รู้เท่าทัน "มะเร็งหัวใจ" พบได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ทราบสาเหตุของโรค เช็ค 10 สัญญาณเตือนอันตรายก่อนสาย
ข่าวที่น่าสนใจ
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า “มะเร็งหัวใจ” (Cardiac cancer หรือ Heart cancer) เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยส่วนใหญ่เป็นมะเร็งของอวัยวะอื่น ๆ แล้วกระจายมาที่หัวใจ เช่น
- มะเร็งปอด
- มะเร็งลำไส้
- มะเร็งเต้านม
ซึ่งสามารถแพร่กระจายมาที่หัวใจได้
มะเร็ง หัวใจเกิด จากอะไร
- เกิดจากเซลล์ผนังหลอดเลือดที่เรียกว่า Angiosarcoma
- ส่วนที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจเรียกว่า Rhabdomyosarcoma
- ซึ่งมะเร็ง หัวใจของทั้ง 2 กลุ่มนี้ไม่ค่อยตอบสนองต่อการฉายแสงและยาเคมีบำบัด จึงต้องใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อเอามะเร็งออกให้หมด โดยมะเร็งหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
(1) มะเร็ง หัวใจปฐมภูมิ ได้แก่
- มะเร็ง Angiosarcoma
- Rhabdomyosarcoma
- Fibrosarcoma
- Malignant schwannoma
- Mesothelioma
(2) มะเร็ง หัวใจทุติยภูมิ (Secondary cardiac cancer หรือ Metastatic cardiac cancer) ได้แก่
- มะเร็งปอด
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
- มะเร็งหลอดอาหาร เป็นต้น
นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค รวมถึงยังไม่ทราบว่าอะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่แน่ชัด
10 สัญญาณเตือน มะเร็ง กล้าม เนื้อ หัวใจ อาการ
- เหนื่อยง่าย
- หอบ
- ไอเรื้อรัง
- มีไข้ต่ำ ๆ
- หน้าบวม
- คอบวม
- หลอดเลือดดำที่คอโป่ง
- ตับโต
- ท้องมาน เพราะ มีน้ำในช่องท้อง
- หรือขาบวมกดบุ๋มทั้งสองข้าง
การตรวจวินิจฉัยมะเร็ง หัวใจ
การตรวจประวัติทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ ประวัติอาการของผู้ป่วย
- การตรวจสัญญาณชีพ
- การตรวจฟังเสียงเต้นของหัวใจด้วยหูฟัง
- การตรวจร่างกาย
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- การตรวจเอคโคหัวใจ
- การตรวจสืบค้นอื่น ๆ เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์
ซึ่งเป็นการตรวจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น
- การตรวจภาพหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) และหรือเอ็มอาร์ไอ (MRI)
- การตรวจภาพและหลอดเลือดหัวใจด้วยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดแดง (Cardiac angiography)
- การตรวจก้อนเนื้อหรือรอยโรคด้วยการดูดเซลล์มาตรวจที่เรียกว่า การตรวจทางเซลล์วิทยา และ/หรือ การตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
ทั้งนี้ การรักษาจะเป็นการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกให้หมดด้วยการผ่าตัดเปิดหัวใจโดยตรง (Open heart surgery) และรักษาต่อเนื่องด้วยการให้ยาเคมีบำบัดตามชนิดของแต่ละเซลล์มะเร็ง ซึ่งการรักษาร่วม ทั้งผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง จะขึ้นกับระยะของโรค ขนาดและชนิดของมะเร็ง อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างกายเกิดความผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
ข้อมูล : กรมการแพทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง