyan โดยมีเนื้อหาถึงประเด็นนี้ ระบุว่า คนไทยทั้งประเทศยอมรับกันได้จริง ๆ หรือครับ?

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข้อมูลจากหลักทรัพย์กสิกรไทยวิเคราะห์ว่า “เราเชื่อว่าผลตอบแทนของไทยคม 9 จะดีกว่าไทยคม 4 ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมามาก” สอดคล้องกับข้อมูลที่ผมได้ออกมาเปิดโปงเกี่ยวกับดาวเทียมไทยคม 9

ดาวเทียมไทยคม 9 (TCSTAR-1) จะถูกยิงขึ้นสู่วงโคจร 119.5E ราวเดือนธันวาคม 2566 โดยจะเป็นดาวเทียมบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงดวงใหม่ ซึ่งจะมาแทนที่ดาวเทียมไทยคม 4 (IPSTAR-1)

เมื่อประเมินรายได้ขั้นต่ำของดาวเทียมไทยคม 9 จากรายได้ดาวเทียมไทยคม 4 ที่เคยปรากฏในสื่อต่างชาติ 100 MUSD อายุการใช้งาน 15 ปี (1 USD = 33 THB) ก็จะเป็นเงินราว 4.95 หมื่นล้านบาท

ดาวเทียมไทยคม 9 ดวงเดียวในวงโคจร 119.5E นี้ จะมีรายได้ขั้นต่ำ ๆ ถึงหลายหมื่นล้านบาทโดยที่ยังไม่รวม 120E แต่วงโคจรสำคัญสองวงนี้ ถูกจัดชุดประมูลในราคาประมูลเพียงแค่ 417 ล้านบาทเท่านั้น

ดังนั้น ข้อมูลจากหลักทรัพย์กสิกรไทยจึงตอกย้ำการกระทำของ กสทช. ที่เปิดการประมูลสมบัติของชาติเอื้อบริษัทเอกชนในราคาถูก จนมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทเหลือเพียงแค่ไม่กี่ร้อยล้านบาทเท่านั้น

การประมูลสิทธิวงโคจรดาวเทียมของ กสทช. ในวันที่ 15 มกราคม 2566 จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนตามมาตรา 60 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างร้ายแรง

แม้ กสทช. มักชอบอ้างว่าเปิดประมูลเพื่อรักษาสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม แต่ในความเป็นจริง การรักษาสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมสามารถทำได้หลายแนวทาง โดยไม่จำเป็นต้องประมูล

รัฐสามารถดำเนินการเองทั้งหมด, รัฐสามารถจ้างบริษัทเอกชนดูแลดาวเทียม หรือจะตั้งรัฐวิสาหกิจ แล้วให้รัฐถือหุ้นเกินกึ่งหนึ่งก็ย่อมได้ ล้วนแต่เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์มหาศาลต่อประชาชนทั้งสิ้น

การ #ทวงคืนดาวเทียม ที่เป็นสมบัติของชาติให้กลับมาเป็นประโยชน์สูงสุดของประชาชนได้สำเร็จ จะเป็นรูปธรรมของการสร้างประชาธิปไตย ทำอำนาจอธิปไตยให้เป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง

อ้างอิง…https://www.kasikornsecurities

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น