ทั้งนี้เพื่อจะยื่นหนังสือ ข้อเรียกร้องถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ฯ โดยมีใจความว่า
“เรียน อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
ตามที่ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และอรวรรณทภู่พงษ์ ได้ถอนประกันตัวเอง ศาลมีคำสั่งคุมขัง 16 มกราคม 2566 มีข้อเรียกร้อง 3 ข้อคือ 1. ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองทุกคน 2. ปฏิรูปยุติธรรม ศาลเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซง 3. ประกันสิทธิเสรีภาพยกเลิกมาตรา 112 ทั้งสองคนได้เริ่มการอดอาหารน้ำดื่มจนเกิดอาการสาหัสส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์รังสิตในภาวะที่เสี่ยงอันตรายแก่ชีวิตขณะนี้สาธารณชนได้แสดงออกในการสนับสนุนข้อเรียกร้อง 3 ข้อของตะวันและแบม จึงขอ ร้องเรียนข้อเท็จจริงมายังอาธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาดังต่อไปนี
1. รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 29 วรรค 2 กำหนดไว้ว่าในคดีอาญาให้สันนิษฐานไปก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ดังนั้นการคุมขังระหว่างคดีไม่ถึงที่สิ้นสุดจึงเป็นการขัดต่อหลักการผู้บริสุทธิ์เป็นการตัดสินล่วงหน้าว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำความผิดไปแล้วส่วนวรรค 3 ยังระบุอีกว่าการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้หลบหนีซึ่งหมายถึงศาลจะสั่งให้คุมขังได้เพียงกรณีเดียวคือการหลบหนีดังนั้นการที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ได้รับการประกันตัวหรือการปล่อยตัวชั่วคราวมีเงื่อนไขห้ามออกนอกเคหสถาน ห้ามวิจารณ์ห้ามร่วมกันชุมนุมที่วุ่นวายต้องติดกำไร EM จึงเป็นการใช้ดุลยพินิจของสถานที่เกินไปกว่ารัฐธรรมนูญกำหนดและเป็นการขัดต่อสิทธิเสรีภาพดังนั้นทั้งตะวันและแบมจึงเป็นการปฏิเสธเงื่อนไขข้อกำหนดการประกันตัวที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนดังกล่าว
2. น.ส.ณัฐนิช ดวงมุสิทธิ์ หรือใบปอ นายโสภณ สุรฤทธิ์ธำรง ถูกศาลมีคำสั่งถอนประกันตัวเมื่อ 9 ม.ค 66 ด้วยเหตุที่ไปเข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านการประชุมเอเปค ในวันเดียวกันนี้ศาลได้เรียกให้อัยการและตำรวจทำการไต่สวนเพื่อถอนประกันตัวตะวันตุลานนท์เพราะไปเข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านการประชุมเอเปคเช่นกัน แต่พนักงานอัยการและตำรวจได้แจ้งว่าไม่ได้รับรู้เรื่องนี้มาก่อนโดยศาลแจ้งว่าศาลมีอำนาจไต่สวนถอนประกันตัวได้เองแต่ทนายความแจ้งว่าไม่ได้รับทราบสำนวนการไต่สวนมาก่อนจึงเลื่อนออกไปในวันที่ 1 มีนาคม 2566 ดังนั้นในวันที่ 16 มกราคม 2566 ตะวันและแบมจึงขอถอนประกันตัวเองเพราะเห็นว่าการไต่สวนถอนประกันจากเหตุไปเข้าร่วมการชุมนุมเป็นการขัดต่อสิทธิเสรีภาพอีกทั้งอย่างไรเสียศาลก็มีคำสั่งให้ถอนประกันตัวทั้งสองคนอยู่แล้วการขอถอนประกันตัวของตะวันได้ยื่นคำร้องระบุด้วยว่าเงื่อนไขการประกันตัวขาดต่อหลักสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญพร้อมทั้งประกาศข้อเรียกร้อง 3 ข้อดังกล่าว
3. การดำเนินคดีต่อประชาชนตามมาตรา 116 และ 112 นั้นเกิดขึ้นจากความเดือดร้อนของประชาชนจากการบริหารงานที่ล้มเหลวของรัฐบาลทำให้ประชาชนออกมารวมตัวกันแสดงความคิดเห็นและชุมนุมประท้วงรัฐบาลแต่รัฐบาลกลับใช้มาตรา 112 และ 116 เพื่อคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชนเมื่อนำคดีสู่ศาลโดยที่ศาลสั่งคุมขังและกำหนดเงื่อนไขที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพย่อมเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายรัฐในการควบคุมสิทธิเสรีภาพประชาชน
4. พ่อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อในส่วนของศาลสามารถดำเนินได้ทันทีอยู่แล้วกล่าวคือ 1 ปล่อยนักโทษทางการเมืองทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงออกทางการเมืองเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและยังเป็นการระงับความขัดแย้งดังที่ศาลยุติธรรมในปี 2559 – 2560 ได้เคยระงับการใช้มาตรา 112 มาก่อนเพราะเป็นพระราชประสงค์ของกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ให้งดการบังคับใช้มาตรา 112 และ2. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้ศาลเป็นอิสระปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลักการสำคัญและเป็นวิสัยทัศน์ของศาลยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้วดังนั้นเพียงแต่ผู้บริหารศาลประกาศขอ กำหนดให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนการไต่สวนตัดสินใจในการอำนวยความยุติธรรมได้โดยอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจทั้งปวงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้สิทธิเสรีภาพตามครรลองของประชาธิปไตย
ข้อเรียกร้องของทั้งสองคนเป็นการเรียกร้องเพียงแต่ขอให้ศาลคำนึงถึงหลักนิติธรรมหลักสิทธิมนุษยชน ปกป้องสิทธิเสรีภาพราษฎร ไม่ให้ศาลเป็นเครื่องมือการแทรกแซง การดำเนินคดีจากอิทธิพลภายนอกตามประเพณีการปกครองดังนั้นการที่ตะวันและแบมยอมใช้ชีวิตที่เจ็บปวดที่อาจถึงแก่ชีวิตก็เพื่อแสดงให้สังคมเห็นคุณค่าของคำว่าสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมนั้นมีความหมายยิ่งกว่าลมหายใจของตนเองเป็นความต้องการของประชาชนที่จะทำให้สังคมไทยมีความก้าวหน้าด้วย สิทธิมนุษยชนเสรีภาพและประชาธิปไตย จึงขอให้ศาลโปรดพิจารณาข้อเรียกร้องตามข้อ 1,2 ที่สามารถทำได้ทันทีเป็นการเร่งด่วนเพื่อเป็นการรักษาชีวิตทั้งสองคนและปกป้องสิทธิเสรีภาพของราษฎรทั้งปวง
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง ”
ลงนามท้ายหนังสือโดย น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม กลุ่มทะลุวัง, น.ส.พิชญา เกตุอุดม กลุ่มโมกหลวงริมน้ำ, น.ส.ธนพร วิจันทร์ เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน, นายเจษฎา ศรีปลั่ง เครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรี, นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข กลุ่ม 24 มิถุนายนประชาธิปไตย
ทั้งนี้จะมีการจัดกิจกรรมจุดเทียนและตัดกำไร EM บริเวณหน้าศาลอาญารัชดาอีกด้วย อย่างไรก็ตามเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาออกมาเป็นตัวแทนรับหนังสือ กลุ่มคาร์ม็อบจึงได้ประกาศยุติการชุมนุม
ภาพ : ทศฤทธิ์ วัฒนราษฎร์