วันนี้ (23 ม.ค.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า วันนี้เป็นวันแรกที่บังคับใช้ พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565″ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 ต.ค.65 ที่มี กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ที่กระทำความผิดรุนแรง 3 กลุ่ม ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับเพศ, ชีวิตและร่างกาย และการเรียกค่าไถ่ อาทิ คดีฆาตกรรม การข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำความผิดทางเพศกับเด็ก การทำร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส รวมทั้งการนำตัวบุคคลไปเรียกค่าไถ่
"รมว.ยุติธรรม" ประกาศ ดีเดย์บังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันกระทำผิดซ้ำ ประเดิมใส่กำไลอีเอ็ม 29 ราย
ข่าวที่น่าสนใจ
โดยการบังคับใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ คณะกรรมการป้องกัน การกระทำผิดซ้ำ ที่มีรองปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน จะทำหน้าที่พิจารณากำหนดมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดหลังพ้นโทษ ที่มี 4 มาตรการสำคัญ ได้แก่ มาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด รวมถึงมาตรการทางการแพทย์, มาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ, มาตรการคุมขังภายหลังพันโทษ และ การคุมขังฉุกเฉิน มีระยะเวลาบังคับใช้มาตรการตั้งแต่ 7 วันถึง 10 ปี และทุกมาตรการรวมกันจะต้องไม่เกิน 10 ปี เพื่อป้องกันสังคมและผู้เสียหาย จากการกระทำความผิดที่อาจเกิดขึ้นซ้ำ รวมถึงการเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรมสะเทือนขวัญ
นายสมศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้พ้นโทษกลุ่มแรก ที่จะบังคับใช้มาตรการนี้ มี 29 ราย ทยอยปล่อยไปจนถึงสิ้นเดือนมกราคม วันนี้จะขออนุมัติศาลให้สามารถสวมกำไลอีเอ็ม กับผู้พ้นโทษเพื่อติดตามความประพฤติได้ หากระหว่างนี้ กระทำความผิดซ้ำก็อาจถูกคุมขังอีกโดยมีระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี ส่วนมาตรการทางการแพทย์นั้นจะใช้สำหรับผู้ที่ยังอยู่ในเรือนจำ โดยกรมราชทัณฑ์เป็นผู้ดำเนินการ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง