มอง “ตะวัน-แบม” ผ่านขบวนการปั่นกระแสล้มม.112

ส่อง "ตะวัน-แบม" สองนักกิจกรรมอดอาหารหวังพลีชีพ เพื่ออุดมการณ์ที่ไม่มีทางไปถึงผ่านกระบวนการจากปั่นกระแสที่ออกแบบหวังจุดประกายล้มมาตรา 112 ให้ได้ ย้อนถามจุดยืนเพื่อไทยผ่านแมสเซส "ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ" เรียกร้องปล่อยผู้ต้องขัง

นับตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 หลังจากกลุ่มคณะราษฎรล้มล้างการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย จากวันนั้นเวลาผ่านไปกว่า 85 ปี แต่วงล้อการเมืองไทยยังเต็มไปด้วยภาพความขัดแย้งเวียนมาไม่รู้จบ ซึ่งความเห็นต่างไม่ใช่เรื่องผิดถูก และประเทศไทยผ่านเหตุการณ์เสียเลือดเสียเนื้อมาหลายครั้งหลายครา แต่ไม่เคยมีคราวใดที่สถาบันอันเป็นที่รักของคนไทยจะถูกกลุ่มเยาวชนที่เรียกตัวเองว่า “สามนิ้ว” และ “ผู้ชักใย” จาบจ้วงได้เท่าทุกวันนี้

ตลอดหลายปีที่ผ่านมามีความพยายามของกลุ่มสาวนิ้วเดินเกมด้วยการปลุกม็อบลงถนนโดยหวังจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ขณะเดียวกันในทางการเมืองเป็นหน้าที่ของพรรคอนาคตใหม่ หรือพรรคก้าวไกลปัจจุบันเดินเกมในสภาเพื่อไปให้ถึงจุดหมายสุดแสนวิปลาส แม้ช่วงนึงพลังของพวกสามนิ้วแผ่ขยายออกไปจนน่าวิตกกังวัล แต่เมื่อเวลาผ่านไปแนวร่วมที่เคยมีหลักหมื่นหลักแสนกับร่อยหรอเมื่อบรรดาน้อง ๆ หนู ๆ รู้ว่า “ถูกหลอกใช้”

การปลุกผีเพื่อทำให้สถาบันสั่นคลอนเกิดขึ้นมาตลอด แต่ความพยายามดังกล่าวเกิดขึ้นมาอีกครั้งด้วยการใช้กระบวนการปั่นกระแสผ่านทาง “สาวก” สองสาวนักกิจกรรม น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ “ตะวัน” และ น.ส.อรวรรณ ภู่พงษ์ หรือ “แบม” ผู้ต้องหาคดี 112 ที่ประกาศจุดยืนถอนประกันตนเองก่อนยื่น 3 ข้อเรียกร้อง 1. ต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 2. ปล่อยผู้ต้องหาคดีการเมือง และ 3. ยกเลิก ม.112 และ ม.116 จากนั้นได้ประกาศอดน้ำและข้าวจนกว่าทุกข้อเสนอจะได้รับการปฏิบัติตาม

ถึงขณะนี้ “ตะวัน” และ “แบม” อดอาหารอยู่ในเรือนจำเป็นเวลานานถึง 5 วัน ในทางการแพทย์ถือว่า อันตรายยิ่งนัก เพราะจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขระบุไว้ว่า ปกติร่างกายของคนทั่วไปจะทนต่อภาวะขาดอาหารได้ 30 – 60 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล แต่ในทางกลับกันร่างกายคนปกติทั่วไปจะทนต่อภาวะขาดน้ำได้เพียง 3-7 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์เท่านั้น

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้การอดอาหารของสองสาวนักกิจกรรมถูกปลุกกระแสให้เกิดภาพของ “วีรสตรีนักต่อสู้” เพื่อให้ผู้ร่วมอุดมการณ์รับรู้ถึงสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบการเคลื่อนไหวจะมีบรรดาแนวร่วมสามนิ้วคอยอัปเดตอาการผ่านทางโซเชียลว่า ตะวัน และแบม ต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ถึงขนาดล้มหมอนนอนเสื่อหมดสติ ก่อนจะปลุกแนวร่วมให้ออกมาร่วมต่อสู้โดยสอดประสานไปกับการจัดกิจกรรมยืนหยุดขัง 112 นาทีที่หอศิลป์วัฒนธรรม แต่น่าเสียดายยิ่งนักเมื่อยืนหยุดขังไม่สามารถจุดกระแสต่อเติมเชื้อไฟได้อย่างที่หวัง ฝูงชนบางตาไม่ถึงครึ่งร้อย

ร้อนถึงศาสดาใหญ่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าคณะก้าวหน้า “ช่อ” พรรณิการ์ วานิช  และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย ส.ส.พรรคก้าวไกลต้องเดินทางมาร่วมอีเวนท์ยืนหยุดขังในช่วงเย็นวันที่ 24 มกราคม เพื่อหวังจะกระเตื้องกระแสที่แผ่วลงไปทุกวัน

