ส่อง 5 กฎหมายผลงานโบว์แดงของ ครม. ผ่านฝ่ายกฎหมายของรัฐบาล

ส่อง 5 กฎหมายผลงานโบว์แดงของ ครม. ผ่านฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ "ปกรณ์ นิลประพันธ์" เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมทำคลอดเองกับมือ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายอำนวยความสะดวกในการอนุญาตของทางราชการที่เปิดเผยขั้นตอนและระยะเวลาการทำงานทุกกระบวนงานของหน่วยงานของรัฐ ลดภาระประชาชน และสกัดทุจริตในระบบราชการ กฎหมายการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่อัพเกรดระบบทำงานทันโลกยุคใหม่ กฎหมายแก้ไขดอกเบี้ยผิดนัดมหาโหดและวิธีคิดดอกเบี้ยไม่เป็นธรรมที่ใช้มาเกือบร้อยปี เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม การคลอดกฎหมายปรับเป็นพินัยเพื่อสางปัญหาการเอาโทษอาญาไปข่มขู่ประชาชน และทำให้คดีรกศาล นักโทษล้นคุก รวมทั้งยกเครื่องกฎหมาย "กยศ." ช่วยเด็กไทยอีกกว่า 6 ล้านคน

3 ปีของการดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมกฤษฎีกา “ปกรณ์ นิลประพันธ์” ออกจะไม่เหมือนคนอื่นที่รอให้หน่วยงานรัฐส่งปัญหาทางกฎหมายเข้ามาให้ช่วยปรับปรุงแก้ไข แต่ “ปกรณ์” คิดว่าเมื่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นหน่วยงานกลางทางกฎหมายของรัฐบาลที่มองเห็นปัญหาและช่องโหว่ของกฎหมาย ถ้าทำงานเชิงรุก น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า การชิงลงมือเสนอแก้ไขกฎหมายที่เป็นปัญหาโครงสร้างมายาวนานเสียเอง ไม่ต้องรอให้เจ้าของกฎหมายตั้งแท่นขึ้นมา ซึ่งไม่รู้จะอีกนานเท่าไร น่าจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนมากกว่า เขาเล่าว่ามีกฎหมาย 5 ฉบับที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา ตัวเขาเอง และน้องๆ ชาวกฤษฎีกาทุกคนภูมิใจมากที่ผลักดันสำเร็จขึ้นมาได้ตามแนวทางนี้

1. พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสะดวก ประหยัด และ ลดขั้นตอนวุ่นวายโดยไม่จำเป็น พร้อมปิดช่องทางทุจริตรับสินบนใต้โต๊ะ การที่ทุกหน่วยงานนำกระบวนการขั้นตอนการอนุมัติอนุญาตตามกฎหมายของตนขึ้นมาเปิดเผย และกำหนดระยะเวลาการทำงานแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจนนั้น เป็นพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลให้อันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศไทยถีบตัวเพิ่มขึ้น 7 อันดับ

 

“กฎหมายการอำนวยความสะดวก คือ การเอาของที่อยู่ใต้โต๊ะขึ้นมาบนโต๊ะ ลดทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อความโปร่งใสในการบริการพี่น้องประชาชนและเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของระบบราชการ” ปกรณ์ กล่าว

2. พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มีเป้าหมายเพื่อการปรับโครงสร้างปรุงวิธีการทำงานของภาครัฐ ด้วยตรากฎหมายกลางเพียงฉบับเดียวเพื่อรับรองความชอบด้วยกฎหมายของการปฏิบัติราชการและการอนุมัติอนุญาตของภาครัฐตามกฎหมายทุกฉบับ หากได้กระทำลงโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เขาบอกว่าการระบาดของโควิด 19 ที่ทำให้ทุกหน่วยงานต้อง work from home เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การผลักดันการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ประสบความสำเร็จเร็วขึ้นด้วย แต่มีข้อควรระมัดระวัง คือ การรักษาความลับทางราชการไม่ให้รั่วไหล

3. พรก แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ จากเดิมที่คิดในอัตรา 7.5% มาเกือบร้อยปี ไม่มีใครคิดจะแก้ไข ซึ่งอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนั้นสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมาก (ปัจจุบันอยู่ในราว 1.25% เท่านั้น) ซึ่งการเรียกดอกผิดนัดสูงมากเช่นนี้เป็นการซ้ำเติมลูกหนี้และทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากความเป็นหนี้ได้ยาก แถมยังทำให้เจ้าหนี้ยื้อคดีความเพื่อหวังส่วนต่างดอกเบี้ยด้วย คดีรกโรงรกศาลเป็นอันมาก นอกจากนี้วิธีหักเงินเพื่อชำระหนี้ก็ไม่เป็นธรรม คือให้นำไปหักดอกเบี้ยก่อนหักต้นเงิน ทั้งที่ควรหักเงินต้นก่อน จึงไม่มีทางที่หนี้ของลูกหนี้จะลดลงเลยซึ่งไม่เป็นธรรมแก่ลูกหนี้อย่างมาก เราจึงเสนอให้แก้ไขเป็นว่าให้นำเงินที่ลูกหนี้ชะระหนี้นั้นไปหักต้นก่อน ต้นลด ดอกจะลด และแก้อัตราดอกเบี้ยผิดนัดให้เป็น managed rated โดยลดจาก 7.5% เป็น 3% ในเบื้องต้น ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและคดีรกโรงรกศาล

