“อีสท์ วอเตอร์” รอศาลปกครองชี้ขาดกรรมสิทธิ์ โต้ “สันติ” ทวงคืนท่อน้ำ EEC

"อีสท์ วอเตอร์" ยืนยันหลักการส่งมอบทรัพย์สิน จะต้องกระทำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำ

เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) หรือ “อีสท์ วอเตอร์” เปิดเผยว่า บริษัท ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2535 เพื่อเป็นองค์กรใหม่ในการบริหารจัดการท่อส่งน้ำและให้บริการสาธารณะแก่ผู้ใช้น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกอย่างมีเอกภาพมาตั้งแต่ปี 2536 เมื่อนับจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี

โดยกว่า 30 ปีที่ผ่านมา นอกจากการบริหารจัดการท่อส่งน้ำที่เป็นทรัพย์สินของกระทรวงการคลังทั้งสามโครงการแล้ว บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี โดยเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำของตนเองเชื่อมโยงกับระบบท่อส่งน้ำของกระทรวงการคลัง ในรูปแบบ Water Grid ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำและการผันน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ สำหรับใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะเป็นการเพิ่มเติม โดยเฉพาะการส่งน้ำและผันน้ำไปยังพื้นที่ภาคตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ให้ยังคงมีน้ำใช้ได้แม้ในช่วงเกิดวิกฤติภัยแล้ง การบริหารจัดการโครงการท่อส่งน้ำดังกล่าว จึงมีผลประโยชน์และผลกระทบของผู้ใช้น้ำเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมิใช่เพียงการให้เอกชนเข้ามาประกอบกิจการค้าหากำไร

 

 

ดังนั้น การส่งมอบคืนทรัพย์สินจึงมิใช่การดำเนินการตามความประสงค์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่หัวใจสำคัญของการส่งมอบคืนทรัพย์สินให้แก่กรมธนารักษ์ ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านไปยังผู้ประกอบการรายใหม่ ต้องมีการวางแผนงานและกำหนดแนวทางขั้นตอนการดำเนินการที่เห็นชอบร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อมิให้เกิดปัญหาเป็นการดำเนินการที่เลือกปฏิบัติกับผู้ใช้น้ำกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยคำนึงถึงและหลีกเลี่ยงมิให้ผู้ใช้น้ำได้รับผลกระทบในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ เป็นสำคัญ

นายเชิดชาย ปิติวัชรากุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อีสท์ วอเตอร์ กล่าวว่า เมื่อกรมธนารักษ์ จะตัดแยกระบบท่อส่งน้ำของกระทรวงการคลัง และของบริษัทฯ เพื่อแยกดำเนินการและบริหารงานออกจากกัน บริษัทฯ มองว่า ผู้ใช้น้ำจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการส่งน้ำและผันน้ำลดลงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไขและปรับปรุง และผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำนี้ ก็มิได้มีแค่เพียงผู้ใช้น้ำตามแนวเส้นทางท่อส่งน้ำของกระทรวงการคลังเท่านั้น แต่ยังมีผู้ใช้น้ำตามแนวเส้นทางท่อส่งน้ำของบริษัทฯ ด้วยเช่นกัน

สำหรับเหตุผลที่การกำหนดแนวทางขั้นตอนการส่งมอบ-รับมอบทรัพย์สิน ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาการใช้พื้นที่ทับซ้อนด้วย ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าบริษัทฯ จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี และตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ลงทุนก่อสร้างท่อส่งน้ำของตนเองในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นการเพิ่มเติมและมีการเชื่อมต่อกับท่อส่งน้ำของกระทรวงการคลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสูบส่งและจ่ายน้ำ รวมทั้งการผันน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ ของระบบท่อส่งน้ำเพิ่มเติม ซึ่งการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำของบริษัทฯ นั้น บางส่วนมีการใช้พื้นที่ราชพัสดุ เมื่อต้องมีการตัดแยกระบบท่อส่งน้ำออกจากกันเป็น 2 ส่วน จึงทำให้ยังคงมีทรัพย์สินของบริษัทฯ บางส่วนอยู่ในพื้นที่ราชพัสดุดังกล่าว ซึ่งเป็นกรณีที่ทั้งบริษัทฯ และกรมธนารักษ์จะต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาการใช้พื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว เพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะของบริษัทฯ ด้านการบริหารจัดการท่อส่งน้ำในภาคตะวันออกสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้ต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอุปสรรคและผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำ และเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2539 ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงกระทรวงการคลัง และกรมธนารักษ์ ให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกแก่บริษัทฯ ในการขอรับการอนุมัติและการทำสัญญาต่างๆ ที่จำเป็นในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ด้วย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายเชิดชาย ระบุว่า บริษัทฯ ได้พิจารณาแล้วพบว่า มีทรัพย์สินโครงการท่อส่งน้ำทั้งสองที่บริษัทฯ ได้รับมอบจากกรมธนารักษ์เมื่อปี 2540 และปี 2541 ซึ่งมิได้ใช้งานสามารถส่งคืนในกรณีที่กรมธนารักษ์มีความประสงค์ให้ส่งมอบคืนบางส่วนได้ต่อไป

