โซเชียลเดือดอีกยก “เพจดัง” เปิดข้อมูล เขมรเปลี่ยนใช้คำว่า “สงกรานต์” ตามอย่างไทย

โซเชียลเดือดอีกยก "เพจดัง" เปิดข้อมูล เขมรเปลี่ยนใช้คำว่า “สงกรานต์” ตามอย่างไทย

เรียกว่าเป็นประเด็นร้อนอีกรอบเลยก็ว่าได้ หลังผ่านพ้นเรื่องดราม่าเรื่องชื่อศิลปะการต่อสู้อย่าง “มวยไทย” ที่ถูกกัมพูชา เปลี่ยนชื่อเป็น “กุน ขแมร์” ในซีเกมส์นั้น ทำเอาทั้งนักมวยไทยต้องออกมาโต้กับแบบดุเดือด รวมถึง “บัวขาว” ก็ยังแสดงจุดยืนว่า อย่ามาเคลม เพราะตัวเองนั้นเป็นไทยแท้ ไม่ใช่เขมร

ล่าสุดในเพจเฟซบุ๊ก โบราณนานมา ได้เผยข้อมูลล่าสุด ที่เขมรเปลี่ยนมาเรียกเทศกาลหนึ่ง ให้เหมือนกับบ้านเราว่า “สงกรานต์” โดยระบุว่า “เขมรใช้คำว่า “สงกรานต์” ตามไทย แทนคำเดิม คือ “โจล-ชนัม-ทเม็ย”

นอกจากจะมีดรามาเรื่องชื่อศิลปะการต่อสู้อย่าง “มวยไทย” ที่ถูกกัมพูชา เปลี่ยนชื่อเป็น “กุน ขแมร์” ในซีเกมส์ปีนี้ ที่ประเทศกัมพูชา โดยไม่ยอมใช้ชื่อ “มวย” แต่ว่าลอกกติกา “มวยไทย” มาทั้งดุ้นแล้ว ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่อง คือ “ประเพณีสงกรานต์” ที่ในปีนี้ กัมพูชาโปรโมตใช้ชื่อประเพณีว่า “สงกรานต์ | សង្ក្រាន្ | Sankranta” ตามไทย ทั้งที่ย้อนกลับไปเมื่อ ๒-๓ ปีก่อน กัมพูชาจะใช้ชื่อประเพณีว่า “โจล-ชนัม-ทเม็ย | ចូលឆ្នាំថ្មី | Chaul Chnam Thmey”

“เทศกาลน้ำ” ในภูมิภาคนี้ก็จะมีอยู่หลายประเทศ และจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น
ประเทศเมียนมา (พม่า) เรียกว่า “ตะจาน” ภาษาพม่า : သင်္ကြန်) ภาษาอังกฤษ : Thingyan

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ประเทศลาว เรียกว่า “ปีใหม่ลาว” ภาษาลาว : ປີໃຫມ່ລາວ ภาษาอังกฤษ : Lao New Year
ประเทศกัมพูชา (เขมร) เรียกว่า “โจล ชนัม ทเม็ย” ภาษาเขมร : ចូលឆ្នាំថ្មី ภาษาอังกฤษ : Chaul Chnam Thmey
ส่วนในประเทศไทย เรียกว่า “สงกรานต์” ภาษาอังกฤษ : Songkran ซึ่งคำนี้มาจากภาษาสันสกฤต “सङ्क्रान्ति | saṃkrānti” (สงฺกฺรานฺติ) มีความหมายว่า ผ่านไป, ข้ามไป, ไปด้วยกัน, เชื่อมหรือร่วมกัน, เปลี่ยนไป, ส่งต่อไป, อพยพไป, เคลื่อนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ไทยเราเอามาเขียนเป็น “สงกรานต์” (ต การันต์ ไม่ใช่ ติ) ความหมายทางวิชาการคือ เวลาที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ความหมายที่เข้าใจกันคือ “เทศกาลปีใหม่ไทย”

แต่ที่น่าสนใจ คือ ปีนี้ ๒๕๖๖ ประเทศกัมพูชา โปรโมตและเรียก “เทศกาลน้ำ” ของประเทศตนเองว่า “สงกรานต์ | សង្ក្រាន្ | Sankranta” ตามประเทศไทย (ลิงก์โปรโมตเทศกาล : https://bit.ly/3H4jQET)

