“ง่วงหลังกินข้าว” รู้จักฟู้ดโคม่า 4 สาเหตุ ตลกร้ายหลังกินอิ่ม

อาการฟู้ดโคม่า, ง่วงหลังกินข้าว, กินข้าวเสร็จแล้วง่วงนอน, ง่วงนอนหลังกินข้าวเย็น, วิธีแก้ อาการง่วง นอน หลังกินข้าว, กินอิ่ม, ทริปโตเฟน, กลูโคส, กินอาหาร, ฮอร์โมนอินซูลิน, ง่วงหลังท้องอิ่ม, โคลีซิสโตไคนิน

เปิด 4 สาเหตุชัด ๆ ทำไมถึง "ง่วงหลังกินข้าว" หรือฟู้ดโคม่า พร้อมแนะวิธีป้องกันอาการยอดฮิต ไม่ให้กินอิ่มแล้วง่วงหนักมาก

ทำความรู้จักที่มาของ อาการ “ง่วงหลังกินข้าว” กินข้าวเสร็จแล้วง่วงนอน ง่วงนอนหลังกินข้าวเย็น รู้จักกันในชื่อ ฟู้ดโคม่า พร้อมแนะวิธีแก้ อาการง่วง นอน หลังกินข้าว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ทำความรู้จักอาการฟู้ดโคม่า หรืออาการ “ง่วงหลังกินข้าว” อาการยอดฮิตที่หายคนต้องเผชิญ กินอิ่มทีไร เป็นอันหนังตาหย่อนทุกที ยิ่งเจอแอร์เย็น ๆ ยิ่งเบลอยกใหญ่ เปิด 4 สาเหตุชัด ๆ ทำไมอาการนี้ถึงเกิดขึ้นทุกครั้งหลังกินเสร็จ มีคำตอบให้แล้ว

อาการของฟู้ดโคม่า

  • ขณะที่เรารับประทานอาหารในแต่ละมื้อที่มักประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เมื่อผ่านระบบการย่อยอาหารแล้วร่างกายจะกลั่นกรองน้ำตาลหรือกลูโคส ที่สามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดนำไปใช้เป็นพลังงานในการใช้ชีวิตประจำ
  • แต่ก็ยังมีกรดอะมิโนที่ชื่อ ทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งสารนี้จะเข้าสู่สมองและระบบประสาท ทำให้ลดความตึงเครียด และทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้

อาการฟู้ดโคม่า, ง่วงหลังกินข้าว, กินข้าวเสร็จแล้วง่วงนอน, ง่วงนอนหลังกินข้าวเย็น, วิธีแก้ อาการง่วง นอน หลังกินข้าว, กินอิ่ม, ทริปโตเฟน, กลูโคส, กินอาหาร, ฮอร์โมนอินซูลิน, ง่วงหลังท้องอิ่ม, โคลีซิสโตไคนิน

4 สาเหตุ ตลกร้ายที่ทำให้เกิดอาการฟู้ดโคม่า

1. ระบบประสาทแปรปรวน

  • เพื่อส่งต่ออาหารที่เรากินเข้าไปลงสู่กระเพาะและลำไส้เล็ก ร่างกายจะปรับตัวด้วยการเพิ่มการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเท­­ติก
  • ในขณะที่ลดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก การเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันนี้ ส่งผลให้ร่างกายปรับเข้าสู่โหม­­ดพักผ่อนโดยอัตโนมัติ
  • ดังนั้น หากเรากินอาหารเข้าไปมาก แน่นอนว่าคงหลงอยู่ในภวังค์ความง่วงงุนนานกว่าปกติ เผลอ ๆ อาจสัปหงกและหลับไปไม่รู้ตัวเลยก็ได้

2. ดัชนีน้ำตาลปั่นป่วน

  • เมื่อร่างกายรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลมาก น้ำตาลเหล่านี้จะแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือด เปลี่ยนน้ำตาลที่กินให้เป็นกลูโคส เพื่อสะสมเอาไว้เผื่อร่างกายจ­­ะเรียกใช้เป็นพลังงาน
  • ทว่าเมื่อระดับกลูโคสในเลือดมีอยู่สูงเกินไป ร่างกายจะส่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาเก็บกวาดส่วนเกินของกลูโคสทิ้­­งไปโดยอัตโนมัติ
  • เท่ากับว่าฮอร์โมนอินซูลิน ณ ขณะนั้นจะสูงเกินปกติ ส่งผลให้สมองหลั่งเซโรโทนินและเมลาโทนินออกมา
  • โดยทั้ง 2 ฮอร์โมนสื่อประสาทเหล่านี้ล้วนมีคุณสมบัติกล่อมให้ร่างกายรู้สึกง่วงงุน จนในที่สุดก็ผล็อยหลับไปได้ง่าย ๆ

อาการฟู้ดโคม่า, ง่วงหลังกินข้าว, กินข้าวเสร็จแล้วง่วงนอน, ง่วงนอนหลังกินข้าวเย็น, วิธีแก้ อาการง่วง นอน หลังกินข้าว, กินอิ่ม, ทริปโตเฟน, กลูโคส, กินอาหาร, ฮอร์โมนอินซูลิน, ง่วงหลังท้องอิ่ม, โคลีซิสโตไคนิน