นอกจากนี้ยังมีความพยายามเดินเกมสอดประสานจากสาวกอย่างนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ดาวดิน พร้อมกลุ่มทะลุฟ้า ทะลุวัง ทะลุแก๊ส ออกมานำมวลชน โดยมีนายอานนท์ นำภา ทนายความนักเคลื่อนไหว ใช้โซเชียลปั่นกระแสเพื่อบ่งบอกถึงวีรกรรมการเสียสละของตะวัน และแบม ตามด้วยการโฆษณาชวนเชื่อโดยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงตาม 3 ข้อเรียกร้อง

ไม่เว้นแม้แต่นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า “ผมขอเสนอข้อเรียกร้องที่ทำได้ทันที ระงับสถานการณ์ที่อาจบานปลายได้ทันเวลา คือปล่อยทั้ง 2 คนและเพื่อนๆ ที่ติดคุกอยู่ออกมาเสียก่อน….. เด็กๆ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ข้อนี้ผมไม่ปฏิเสธ แต่เด็กพวกนี้ไม่ใช่อาชญากร ผมเชื่อเช่นนั้น ปล่อยเด็กออกจากคุกเถอะครับ”

การแสดงความคิดเห็นของนายณัฐวุฒิมีประเด็นต้องถามกลับไปถึงผู้ใหญ่ในพรรคเพื่อไทยว่า เห็นด้วยกับสิ่งที่นายณัฐวุฒิ เจื้อยแจ้วหรือไม่ และถ้าเห็นด้วยเพื่อไทยจะจับมือร่วมกับพรรคก้าวไกลเสนอแก้กฎหมายมาตรา 112 หรือไม่ ตรงนี้เพื่อไทยต้องตอบให้ชัด อย่าเล่นการเมืองแบบตีกินสองฝั่ง เพื่อหวังจะแบ่งแต้มจากเยาวชนกลุ่มสาวนิ้วในการเลือกตั้งที่จะมาถึง

ถึงตรงนี้คงต้องมองให้ทะลุถึงพฤติกรรมของตะวันและแบม ว่าการพลีชีพ อดน้ำ อดข้าว มีวัตถุประสงค์ไปเพื่ออะไร กระบวนการยุติธรรมกลั่นแกล้งจริงหรือไม่ เพราะ 1.ตะวัน และแบมต้องไม่ลืมว่าตนเองเป็นผู้ต้องหาในคดี ม.112 เนื่องจากพฤติกรรมความผิดชัดเจน ดังนั้นในทางกฎหมายถือว่าทั้งคู่คือผู้กระทำความผิด จึงต้องถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ใครถูกผิดต้องว่าตามหลักฐานที่ต้องนำมาหักล้างกันในชั้นศาล ดังนั้นเมื่อตะวัน และแบม ทำผิดจะมาอ้างว่าถูกรังแกคงเป็นไปไม่ได้

 

2.ระหว่างพิจารณาคดีผู้ต้องหามีสิทธิยื่นขอประกันตัว ซึ่งทั้งตะวันและแบม หรือแม้กระทั่งผู้ต้องหารายอื่น ๆ ต่างได้รับสิทธิตามหลักสากล เพราะศาลใช้ดุลพินิจด้วยหลักนิติธรรม แต่ปรากฏว่าที่ผ่านมาผู้ต้องหาหลายคนเช่นนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง กลับกระทำผิดซ้ำซากไม่ทำตามข้อตกลงที่ศาลกำหนด เมื่อศาลปราณีให้ประกันตัวซ้ำแทนที่จะสำนึก คนกลุ่มนี้กลับย่ามใจถึงขนาดเคยกล้าอวดประโคมว่า “ศาลคือพวกเรา”

ขณะเดียวกันหากไม่ได้รับการประกันตัวก็จะออกมาตีโพยตีพายวิจารณ์ระบบกระบวนการยุติธรรมกับมาตรา 112 อย่างสาดเสียเทเสียโดยไม่เคยย้อนดูพฤติกรรมตนเองว่าต่ำตมเพียงใด

สุดท้ายข้อ 3.การที่ตะวันและแบมยื่นถอนประกันตนเองเพราะต้องการจุดประเด็นการเมืองโดยหวังจะปลุกผีสามนิ้วเพื่อล้มมาตรา 112 ใช่หรือไม่ เพราะตะวัน แบม ย่อมทราบดีว่า การยื่นถอนประกันย่อมส่งผลให้ทั้งคู่ต้องเดินเข้าเรือนจำทันที ศาลไม่มีสิทธิไปห้ามปราม หรือยับยั้ง

ดังนั้นการกระทำดังกล่าวภาษากฎหมายเรียกกันว่า เป็นการกระทำที่เล็งเห็นต่อเป้าประสงค์ดังที่ตะวัน แบม และผู้อยู่เบื้องหลังต้องการออกแบบให้สถานการณ์มันเป็นไปอย่างที่ต้องการเสมอมา…..?

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น