ซึ่งก่อนหน้าที่ชาวเน็ตกัมพูชาบางส่วนก็พยายามเคลมคำนี้ Sankranta (សង្ក្រាន្) ว่า ปรากฏในกำแพงหินที่เขมรนะ เห็นไหมว่าคำคำนี้ กัมพูชา ไม่ได้ลอกไทยนะ แต่เดี๋ยวก่อน ต่อให้ในกำแพงหินปรากฏคำว่า “Sankranta (សង្ក្រាន្)” แต่คำนี้กัมพูชา (เขมร) ไม่เคยใช้เรียก “เทศกาลน้ำ” หรือ “เทศกาลปีใหม่” มาก่อน จนกระทั่ง ประเทศไทยทำให้ทั่วโลกรู้จักเทศกาลน้ำในนามว่า “สงกรานต์ (Songkran)” แน่นอนพอนึกถึงคำนี้ ต่างชาติก็จะนึกถึง “ประเทศไทย” มิใช่ “กัมพูชา”

ซึ่งเทศกาล “สงกรานต์ (Songkran)” ในประเทศไทย ก็ประสบความสำเร็จระดับโลก ได้สร้างชื่อและกอบโกยเงินมหาศาลจากชาวต่างชาติ จากการประสบความสำเร็จของ “สงกรานต์ไทย” นี้เอง อาจทำให้กัมพูชาเล็งเห็นแล้วว่า การจะใช้ชื่อเทศกาลน้ำว่า “โจล-ชนัม-ทเม็ย | ចូលឆ្នាំថ្មី | Chaul Chnam Thmey” แบบเดิม คงจะไม่ประสบความสำเร็จเหมือนประเทศไทยและสร้างรายได้มหาศาลก็คงยาก เลยเปลี่ยนชื่อเทศกาลน้ำของตนเสียเลยเป็น “สงกรานต์ | សង្ក្រាន្ | Sankranta” การทำแบบนี้เกิดภายใต้กรอบการคิดที่ว่า “วัฒนธรรมอะไรที่ประเทศไทย (สยาม) ทำนั้น คือ สิ่งที่ขโมยมาจากเขมรทั้งสิ้น” จะเสียเวลาไปสรรค์สร้างใหม่ทำไม เคลมว่าเป็นของเราคงจะง่ายเสียกว่า
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการสูญหายไปของ “วัฒนธรรมเขมร” แบบดั้งเดิม ที่ผ่านมากัมพูชาถือ “วัฒนธรรมอินเดีย” เป็นวัฒนธรรมครูเหมือน “ไทย” และ “ลาว” แต่กัมพูชาก็ไม่ยอมรับวัฒนธรรมความเชื่อแบบเวียดนามที่มาจากจีน ดังนั้น กัมพูชาจะคุ้นเคยทางวัฒนธรรมกับ “ไทย” และ “ลาว” มากกว่า เพราะภูมิศาสตร์ของประเทศกัมพูชาล้อมไปด้วย “เผ่าไท” (กลุ่มตระกูลไท-กะได) กัมพูชาตอนนี้จึงอาจจะอยู่ในสภาวะ “การหลอมรวมหรือกลืนกลายทางวัฒนธรรม”

ซึ่งปรากฏการณ์นี้ก็กำลังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ เช่น คนกัมพูชาเริ่มรู้ภาษาไทยมากขึ้น ภาษาเขมรเริ่มมีเสียงวรรณยุกต์ ศัพท์ไทยบางคำก็เริ่มจะแทรกซึมเข้าไปในภาษาเขมรมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงการแต่งกายเริ่มคล้ายไทย รสนิยมการกินการใช้ อาหาร ฯลฯ เริ่มเหมือนไทย
ทาง “ประเทศไทย” นั้นรู้จักว่าอะไรเป็น “วัฒนธรรมของไทย” อะไรเป็น “วัฒนธรรมของเขมร” แต่ในเมื่อกัมพูชาไม่รู้ จึงเลยแยกแยะไม่ได้ เมื่อแยกแยะไม่ได้จึงรับ “วัฒนธรรมไทย (สยาม)” เข้าไปเต็ม ๆ แบบไม่รู้ตัว
บรรณานุกรม
(๑) สงกรานต์ [1] (บาลีวันละคำ 336). https://dhamtara.com/?p=1973
. (๒๔ มกราคม ๒๕๖๖)
(๒) สงกรานต์ 3 วัน 13-15 เม.ย.เริ่มมีเมื่อใด ปีใหม่ไทยในอดีตเปลี่ยนไปมา ชาวบ้านตามตรวจดูวันเอง. https://www.silpa-mag.com/history/article_31026
. (๒๔ มกราคม ๒๕๖๖)”