ส่วนทรัพย์สินอื่นของโครงการท่อส่งน้ำทั้งสองนั้น บริษัทฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับกรมธนารักษ์ในการกำหนดขั้นตอนแนวทางการส่งมอบ-รับมอบทรัพย์สิน โดยมีหลักการและวัตถุประสงค์ไม่สร้างปัญหาอุปสรรคและไม่เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำ ดังที่คณะกรรมการที่ราชพัสดุได้มีมติให้กรมธนารักษ์ดำเนินการ และเป็นไปตามหลักกฎหมายในเรื่องการจัดทำบริการสาธารณะที่ต้องมีความต่อเนื่องต่อไป

ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ใช้สิทธิตามกฎหมายยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนคำสั่งกรมธนารักษ์แจ้งให้บริษัทฯ ส่งมอบทรัพย์สินโครงการท่อส่งน้ำหนองปลาไหล-หนองค้อ และโครงการท่อส่งน้ำหนองค้อ-แหลมฉบัง (ระยะที่ 2) ไว้แล้ว และบริษัทฯ ขอสงวนสิทธิใดๆ ตามกฎหมายในการเป็นผู้มีสิทธิใช้และบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกตามนิติสัมพันธ์ระหว่างบริษัทฯ กับกระทรวงการคลัง และกรมธนารักษ์ รวมทั้งสิทธิของบริษัทฯ ในการดำเนินคดีต่างๆ ในศาลปกครองกับคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน กรมธนารักษ์ และคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด รวมทั้งสิทธิประการอื่นใดตามกฎหมาย ตลอดจนสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายทุกประการที่เกิดขึ้นหรือน่าจะเกิดขึ้นต่อไปด้วย

 

 

ก่อนหน้านั้น นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการลงพื้นที่ตรวจสอบรายการทรัพย์สินกระทรวงการคลัง โครงการบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ในพื้นที่จังหวัดระยอง ของโครงการหนองปลาไหล – หนองค้อ และแนวเส้นท่อส่งน้ำ โครงการหนองปลาไหล – หนองค้อ /โครงการหนองค้อ – แหลมฉบัง (ระยะที่ 2) / ทรัพย์สินกระทรวงคลังที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการของกรมธนารักษ์ ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ร่วมกับกรมธนารักษ์ ว่า เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านการส่งมอบทรัพย์สินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนโครงการท่อส่งน้ำดอกกราย นั้น อีสท์ วอเตอร์ ยังคงดำเนินกิจการได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญา

สำหรับคดีความที่เกิดขึ้น นายสันติ ระบุว่า การเปิดประมูลครั้งแรก ทีโออาร์ มีช่องโหว่จึงได้ยกเลิกการประมูล เพราะไม่ได้มีการคำนวนในเรื่องของปริมาณน้ำ โดยการเปิดประมูลครั้งที่ 2 รัฐได้ผลคอบแทนถึง 27% และผู้ใช้น้ำจ่ายเงินเพียง 10.98 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ตลอด 30 ปี จากก่อนหน้านี้ โรงกลั่นจะใช้น้ำในอัตรา 17 บาทต่อลูกบาศก์เมตร

 

 

 

นอกจากนี้ นายสันติ ระบุว่า จากการตรวจสอบสถานีและท่อส่งน้ำต่างๆ พบความผิดปกติ ของแนวท่อส่งน้ำ ที่เอกชนทำสัญญา จ่ายผลตอบแทนค่าน้ำเข้ารัฐซึ่งไม่ตรงกับที่ระบุในสัญญา ซึ่งจะต้องให้กรมธนารักษ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการตรวจสอบอย่างละเอียดว่า มีอัตราจ่ายผลตอบแทนเข้ารัฐเท่าใด และทำให้รัฐเสียหายหรือมีการทุจริตหรือไม่ เนื่องจากอัตราการจ่ายผลตอบแทนต่างกันถึง 7 เท่า

ขณะเดียวกัน ในการลงพื้นที่ตรวจสอบจุดเชื่อมต่อท่อส่งน้ำขนาดใหญ่ บริเวณถนนแหลมทอง ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อท่อส่งน้ำขนาดใหญ่ 1 ใน 3 จุดที่ พบว่ามีการเชื่อมต่อท่อส่งน้ำไว้ ไม่ตรงในสัญญา และเพิ่งจะยกเลิกการเชื่อมต่อเมื่อเร็วๆ นี้ มีการแจ้งความดำเนินคดี ไว้ตั้งแต่ปี 2565 ขณะนี้เรื่องอยู่ในระหว่างการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานของตำรวจ ขณะที่ดีเอสไอ กำลังรวบรวมหลักฐานเสนอคณะกรรมการฯรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น