3. ทริปโตเฟนออกอาละวาด

  • เมื่อร่างกายมีกลูโคสสูง แถมฮอร์โมนอินซูลินยังหลั่งออกมามากกว่าปกติ ร่างกายจะเพิ่มความเข้มข้นของกรดอะมิโนทริปโตเฟน เพื่อให้สามารถ­­ดูดซึมกรดอะมิโนชนิดอื่น ๆ ได้มากขึ้น
  • ซึ่งทริปโตเฟนตัวนี้ เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่สมองจะทำให้รู้สึกง่ว­­งงุนได้
  • อีกทั้งผลการวิจัยยังเสริมด้วยว่า หากรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง จะยิ่งกระตุ้นกลูโคสในร่างกายได้ง่ายและเยอะขึ้นอีกหลายเท่า
  • ดังนั้น หากไม่อยากรู้สึกง่วงหลังท้องอิ่ม แนะนำให้กินคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งและข้าวให้น้อย ๆ หน่อย

4. ฤทธิ์ของโคลีซิสโตไคนิน

  • ระหว่างที่กระบวนการย่อยอาหารเกิดขึ้น ร่างกายจำเป็นต้องหลั่งฮอร์โมนโคลีซิสโตไคนินออกมาด้วย เพราะ ฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้เราเข้าถึงความรู้สึกอิ่ม และยังมีส่วนกระตุ้นสมองให้รู้สึกง่วงได้อีกต่างหาก
  • ดังนั้น หลังจากที่กินอิ่มไปสักพักและอยู่ในช่วงย่อยอาหาร อาการง่วงซึมจึงเข้ามาเยือนคุณเป็นประจำนั่นเอง

อาการฟู้ดโคม่า, ง่วงหลังกินข้าว, กินข้าวเสร็จแล้วง่วงนอน, ง่วงนอนหลังกินข้าวเย็น, วิธีแก้ อาการง่วง นอน หลังกินข้าว, กินอิ่ม, ทริปโตเฟน, กลูโคส, กินอาหาร, ฮอร์โมนอินซูลิน, ง่วงหลังท้องอิ่ม, โคลีซิสโตไคนิน

วิธีป้องกันอาการฟู้ดโคม่า

  • กินอาหารแต่พอดี เพื่อระบบประสาทจะได้ทำงานเป็นปกติ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง เช่น ข้าวขัดสี ขนมปังขัดสี เป็นต้น
  • เคี้ยวช้า ๆ และพยายามลดสปีดการรับประทานอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับรู้รสอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น คราวนี้ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนโคลีซิสโตไคนินออกมาในระดับที่พ­­อดีกับความต้องการใช้งานในกระบวนการย่อย
  • ผลการวิจัยในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition เผยว่า ชินนาม่อนมีส่วนช่วยให้ร่างกายรู้สึกอิ่มนาน ซึ่งก็เท่ากับว่าเราจะไม่รู้สึกหิวบ่อย ๆ ระดับน้ำตาลในเลือดก็อยู่ในเกณฑ์ปกติสม่ำเสมอ แม้ในช่วงที่กินอาหารอิ่มแล้ว

ข้อมูล : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นายกฯ" สักการะพญาศรีสัตตนาคราช-จุดเรือไฟบก ดันประเพณีไหลเรือไฟโลก อัปเดตอาการป่วยบอกดีขึ้นแล้ว
กลิ่นเหม็นเน่า "จีนเทา" เช่าโกดังเก็บไส้หมูเถื่อน ส่งขายทั่วไทย จนท.ยึดของกลางมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท
รัสเซียประกาศหยุดยิง 3 วัน
"นิพนธ์" ชี้บทเรียนใหญ่ ปชป.พ่ายยับเลือกตั้งนครศรีฯ แนะกก.บห.ต้องเร่งทบทวนฟื้นพรรคเป็นที่พึ่งปชช.จริงๆ
"อดีตผกก.โคกเคียน" ร้องนายกฯ สั่งย้าย "ผบช.ภ.9-ผู้การนราธิวาส" เดือดปมบุกรุกพังประตูบ้าน
ชมสีสันงานแข่งวิ่งเทรลบน 'กำแพงเมืองจีน' ในเหอเป่ย
“ภูมิธรรม” ย้ำชัดไม่มีโพลเอาใจนาย ชี้นำกม.เอนเตอร์เทนเมนต์ฯ ลั่นทุกอย่างมีไทม์ไลน์ ทำอย่างรอบคอบ
เกาหลีใต้สั่งอพยพประชาชนหนีตายไฟป่า
สหรัฐถล่มศูนย์กักกันชาวแอฟริกาที่เยเมนดับเกือบ 70 ราย
สภาองค์กรของผู้บริโภค ร้อง "ผู้ว่าฯกทม." เร่งตรวจสอบความปลอดภัยอาคารสูง 50 เขต ภายใน 30 วัน หลัง 11 ชุมชน แจ้งเบาะแส พบบางแห่ง ทำผิดกม.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น