ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เผยแพร่คำชี้แจงกรณี “ตะวัน” ทานตะวันและ “แบม” อรวรรณ ประจำวันที่ 31 มกราคม ที่ผ่านมา ระบุว่า ในวันนี้ทนายความได้เข้าเยี่ยมตะวันและแบมที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อเวลาประมาณบ่ายสี่โมงเย็นเศษ เนื่องจากในวันนี้มีคณะบุคคลเข้าเยี่ยมน้องทั้งสองหลายคณะ โดยเริ่มตั้งแต่เช้า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมคณะได้เข้าเยี่ยม ต่อมามีพ่อแม่และญาติของตะวันและแบมเข้าเยี่ยมต่อ หลังจากนั้นยังมีคณะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้เข้าเยี่ยมน้องทั้งสองด้วย จึงทำให้ทนายความต้องเข้าเยี่ยมเป็นชุดสุดท้ายในเวลาประมาณบ่ายสี่โมงเย็น ทั้งนี้ตะวันและแบมบอกว่า ขออย่าห่วง พวกตนจะยังไม่ตายแน่นอน
ล่าสุดนายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ ได้โพสต์ข้อความผ่าน แฟนเพจเฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค โดยมีเนื้อหา ถึงเรื่องตะวัน-แบมดังนี้ ยกเลิก 112 จะทำให้ไทยเป็นประชาธิปไตย จริงหรือ?
ตอนที่ 4 แค่….ใช้สิทธิ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อประโยชน์สาธารณะ กลับถูกความดำเนินคดี ม.112 !
ตะวันกับแบม
ไลฟ์สดเฟซบุ๊กวิจารณ์การจัดขบวนเสด็จ ซึ่งเป็นการทำกิจกรรมของกลุ่มทะลุวังที่มีการชูป้ายกระดาษ เพื่อทำโพลสำรวจความคิดเห็น ว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จหรือไม่ ที่บริเวณลานสยามพารากอน
สน.ปทุมวัน เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง (สน.นางเลิ้ง) แจ้งข้อหากับตะวัน คือ
•1 ต่อสู้ขัดขืนเจ้าพนักงาน (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138)
•2 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368) มีโทษปรับ 20,000 บาท จำคุก 1 ปี
•3 แจ้งข้อกล่าวหา 112
•4 ข้อหายุยงปลุกปั่นฯ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116)
•5 ข้อหาขัดขวางเจ้าพนักงาน และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา
โดยตำรวจได้ขออำนาจศาลเพื่อฝากขัง ก่อนที่จะได้รับการประกันตัวในเวลาต่อมา ด้วยหลักทรัพย์ 200,000 บาท พร้อมเงื่อนไข 4 ข้อ ได้แก่
1.ห้ามทำกิจกรรม หรือการกระทำใดที่อาจเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
2.ห้ามโพสต์เชิญชวน ปลุกปั่น ยั่วยุ ชักจูงประชาชนให้เข้าร่วมชุมนุมในสื่อโซเชียลมีเดีย หรือร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
3.ห้ามเดินทางออกจากราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
4.ให้ติดอุปกรณ์กำไลอิเล็กทรอนิกส์ (EM)
นายพิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกล ออกมารับลูกเรียกร้อง”สิทธิประกันตัว” และมีพรรคพวกคนกลุ่มนี้ เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัย นักสิทธิฯ อ้างว่า ผู้ต้องหาไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจาก ไม่ได้รับการประกันตัว เช่น เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน อ้างว่า ตัวบทกฎหมายไปอยู่ในหมวดความมั่นคง พอถูกจัดให้เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคงส่งผลให้ไม่มีการประกันตัว
อย่าทำเป็นแกล้งลืม ย้อนกลับไปดูสำนวนของตำรวจที่เข้าจับกุมตะวันและแบม “ตำรวจได้ขออำนาจศาลเพื่อฝากขัง ก่อนที่จะได้รับการประกันตัวในเวลาต่อมา” ด้วยหลักทรัพย์ 200,000 บาท พร้อมเงื่อนไข 4 ข้อ”
ตะวันและแบม รวมถึงผู้ต้องหาคนอื่น ในคดีเดียวกัน ล้วนได้รับการประกันตัว พร้อมเงื่อนไข แต่ผู้ต้องหาเหล่านั้นเมื่อได้รับการประกันตัวออกมาแล้ว ก็ไม่ทำตามเงื่อนการประกันตัว จึงถูกศาลสั่งห้ามประกันตัวในที่สุด
ผู้หลักผู้ใหญ่ของเด็กกลุ่มนี้แกล้งทำหน้ามึน ออกมาบิดเบือนข้อเท็จจริงและยุงยงสังคมว่า เด็กๆ เหล่านั้นไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะไม่ได้รับการประกันตัว
เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน อ้างว่า
เมื่อถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับความมั่นคงส่งผลให้ไม่มีการประกันตัว และไม่มีเหตุที่จะพิสูจน์หรือมีข้อยกเว้นในการที่จะต่อสู้คดีได้ ฉะนั้นเมื่อไม่มีเหตุยกเว้น ใครที่วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ แม้จะพูดถึงเรื่องที่เป็นประโยชน์สาธารณะ ก็ไม่สามารถพูดได้ และกลับกลายเป็นว่าถูกแจ้งความดำเนินคดี ม.112
แต่…รัฐธรรมนูญ หมวด ๒ พระมหากษัตริย์
มาตรา ๖ บัญญัติว่า
องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า “ห้ามหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย สถาบันพระมหากษัตริย์”
ดังนั้น อะไรคือคำว่า “ก็แค่วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ทำไมถึงโดนคดี 112”
“ไม่เข้าใจกฏหมาย หรือพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อยุยง ปลุกปั่น สร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง”
นายพิธา ออกมารับลูกเรียกร้อง การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ให้กับ “ผู้ต้องหาคดีการเมือง”
ผู้ต้องหาคดีการเมืองหรือนักโทษทางการเมืองคือ อะไร
ผู้ต้องหาคดีการเมืองหรือนักโทษทางการเมืองคือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง
A political prisoner is someone imprisoned for their political activity.
There is no internationally recognized legal definition of the concept.
The concept of a political prisoner, like many concepts in social sciences, sports numerous definitions, and is undefined in international law and human right treaties.
แม้แต่ฝรั่งก็หาคำนิยามของผู้ต้องหาคดีการเมืองหรือนักโทษทางการเมืองไม่ได้ มีเพียงการอนุมานว่า ผู้ต้องหาคดีการเมืองหรือนักโทษทางการเมืองคือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง
คดีของตะวันและแบม รวมทั้งผู้ต้องหาคนอื่น ๆ ในคดีเดียวกันนั้น ไม่ใช่ผู้ต้องหาในคดีการเมือง หรือกระทำความผิดเพราะเรื่องการเมือง
แต่เป็นคดีหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย สถาบันพระมหากษัตริย์
ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์มีรัฐธรรมนูญคุ้มครองเอาไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดหรือกล่าวหา พระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้” แต่คนกลุ่มนี้จงใจ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น ละเมิด กล่าวหาพระมหากษัตริย์ แล้วเมื่อถูกดำเนินคดี ตำรวจก็ให้ประกันตัว โดยมีเงื่อนไข ว่าห้ามกระทำความผิดแบบนั้นอีก แต่ผู้ต้องหาก็จงใจทำผิดซ้ำอีก ศาลจึงต้องถอนประกัน