“ในสถานการณ์ปกติคงทำได้ยาก แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด -19 ที่ทำให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อนมาก จากเดิมเราเสนอให้ออกเป็น พรบ. แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่พี่น้องประชาชน ไม่ควรรอช้า จึงสั่งการให้ออกเป็น พรก. ซึ่งต่อมาสภาก็เห็นชอบด้วยโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน ความชอบในเรื่องนี้จึงต้องให้เครดิตท่านนายกฯ ที่กล้าตัดสินใจออกพระราชกำหนด” ปกรณ์ กล่าว

4. พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย กฎหมายนี้สอดคล้องกับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ใช้โทษอาญาเพียงเท่าที่จำเป็น ซึ่งโทษปรับนั้นถือเป็นโทษอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา และระบบกฎหมายไทยแต่เดิมมาก็ใช้แต่โทษอาญาตะพึดไปทั้งเรื่องใหญ่ร้ายแรงและเรื่องเล็กเรื่องน้อย เช่น สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ปรับ 2 พันบาท เป็นต้น และมื่อเป็นคดีอาญา กว่าจะปรับได้ก็ต้องไปแจ้งความดำเนินคดี พนักงานสอบสวนทำสำนวนส่งอัยการฟ้องศาล กว่าศาลจะพิพากษา ยืดยาวมาก ต้นทุนของรัฐในการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายสูงมาก การใช้มาตรการทางอาญาเพรื่อไปเช่นนี้จึงไม่ได้ผล ตรงข้าม กลับมีการนำโทษอาญาไปข่มชู่รีดไถผู้กระทำความผิดเสียอีก จึงกลายเป็นวลีเสียดสีสังคมว่า “คุกมีไว้ขังคนจน” ทั้ง ๆ ที่ “คุกมีไว้ขังคนกระทำความผิด” นอกจากนี้ ประชาชนทั่วไปที่ทำผิดเล็กน้อยก็อาจถูกบันทึกทะเบียนประวัติอาชญากรรมด้วยเพราะเป็นความผิดอาญา เราจึงเสนอให้กำหนดโทษปรับเป็นพินัยขึ้น โทษปรับอาญาสำหรับความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ร้ายแรงตามกฎหมายกว่าร้อยฉบับจะถูกแปลงเป็นโทษปรับเป็นพินัยแทน และจะไม่มีการบันทึกประวัติอาชญากรรมสำหรับผู้กระทำความผิดเล็กน้อยเหล่านี้อีกต่อไปเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว เป็นการสร้างความเป็นธรรมในสังคม กฎหมายนี้จะเริ่มบังคับใช้ภายในเดือน ก.พ.2566 นี้

5. พรบ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)เรื่องนี้ต้องขอบคุณ ดร. ขจร ธนะแพสย์” ปกรณ์เล่าให้ฟังว่าอยู่ ๆ ท่านก็มาขอพบผมที่ทำงานทั้งที่ไม่ได้รู้จักกันมาก่อน ท่านเล่าปัญหาของลูกหนี้กองทุน กยศ. 6 ล้านคน ให้ฟัง ผมฟังแล้วก็ตกใจจึงกราบเรียนนายกรัฐมนตรีว่าคงต้องยกเครื่องโครงสร้างสินเชื่อ กยศ.ใหม่ ท่านนายกรัฐมนตรีเห็นข้อมูลแล้วก็ร้อนใจ นำเข้าไปสั่งการในคณะรัฐมนตรีให้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายของกฤษฎีกาเสนอแก้ไขกฎหมายเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน เราก็รับฟังความเห็นของภาคส่วนต่าง ๆ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กยศ. ซึ่งทางท่านผู้จัดการกองทุน กยศ. ก็ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง โดยการปรับลดเพดานทั้งอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาและอัตราดอกเบี้ยผิดนัดให้มีความเหมาะสม ปรับปรุงงวดการจ่ายชำระหนี้ให้ถี่ขึ้นจาก งวดปี เป็น งวดเดือน และขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ให้ยาวขึ้นจาก 15 ปี เป็น 30 ปี พร้อมกำหนดให้เมื่อผู้กู้จ่ายชำระหนี้เข้ามาให้นำไปตัด “เงินต้น” ก่อน เพื่อช่วยให้ปลดหนี้ของผู้กู้หมดเร็วขึ้น ทั้งยังยกเลิกให้ไม่ต้องมี “ผู้ค้ำประกัน” รวมถึงการปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่จะเอื้อให้ กยศ. สามารถดำเนินภารกิจได้คล่องตัวในการปล่อยกู้ได้หลากหลายเช่น กู้ยืมไป Reskill หรือ Upskill เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและความต้องการแรงงานยุคใหม่

“ผมคิดว่าเราแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างไปหลายเรื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ปัญหาต่าง ๆ นับวันยิ่งสลับซับซ้อนขึ้นมาก ปัจจัยรุมเร้าด้าน Geopolitics และ climate change ก็ทำให้เราต้องปรับระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว การพัฒนาประเทศและการพัฒนากฎหมายในระยะต่อไปต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG (Environmental, Social, and Governance) อย่างมากเหมือนเป็นยอดของปิระมิด การปรับโครงสร้างขนานใหญ่คงจะตามมาในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ทั้งในภาคธุรกิจและภาครัฐ อยู่อย่างเดิมคงไม่ได้ ไม่งั้นเราคงเหมือนกบในหม้อต้ม (frog in the broiler) และอาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ถ้ายังคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นคราว ๆ ไป”

/-/-/

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ระทึกกลางดึก ไฟไหม้ "ร้านกาแฟ" เผาวอดทั้งหลัง เสียหายกว่า 7 แสนบาท
"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น