ข่าวดี พบซาก "ฟอสซิล" ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อายุกว่า 250-290 ล้านปี ในวนอุทยานเขานางพันธุรัต จ.เพชรบุรี
ข่าวที่น่าสนใจ
นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี เปิดเผยว่า กรมทรัพยากรธรณีได้เข้ามาสำรวจซากดึกดำบรรพ์ ( “ฟอส ซิล” ) ภายในวนอุทยานเขานางพันธุรัต จ.เพชรบุรี พบ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (invertebrate fossils) อายุ 250-290 ล้านปี
สำหรับซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (invertebrate fossils) ที่สำรวจพบในเบื้องต้นพบ มีดังนี้
1. ปะการังกลุ่ม (Coronial corals)
- เป็นปะการังที่อยู่เป็นกลุ่ม colony
- มีหลายลักษณะเกาะรวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่หรือเชื่อมต่อคล้ายกับกิ่งไม้
2. ปะการังเขาสัตว์ (Rogose corals)
- เป็นปะการังที่อยู่ตัวเดียวลักษณะคล้ายเขาสัตว์
- ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปเเล้ว
3. พลับพลึงทะเล (Crinoid)
- ซึ่งเป็นสัตว์ในกลุ่ม เอไคโนเดริม (Echinoderm)
- มีก้านลักษณะเป็นวงเเหวนยอดเป็นช่อคล้ายดอกไม้
4. ฟิวซูลินิด (Fusulinid) หรือคตข้าวสาร
- สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในทะเลและสูญพันธุ์ไปแล้ว
- สามารถมองเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าและอาจยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร
โดยพื้นที่วนอุทยานเขานางพันธุรัต เป็นภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ซึ่งกําเนิดขึ้นจากตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่สะสมตัวในทะเลโบราณเมื่อประมาณ 270-250 ล้านปีก่อน ตรงกับช่วงเวลาทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า ยุคเพอร์เมียน (Permian) พบหลักฐานซากดึกดําบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ทะเลเป็นจํานวนมาก กระจายตัวอยู่ตามก้อนหินปูนที่หลุดและร่วงลงมาตามเชิงเขา ได้แก่
- ปะการัง
- ไครนอยด์หรือพลับพลึงทะเล
- เปลือกหอยต่าง ๆ
- ฟิวซูลินิดหรือคตข้าวสาร
ทั้งนี้ กรมทรัพยากรธรณี จะดำเนินการสำรวจซากดึกดำบรรพ์ (“ฟอสซิล”) ภายในวนอุทยานเขานางพันธุรัตอย่างละเอียด และจัดการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาต่อไป
ข้อมูล : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ข่าวที่เกี่ยวข้อง