เตรียมชม “ดวงจันทร์เต็มดวง” ไกลโลกที่สุดในรอบปี 5-6 ก.พ. นี้

ดวงจันทร์เต็มดวง

"ดวงจันทร์เต็มดวง" ไกลโลกที่สุดในรอบปี ไมโครฟูลมูน (Micro Full Moon) NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เชิญชมปรากฏการณ์ธรรมชาติ 5-6 ก.พ. นี้

“ดวงจันทร์เต็มดวง” ดวงจันทร์ เต็มดวง ไกลโลกที่สุดในรอบปี ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด 2566 เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางด้านธรรมชาติที่ควรติดตามชมมากอีก 1 เหตุการณ์ เมื่อทางด้าน NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้เปิดเผยว่า คืนวันที่ 5 ถึง รุ่งเช้าวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 จะเกิดเหตุการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี นั่นเอง ติดตามเรื่องราวทั้งหมดนี้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้านเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ระบุข้อความว่า วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 01:30 น. จะเกิดปรากฏการณ์ ‘ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี’ หรือ ‘ไมโครฟูลมูน (Micro Full Moon)’ มีระยะห่างจากโลก 405,818 กิโลเมตร เวลาที่เหมาะสมในการสังเกตการณ์ คือช่วงเย็นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:02 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ดวงจันทร์ เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย

ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน ในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ใกล้โลกและไกลโลก ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด เรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 357,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร

ดวงจันทร์เต็มดวง ดวงจันทร์ เต็มดวง ไกลโลกที่สุดในรอบปี ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด 2566

การที่ผู้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์ เต็มดวงในคืนที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้หรือไกลโลกมีขนาดที่แตกต่างกัน นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

ทั้งนี้ ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งไกลโลกที่สุด หรือใกล้โลกที่สุด อาจไม่ใช่วันที่ดวงจันทร์ เต็มดวงก็ได้ แต่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นวันที่ดวงจันทร์อยู่ในระยะทางที่ไกลโลกมากที่สุดและเป็นดวงจันทร์ เต็มดวงพอดีนั่นเอง

ดวงจันทร์เต็มดวง ดวงจันทร์ เต็มดวง ไกลโลกที่สุดในรอบปี ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด 2566

สำหรับปรากฏการณ์ ‘ดวงจันทร์ เต็มดวง ใกล้โลกที่สุดในรอบปี’ หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) จะเกิดขึ้นในคืนวันที่ 30 ถึง เช้าวันที่ 31 สิงหาคม 2566 นอกจากนี้ยังเป็นดวงจันทร์ เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน หรือ บลูมูน (Blue Moon) จึงเรียกว่า ซูเปอร์บลูมูน (Super Blue Moon) มีระยะห่างจากโลก 357,334 กิโลเมตร ช่วงเวลาดังกล่าวดวงจันทร์ เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย

ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เพิ่มเติมได้ทางเฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ที่ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ดวงจันทร์เต็มดวง ดวงจันทร์ เต็มดวง ไกลโลกที่สุดในรอบปี ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด 2566

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิชัย" หารือ "รมต.พาณิชย์-อุตสาหกรรม" บาห์เรน ยกระดับสัมพันธ์การค้า จัดทำ FTA เชื่อม 2 ปท.
‘ซัวเถา’ จัดมหกรรมดอกไม้ไฟสุดยิ่งใหญ่รับตรุษจีน
เม็กซิโก-แคนาดา-จีนประกาศสงครามการค้ากับสหรัฐ
ทรัมป์ไฟเขียวกำแพงภาษีแคนาดา เม็กซิโกและจีนแล้ว
สรุปผล 47 นายกอบจ. "เพื่อไทย" คว้าชัย 10 ที่นั่ง "ภูมิใจไทย" 9 สู้สูสี "ปชน." ได้แค่ 1 ที่
ผู้โดยสารดับยกลำจากเหตุเครื่องบินกู้ชีพตกที่สหรัฐ
ทบ.ร่วม สตช. ประสานเมียนมา ช่วยเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวฮ่องกง 1 ราย
พรรคปชน.ช้ำ! ส่งเลือกตั้งนายกอบจ.17 จังหวัด คว้าชัยแค่ลำพูน
รวมไทยสร้างชาติ คว้าชัยนายกอบจ. 5 จังหวัด
"นิด้าโพล" เผยคนกรุงฯส่วนใหญ่ ชี้ขึ้นฟรีรถไฟฟ้า-เมล์ขสมก.ลดฝุ่นไม่ได้ผล มาตรการรัฐขาดประสิทธิภาพ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น