สุดยอดไอเดียใหม่ฝีมือ start up อินเดีย แปลง "ขยะอันตราย" อย่างก้นบุหรี่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน รีไซเคิลแล้วนับพันล้านชิ้น
ข่าวที่น่าสนใจ
พบไอเดียสุดล้ำ กับการรีไซเคิลยุคใหม่ ไฉไลกว่าเดิม! คราวนี้เป็นผลงานของ Start Up อินเดีย แปลง “ขยะอันตราย” อย่าง ก้นบุหรี่ ที่เกลื่อนกลาดตามถนนในเมือง เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน รีไซเคิลแล้วกว่าพันล้านชิ้น
รู้หรือไม่? บุหรี่ จัดเป็นขยะ อันตราย อันดับต้น ๆ ที่พบตามข้างทางไม่น้อยกว่าพลาสติกในปัจจุบัน และปล่อยสารพิษลงในแม่น้ำลำคลองและสถานที่ต่าง ๆ จนเกิดการปนเปื้อนหลายล้านตัน เนื่องจาก บุหรี่ ย่อยสลายตัวเองไม่ได้นั่นเอง
แต่ต่อไปนี้ ชาวอินเดียไม่ต้องกังวลอีกต่อไป! เมื่อบริษัท Start Up อินเดีย อย่าง Code Effort ปิ๊งไอเดียใหม่ นำเอาก้นบุหรี่ที่ถูกทิ้งเกลื่อนตามถนนในเมืองมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตาหรือหมอน กระดาษรีไซเคิล โดยปัจจุบันสามารถรีไซเคิลก้นบุหรี่ได้มากถึงล้านชิ้น/ปี
ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย เนื่องจาก ก้นบุหรี่เต็มไปด้วยสารอันตรายมากมาย โดยไส้กรองก้นบุหรี่ทำจากเส้นใยเซลลูโลสอะซีเตต (Cellulose acetate) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ส่วนเศษยาสูบด้านในประกอบไปด้วย
- สารท็อกซิน (Toxin)
- นิโคติน (Nicotine )
- สารหนู
- ยาฆ่าแมลง
- นิโคตินเหล็ก
- สารก่อมะเร็งอีกกว่า 60 ชนิด
- เอทิลฟีนอล (Ethyl phenol)
ดังนั้น กระบวนการย่อยสลายนั้นจะต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
- รวบรวมก้นบุหรี่ที่เก็บมาจากถนนและตามพื้นที่ต่าง ๆ ในเมือง
- นำเอาก้นบุหรี่มาแยกชิ้นส่วน
- ทำความสะอาด และฟอกสี
- ก่อนที่จะนำมาทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ตุ๊กตาและหมอน
- ขณะที่กระดาษได้นำมารีไซเคิลเป็นกระดาษใหม่อีกครั้ง
นอกจากจะลดปัญหา “ขยะอันตราย” แล้ว ไอเดียดังกล่าวยังช่วยสร้างงานสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้าน โดยชาวบ้านสามารถเก็บก้นบุหรี่ที่รวบรวมได้มาขายที่บริษัท หรือใครก็สูบบุหรี่ก็สามารถสามารถทิ้งก้นบุหรี่ใส่กล่องที่บริษัทตั้งไว้ได้อีกด้วย เรียกได้ว่า เป็นไอเดียที่นอกจากจะลดปัญหาขยะแล้ว ยังช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้ และยังช่วยให้สภาพแวดล้อมสะอาดและปลอดภัยมากกว่าเดิมอีกด้วย
ข้อมูล : abc
ข่าวที่เกี่ยวข้อง