“มัลลิกา” จี้กสทช.-ดีอีเอส-ค่ายมือถือ รับผิดชอบ “จ่ายชดใช้ให้ปชช.” หากปล่อย SMS ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์

"มัลลิกา" จี้ กสทช.-ดีอีเอส-ค่ายมือถือ รับผิดชอบ "จ่ายชดใช้ให้ปชช." หากปล่อย SMS ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์

 

มัลลิกา จี้กสทช.-ดีอีเอส-ค่ายมือถือ รับผิดชอบ “จ่ายชดใช้ให้ประชาชน” หากปล่อยข้อความ sms แบบกดลิ้งค์ของแกงค์คอลเซ็นเตอร์เข้าถึงประชาชน หลอกดูดข้อมูล-เงินในบัญชี “เตือนหาวิธีแก้ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี-ทำงานให้ทันโจร”

 

29 มกราคม 2566 เมื่อเวลา 8.30 น.ดร.มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่าจากข้อมูลรับเรื่องร้องเรียนของมูลนิธิมัลลิกาเพื่อประชาชน( Mallika Foundation )ขณะนี้มีสถิติถี่ขึ้นมากกว่าเดิมสำหรับประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประเภทกดลิ้งอ้างแจกเงิน แจกตั๋วเครื่องบิน แจกโปรโมชั่นต่างๆมีแม้แต่เหยื่อที่เป็นข้าราชการเกษียณและผู้สูงอายุอื่นๆที่มีเงินเก็บในบัญชีแต่อาจจะไม่รู้เท่าทันเหลี่ยมของโจรทางระบบคอมพิวเตอร์

ข่าวที่น่าสนใจ

“ขณะเดียวกันเมื่อให้ไปแจ้งความดำเนินคดีทางเจ้าหน้าที่ก็มีประสบการณ์และทักษะน้อยมากรวมทั้งจำนวนเจ้าหน้าที่ซึ่งควรจะมีทักษะก็ไม่มีเป็นต้น เรื่องนี้ตำรวจและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือดีอีเอส ควรต้องตระหนักกับยุทธศาสตร์เชิงรุกและควรยกเครื่องอย่างมากนะคะ ทีนี้เคสที่เจอเหยื่อส่วนใหญ่สูญเงินโดยที่ไม่ได้คืนเพราะเบอร์โทรศัพท์ของแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์เหล่านี้ที่ส่งเป็นข้อความมาทาง sms หลอกให้กดลิงค์แล้วกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อแลกกับสิ่งจูงใจต่างๆมีมากขึ้นและพัฒนาไปจากพวกแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ที่เป็นบุคคลโทรศัพท์พูดคุย เจ้าหน้าที่เราจะนั่งทำคดีไปวันๆโดยที่ไม่หาทางรับมือหาทางแก้หาวิธีเชิงรุกไม่ได้แล้วค่ะ เรื่องนี้ต้องถึงนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงต้องขยับยุทธศาสตร์นโยบาย ” ส.ส. ดร.มัลลิกา กล่าว

 

ส.ส. ดร.มัลลิกา กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ประเทศเราปล่อยให้ตำรวจซึ่งก็มีความรู้ความเชี่ยวชาญไม่ได้มากไปกว่าประชาชนรับมืออยู่ฝ่ายเดียวแล้วปล่อยประชาชนเผชิญชะตากรรมบนโลกออนไลน์ด้วยตนเองแต่ไม่มีผู้รับผิดชอบและโจรขบวนการแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ก็ย่ามใจพัฒนาฝีมือเข้าไปอีก ขอเรียนว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลต้องไม่ลืมว่าผู้รับผิดชอบที่ปล่อยถนนบรอดแบนด์หรือถนนของเทคโนโลยีการส่งข้อมูลด้วยความเร็วผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น คือ 1.กสทช. หรือสำนักงานงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่วิทยุและกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 3.ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยทุกค่าย

” ซึ่งถ้าหากประชาชนจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายก็เรียงลำดับจำเลยตามนี้ได้เลยผ่านมือถือค่ายใดก็ค่ายนั้นเพราะทั้ง 3 ฝ่ายที่กล่าวคือผู้ให้บริการโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตปล่อยสัญญาณ ควบคุมกำกับ บริหารจัดการใช่หรือไม่ ทั้งนี้ถ้าหากช่องทางที่ให้บริการเหล่านั้นเป็นช่องทางที่โจรทางอินเตอร์เน็ตเข้าถึงตัวของผู้รับบริการโดยไม่ผ่านกระบวนการหรือกรรมวิธีทางเทคโนโลยีสกัดกั้นคัดกรองให้ผู้บริโภค พวกเขา 3 ฝ่ายนี้ควรรับผิดชอบ และเขาต้องลงทุนหากรรมวิธีต้องเป็นฝ่ายลงทุนในการคิดหานวัตกรรมทางเทคโนโลยีในการที่จะคัดกรองข้อมูล การสกัดกั้น การใช้AI ช่วยประชาชนรอดพ้นจากภัยทางอินเตอร์เน็ตได้ไม่ใช่ปล่อยประชาชนผู้บริโภคเผชิญชะตากรรมเช่นนี้เพียงลำพัง ถ้าไม่เริ่มก็เริ่มเสียถ้าไม่คิดก็คิดเสียเลย ” ส.ส.ดร.มัลลิกา กล่าว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น