Gistda จับมือ 3 มหาลัยชั้นนำไทย จัดสัมมนาโครงการศึกษาและวิจัยเครื่องมือสำรวจและประมวลผลสำหรับ SMART CITY

Gistda จับมือ 3 มหาลัยชั้นนำไทย จัดสัมมนาโครงการศึกษาและวิจัยเครื่องมือสำรวจและประมวลผลสำหรับ SMART CITY พร้อมโชว์ผลสำเร็จรถอัจฉริยะไร้คนขับ 2 คัน ฝีมือคนไทย

ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Gistda) เป็นประธานการแถลงข่าวและสัมมนาการสาธิตทดสอบรถอัจฉริยะไร้คนขับ Auto Matic Guided Vehicle :AGV พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนา ราษฎ์รภักดี หัวหน้าโครงการศึกษาและวิจัยเครื่องมือสำรวจและประมวลผลสำหรับ SMART CITY คณะผู้บริหาร นักวิจัย คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานสัมมนา
ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กล่าวว่า โครงการศึกษาและวิจัยเครื่องมือสำรวจและประมวลผลสำหรับ SMART CITY ซึ่งทางสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ได้สนับสนุนผลผลิตสำคัญของโครงการ คือ รถอัจฉริยะไร้คนขับจำนวน 2 คัน โดยพัฒนาและผลิตขึ้นในประเทศ ภายใต้ความร่วมมือและการทำวิจัยร่วมกันของ 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นแกนหลัก มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำหรับการจัดสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นการสาธิตเทคโนโลยีรถอัจฉริยะไร้คนขับ ทั้ง 2 คันพร้อมการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับวงการวิชาการของประเทศไทย

ทั้งนี้การดำเนินโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ประเทศไปถึงหมุดหมายสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ด้านพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ออกแบบมาให้รองรับ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต จำเป็นต้องใช้ระบบนำร่องแม่นยำสูง รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงข่ายระบุ พิกัดแบบแม่นยำสูงด้วยสัญญาณดาวเทียม เพื่อให้พื้นที่นี้สามารถรองรับนักลงทุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของโครงการที่กำหนดผลผลิตสำคัญคือรถอัจฉริยะที่ ขับเคลื่อนได้เองแบบอัตโนมัติด้วยระบบนำร่องจากโครงข่ายระบุพิกัดแบบแม่นยำสูง และมีระบบ ประมวลผลแบบ AI ในรถ คาดว่าจะทำให้สาธารณะและนักลงทุนได้เห็นศักยภาพความพร้อมด้าน โครงสร้างพื้นฐานในการรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ และเห็นความพร้อมด้านกำลังคนของประเทศไทย อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ขณะเดียวกัน ก็จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความกระหายในการเรียนรู้ของเยาวชนไทยที่จะเป็นกำลัง สำคัญของประเทศในวันข้างหน้าต่อไป

ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.ธนา ราษฎ์รภักดี หัวหน้าโครงการศึกษาและวิจัยเครื่องมือสำรวจและประมวลผลสำหรับ SMART CITY กล่าวว่า โครงการศึกษาและวิจัยเครื่องมือสำรวจและประมวลผล SMART CITY ด้วยทางคณะวิศวกรรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในนามของผู้จัดงานสัมมนาการสาธิตเทคโนโลยีรถอัจฉริยะไร้คนขับ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA เพื่อศึกษาและออกแบบเครื่องมือสำรวจ ประมวลผล บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศความละเอียดสูง เพื่อ Smart City ตามหลักวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาต้นแบบที่ต่อยอดจากการสำรวจ เพื่อเป็นแหล่ง Data Infrastructure สำหรับการวางแผนการพัฒนาหรือลงทุนในด้านต่าง ๆ หรือใช้เป็นข้อมูลเพื่อการปฏิบัติการสำหรับโครงข่ายระบบการคมนาคมอัจฉริยะ โดยได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ โลเลเวลจนไปถึงไฮเลเวล ที่สร้างขึ้นมาโดยฝีมือคนไทย เพื่อในอนาคตก่อให้เกิดแรงบรรดาลให้กับบนักวิจัยและคนรุ่นใหม่ในการพัฒนางานด้านเทคโนโลยียานยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีคนควบคุมในเมืองไทย ขึ้นไปเทียบเคียงกับต่างประเทศที่ปัจจุบันอยู่ในระดับ 3-4

 

อนันต์ กิ่งสร ทิวากร กฤษมณี ผู้สื่อข่าว จ.ชลบุรี

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ณัฐวุฒิ" โอ่คนไทยอ่านขาดแล้ว เกมฝ่ายขวาจัด ปลุกชาตินิยม ล้มรบ. เย้ยรอบนี้ไม่ง่ายเหมือนก่อน
เปิด 40 รายชื่อ สรุปยอดผู้สมัคร ป.ป.ช. พบคนดังเพียบ
"ยายวัย 80 ปี" เครียดอยากจบชีวิต หลังถูก "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกโอนเงินเก็บเกลี้ยงบัญชี
"ร้านเนื้อย่างดัง" โพสต์ตามหา "ลูกค้า" โอนเงินค่าอาหารเกิน 2 แสนบาท
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน ปชช.ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคใต้ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
ระทึก ! บุกยิงบ้านผู้ใหญ่ โบว์ คาดว่า การเมือง ท้องถิ่นเป็นเหตุ
‘บิ๊กต่าย’ เผยตร.ทำงานยังคงทำคดี ‘ดิไอคอน’ ตามที่ DSI ร้องขอ
ครูบาอริยชาติ เกจิภาคเหนือวัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย สร้างพระพุทธเมตตา จากหยกรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักกว่า 10 ตัน
นายกฯ-สามี พา "น้องธิธาร" ลูกสาว วิ่งเล่นสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า
กระทรวงดีอี – ดีป้า เปิดศึกบิน – ซ่อมโดรนเกษตรชิงแชมป์ประเทศไทย ในรายการ “Thailand Agriculture Drone Competition 2024”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น