นิด้าโพลชี้ชัด ประชาชนเชื่อ “บิ๊กป้อม-บิ๊กตู่” ยังไม่แตกกัน แค่แข่งขันทางการเมือง มีโอกาสสูงจับมือตั้งรัฐบาล

นิด้าโพลชี้ชัด ประชาชนเชื่อ "บิ๊กป้อม-บิ๊กตู่" ยังไม่แตกกัน แค่แข่งขันทางการเมือง มีโอกาสสูงจับมือตั้งรัฐบาล

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ปะทะ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 23-25 มกราคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแข่งขันทางการเมืองระหว่าง รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กับ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

 


จากการสำรวจเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อการแข่งขันทางการเมืองระหว่าง รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จากพรรคพลังประชารัฐ กับนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรครวมไทยสร้างชาติ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.56 ระบุว่า พลเอกประวิตร กับ พลเอกประยุทธ์ ไม่ได้แตกกัน เป็นเพียงแค่การแข่งขันทางการเมือง รองลงมา ร้อยละ 28.93 ระบุว่า การเมืองไม่มีมิตรแท้และศรัตรูที่ถาวร ร้อยละ 20.53 ระบุว่า เป็นสีสันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ร้อยละ 12.52 ระบุว่า พลเอกประยุทธ์ เป็นอิสระมากขึ้นในการตัดสินใจทางการเมืองและการบริหารประเทศ ร้อยละ 10.76 ระบุว่า การแข่งขันกันจะทำให้ทั้งสองพรรคได้ ส.ส. รวมกันแล้วน้อยกว่าจำนวน ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้งปี 2562 ร้อยละ 9.01 ระบุว่า พลเอกประวิตร กับ พลเอกประยุทธ์แตกกันอย่างแน่นอน ร้อยละ 8.78 ระบุว่า พลเอกประวิตร และ พรรคพลังประชารัฐ เป็นอิสระมากขึ้น สามารถร่วมรัฐบาลกับฝั่งไหนก็ได้ หลังการเลือกตั้ง ร้อยละ 6.56 ระบุว่า การแข่งขันกันจะทำให้ทั้งสองพรรคได้ ส.ส. รวมกันแล้วมากกว่าจำนวน ส.ส. พรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งปี 2562 ร้อยละ 6.34 ระบุว่า ผู้ที่เคยสนับสนุน พลเอกประยุทธ์ แต่ไม่ชอบ พรรคพลังประชารัฐ จะกลับมาสนับสนุนพลเอกประยุทธ์มากขึ้น และร้อยละ 3.05 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อจำนวน ส.ส. ระหว่าง พรรคพลังประชารัฐ และ พรรครวมไทยสร้างชาติ ภายหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.75 ระบุว่า ทั้งสองพรรค จะได้จำนวน ส.ส. เท่า ๆ กัน รองลงมา ร้อยละ 25.73 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐของพลเอกประวิตร จะได้จำนวน ส.ส. มากกว่า ร้อยละ 24.73 ระบุว่า พรรครวมไทยสร้างชาติ ของพลเอกประยุทธ์ จะได้จำนวน ส.ส. มากกว่า และร้อยละ 6.79 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อความเป็นไปได้ที่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะจับมือกันในการจัดตั้งรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.40 ระบุว่า เป็นไปได้มาก รองลงมา ร้อยละ 30.07 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ ร้อยละ 18.32 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย ร้อยละ 11.76 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้ และร้อยละ 1.45 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

 

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.34 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.43 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.23 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ

 

ตัวอย่าง ร้อยละ 33.13 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.98 สมรส และร้อยละ 3.89 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 28.70 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.37 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.17 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.02 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.74 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.24 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.12 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.30 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.58 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.50 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.15 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.11 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

 

ตัวอย่าง ร้อยละ 23.59 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.14 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.54 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.81 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.35 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.01 ไม่ระบุรายได้

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคน กระกระกรวงแรงงาน "มารศรี" เลขาธิการ สปส. ลงพื้นที่ศูนย์ช่วยเหลือกระทรวงแรงงาน จตุจักร กำชับเจ้าหน้าที่ สปส. ชี้แจงสิทธิประโยชน์ พร้อมเยียวยาลูกจ้างเต็มที่
จนท.กู้ภัย นำกระดูก-เส้นผม จากซาก "ตึกสตง." ถล่ม ส่งนิติเวชตรวจสอบ เทียบดีเอ็นเอครอบครัว รอยืนยันตัวตน
ผู้ว่าการ MEA ย้ำความพร้อมระบบไฟฟ้า รับมือแผ่นดินไหว – สนับสนุนภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยเต็มกำลัง
โลกระส่ำ "แผ่นดินไหว" เขย่าหลายชาติ "ไทย" ผวาทั้ง "เหนือ-ใต้"
สหรัฐฯส่งผู้บริสุทธิไปเข้าคุกเอลซัลวาดอร์
สหรัฐฯเสริมฝูงบิน-เรือบรรทุกเครื่องบินในตอ.กลาง
เปิดหมดความจริง ลูกชาย "อ.รังสรรค์" สยบลือ ขาย "ตึกสาทร ยูนีค" 4,000 ล้าน
สื่อนอกตีข่าว สุนัขกู้ภัยไทย ที่พึ่งทางใจญาติผู้ประสบภัย
ก.อุตฯ ลุยตรวจโรงงานผลิตเหล็กไม่ได้มาตรฐาน ใช้ก่อสร้างอาคาร สตง.ถล่ม ด้านตัวแทนบริษัท ยันความบริสุทธิ์ไม่ได้ผลิตเหล็กไร้คุณภาพ
สหรัฐฯเล็งร่างแผนใหม่กดดันรัสเซีย-ยูเครน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น