สิทธิ “บัตรทอง” ตรวจยีนกลายพันธุ์มะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2

สิทธิ "บัตรทอง" บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ค้นหายีนกลายพันธุ์ BRCA1/BRCA2 ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป เช็คเงื่อนไขได้ที่นี่

สปสช. เพิ่มสิทธิประโยชน์ สิทธิ “บัตรทอง” บริการ ตรวจ มะเร็ง ปาก มดลูก ค้นหาการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2 สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่เป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูง และญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สปสช. แจงแนวทางให้บริการสิทธิประโยชน์ใหม่ “บัตรทอง” 30 บาท ตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อค้นหาการกลายพันธุ์ของยีน

  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมของญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์
  • ลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคร้ายให้กับประชาชนไทย

โดยผู้ที่ได้รับบริการ คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมตามเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง (ขณะนี้ให้บริการเฉพาะผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิ “บัตรทอง” 30 บาทเท่านั้น)โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม

  • เมื่ออายุไม่เกิน 45 ปี

2. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมที่อายุ 46-50 ปี

  • ร่วมกับมีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งซ้ำหลายครั้ง
  • หรือมีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือ บุตรของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม) อย่างน้อย 1 คน ที่มีประวัติโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก

บัตรทอง, สิทธิบัตรทอง, สปสช., โรคมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2, โรคมะเร็งเต้านม, กลายพันธุ์ของยีน, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, ยีนกลายพันธุ์, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, วินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม, ยีนโรคมะเร็งเต้านมชนิด BRCA1/BRCA2, มะเร็งในผู้หญิง

3. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมเมื่ออายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี ร่วมกับข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

  • มีประวัติญาติสายตรงอย่างน้อย 1 คน ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุไม่เกิน 50 ปี หรือมะเร็งเต้านมในผู้ชาย หรือ มะเร็งรังไข่ หรือ มะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • มีประวัติผู้ป่วยในครอบครัวอย่างน้อย 3 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม
  • มีประวัติในครอบครัวสายตรงอย่างน้อย 2 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก

4. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกช่วงอายุ

  • ที่เป็นมะเร็งเต้านมแบบ triple negative หรือเป็นมะเร็งเต้านมในผู้ชาย

ทั้งนี้ หากผลการตรวจคัดกรองยีนในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูง พบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านมชนิด BRCA1/BRCA2 แล้ว ญาติสายตรงซึ่ง ได้แก่

  • พ่อ แม่
  • พี่ น้อง หรือ บุตร

ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จะได้รับการติดตามให้มาตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาการเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมให้กับญาติสายตรงฯ ต่อไป

บัตรทอง, สิทธิบัตรทอง, สปสช., โรคมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2, โรคมะเร็งเต้านม, กลายพันธุ์ของยีน, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, ยีนกลายพันธุ์, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, วินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม, ยีนโรคมะเร็งเต้านมชนิด BRCA1/BRCA2, มะเร็งในผู้หญิง

ในการรับบริการตามสิทธิประโยชน์นี้ แพทย์จะเป็นผู้ที่วินิจฉัยผู้ป่วยและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงเพื่อเข้ารับบริการตรวจ ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เข้าเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงตามหลักเกณฑ์ 4 ข้อข้างต้น แพทย์จะเป็นผู้ที่วินิจฉัยและประเมิน เพื่อเข้ารับบริการตรวจตามสิทธิประโยชน์ หรือผู้ป่วยสามารถสอบถามจากแพทย์ที่รักษาท่านเพื่อให้วินิจฉัยว่าเข้าเกณฑ์หรือไม่

โดยการวินิจฉัยและประเมินนี้เป็นไปตามแนวปฏิบัติ (Guideline) การตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและญาติสายตรงฯ ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 

สำหรับหน่วยบริการแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. หน่วยที่ให้บริการเก็บตัวอย่าง จำนวน 69 แห่ง