 

 

 

 

งานนี้บอกเลยว่า ทำเอาโซเชียลเดือดอีกรอบ และเพจเฟซบุ๊กโบราณนานมา ยังคอมเม้นต์ด้วยว่า ก็อปทุกดอก แล้วบอกออริจินัล เกลียดไทย แต่ก็อยากเป็นไทยใจแทบขาด ส่วนชาวเน็ตก็แสดงความคิดเห็นกันอย่างดุเดือด เพจเขมรเองก็เคยบอกว่า เขมรใช้คำว่า “สงกรานต์” ตามไทย แต่เหมือนจะโดนเขมรคลั่งถล่มจนต้องลบโพสต์ไปครับ

ลูก​หลานพระยาละแวก​นี่มันตัวตึงก๊อปปี้​จริง ๆ

เหนื่อยกับคนประเทศนี้ แต่อย่าเอามาเป็นส่วนหนึ่งของไทยเลยนะครับ ภาระชัด ๆ อย่ายุ่งกับเขาได้ดีที่สุด คนประเภทนี้.. คบยาก..​

ทำในสิ่งที่เขาทำจนมีชื่อเสียงแล้ว แล้วทำตาอย่างเขาอย่างดีก็เป็นได้แค่ตัวสำรองหรือของปลอมเท่านั้นแหละ

เหนื่อยใจกับประเทศนี้จริง ๆ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เจ้าคณะอำเภอสั่งนิมนต์  “พระอาจารย์ชิน” พ้นสำนักสงฆ์ใน 7 วัน หลังปลุกเสก “หมูเด้ง” ลูกศิษย์เศร้าพระอาจารย์เป็นพระสายปฏิบัติ
ผบ.ทร.ชื่นชมนักรบ 356 นาย เสียสละช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยพื้นที่เชียงราย
"ผบ.ทร" ตรวจเยี่ยม หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด ยกระดับกำลังพล-เครื่องมือ ทุกมิติ ย้ำรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่
"เจ้าอาวาสวัดดัง" พิษณุโลก เครียดหนัก เจ้าภาพกฐินเทงาน ซ้ำจ้างลิเกคณะดังมาแสดง กลับไม่จ่ายเงิน
“ชูศักดิ์” เผยเพื่อไทยตั้งวงวาง 3 สถานการณ์เร่งแก้ รธน. ย้ำยังเป็นเรื่องที่อยู่ในเป้าหมาย
"บิ๊กเต่า" เผยกองปราบเร่งสอบปม "ทนายตั้ม" รีดเงินบอสพอล 7.5 ล้าน
Ripley's Believe It or Not! Pattaya เปิดตัวเครื่องเล่นใหม่ตัวที่ 9 THE LOST PYRAMID การผจญภัย ล่าสมบัติในพีระมิดที่สูญหาย
"ทนายเจ๊อ้อย" เผยเหตุสอบปากคำนานเ ชี้ตร.เก็บทุกประเด็น ลั่นไม่มียอมความ
วัดหนองฆ้อ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พุทธาภิเษกพระผงเหนือดวงเศรษฐี หลวงพ่อทองสุข รุ่นที่ระลึกงานทอดกฐิน เปิดให้บูชาเนื่องในวันทอดกฐินสามัคคีประจำปีของวัด รายได้นำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
วัดหนองฆ้อ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พุทธาภิเษกพระผงเหนือดวงเศรษฐี หลวงพ่อทองสุข รุ่นที่ระลึกงานทอดกฐิน เปิดให้บูชาเนื่องในวันทอดกฐินสามัคคีประจำปีของวัด รายได้นำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น