  • ทำหน้าที่ให้บริการประเมินความเสี่ยงทางพันธุกรรม
  • บริการให้คำปรึกษาก่อนและหลังการส่งตรวจทางพันธุกรรม
  • บริการเก็บตัวอย่างและจัดส่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ
  • และมีศักยภาพให้บริการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ

บัตรทอง, สิทธิบัตรทอง, สปสช., โรคมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2, โรคมะเร็งเต้านม, กลายพันธุ์ของยีน, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, ยีนกลายพันธุ์, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, วินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม, ยีนโรคมะเร็งเต้านมชนิด BRCA1/BRCA2, มะเร็งในผู้หญิง

2. หน่วยที่ให้บริการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 จำนวน 7 แห่ง

  • มีทั้งหน่วยบริการภาครัฐหรือภาคเอกชน ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO15189 ในรายการทดสอบ BRCA1/2 หรือ
  • ได้รับการรับรองมาตรฐานการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ที่ผ่านมา สปสช.ได้ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายบริการสาขาโรคมะเร็งระดับเขต กระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดเครือข่ายระบบบริการ การขับเคลื่อนการตรวจคัดกรองฯ พร้อมจัดระบบการส่งต่อการตรวจไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพในการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการ

 

สถานการณ์ประเทศไทย มะเร็งเต้านมถือเป็นมะเร็งในผู้หญิงที่มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับ 1 โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (2020) ระบุ

  • พบความชุกของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมของหญิงไทยที่ 213.32 คนต่อ 100,000 คน
  • สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งผู้ที่มียีน BRCA1/BRCA2 มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึงร้อยละ 80
  • ดังนั้น สิทธิประโยชน์บริการนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยง ลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้

 

 

 

ข้อมูล : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

น้ำใจแทร่ๆ "เจ้าของเต็นท์รถ" สระแก้ว ส่งมอบรถกระบะคันใหม่ พร้อมจยย. ให้ลุงป้า "มูลนิธิธรรมนัสฯ" สมทบเงิน 4 แสนไว้รักษาตัว
“รองโฆษกรัฐบาล” ยืนยันค่าไฟไม่ได้เพิ่ม แต่ลดลงเหลือ 3.99 บ.ต่อหน่วย
โค้งสุดท้าย "พิพัฒน์" นำทีมภูมิใจไทย เคาะประตูบ้าน ชาวเมืองคอน ขอเสียงหนุน "ไสว" เป็นสส.เขต 8
ชาวเมืองน่าน เข้าพบ "นิพนธ์" อดีตรมช.มหาดไทย ผลักดันพิสูจน์สิทธิ ออกโฉนดที่ดินสำเร็จ หลังรอคอยนานกว่า 30 ปี
"สันติสุข" ปลื้มปริ่ม "ในหลวง-พระราชินี" ทรงขับเครื่องบิน เสด็จฯเยือนราชอาณาจักรภูฏาน ทรงได้รับการถวายพระเกียรติ สุดประทับใจคนไทย
“ทักษิณ” ลั่นไม่สั่งใครเบรค “กัน จอมพลัง” ยุ่งคดีพีช ฟาด "เต้ มงคลกิตติ์" หลังปูดข่าว
"เจ้าอาวาส" สุดทนขึ้นป้าย “ไม่มีเงินให้ขโมยแล้ว” หลังคนร้ายงัดตู้บริจาคหลายครั้ง
“ทักษิณ” กลับเชียงใหม่อีกครััง เปิดให้รดน้ำดำหัว ขอพรในเทศกาลสงกรานต์ ก่อนช่วย “อัศนี” หาเสียงพรุ่งนี้
“นายกฯ” เตรียมลุยประชุม ครม.สัญจร หลังออกจาก รพ.แล้ว จ.นครพนม 28-29 เม.ย.นี้
"ดีอี" ยกระดับศูนย์ AOC 1441 สู่ ศปอท. เพิ่มประสิทธิภาพบูรณาการข้อมูลปราบ “โจรออนไลน์”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น